Chonburi Sponsored

ชาวบ้านพนัสนิคม กว่า 100 คนรวมตัวขับไล่เจ้าอาวาสวัดกลางคลองหลวง

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

เผยแพร่:   ปรับปรุง: โดย: ผู้จัดการออนไลน์


ศูนย์ข่าวศรีราชา ชาวบ้านไร่หลักทอง อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรีกว่า 100 คนรวมตัวตะโกนขับไล่เจ้าอาวาสวัดกลางคลองหลวง เหตุไม่พอใจคำสั่งรื้อศาลาเก่าอายุกว่า 100 ปี ด้านเจ้าอาวาสเผยเป็นเพียงการบูรณะเพื่อให้กลับมาใช้ประโยชน์ได้อีกครั้ง เชื่อมีขบวนการบิดเบือนข่าวสารยันไม่เคยใช้เณรสำเร็จความใคร่

วันนี้ ( 31 ต.ค.) ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งว่าชาวบ้านใน อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี กว่า 100 คน ได้รวมตัวกันถือป้ายร้องตะโกนขับไล่เจ้าอาวาสวัดกลางคลองหลวง ม. 9 ต.ไร่หลักทอง อ.พนัสนิคม หลังไม่พอใจคำสั่งรื้อศาลาเก่าโบราณที่มีอายุกว่า 100 ปี ซ้ำในอดีตยังมีกระแสข่าวเรื่องการประพฤติตัวไม่เหมาะสมด้วยการสั่งให้เณรทำการสำเร็จความใคร่ด้วยการนวด จนสร้างความไม่พอใจอย่างรุนแรงให้กับชาวบ้านมาแล้ว

และจากการลงพื้นที่ตรวจสอบพบกลุ่มชาวบ้านจำนวนมากพากันร้องตะโกนเสียงดังเพื่อขับไล่เจ้าอาวาสคนดังกล่าว โดยมี นายวิชาญ ขุนเที่ยง อายุ 52 ปี ซึ่งเป็นชาวบ้านในพื้นที่ให้ข้อมูลว่า ที่ผ่านมาชาวบ้านได้พยายามยับยั้งคำสั่งเรื่องการรื้อถอนศาลาเก่าแก่ กระทั่งเคยขอให้เจ้าคณะตำบล สั่งให้หยุดการรื้อถอนแต่เจ้าอาวาสของวัดแห่งนี้ ก็ยังฝ่าฝืนคำสั่งและดำเนินการรื้อถอนต่อไป

ขณะที่ นายพันธกานต์ พรหมเต็ม อายุ 21 ปีเผยว่าเมื่อครั้งที่ตอนเองมีอายุประมาณ 11 ปีได้เคยเข้ามาเล่นกับเพื่อนซึ่งบวชเป็นเณรยู่ ณ วัดแห่งนี้และเคยเล่าให้ฟังว่า เพิ่งถูกเจ้าอาวาสเรียกให้ไปนวดตัวโดยจะได้ค่าขนมครั้งละ 100-200 บาท ซึ่งเจ้าอาวาสไม่ได้ให้นวนแค่ตัวเท่านั้น แต่ยังให้นวดอวัยวะเพศจนสำเร็จความใคร่ จึงทำให้ตนเองไม่กล้าเข้ามาเล่นกับเณรที่วัดแห่งนี้อีก

อย่างไรก็ดีผู้สื่อข่าวได้สอบถามไปยัง พระครูสุชิน ชะยาพิวัฒน์ เจ้าอาวาสวัดกลางคลองหลวง ซึ่งก็ได้รับการอธิบายว่าตนเองเพิ่งเข้ามาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส เมื่อปี 2552 รวมระยะเวลา 10 ปี และที่ผ่านมาได้พยายามที่จะปรับปรุงบูรณะวัดฯ ให้มีความงดงาม รวมทั้งการสร้างศาลาหลังใหม่ทดแทนศาลาหลังเก่าที่มีอายุมากกว่า 100 ปี เพื่อให้ประชาชนได้ทำบุญสะดวกขึ้น และการดำเนินงานต่างๆ ไม่มีเจตนาที่จะรื้อศาลาหลังเก่าทิ้ง เพียงแต่จะทำการบูรณะซ่อมแซมในจุดที่หลังคาเกิดการรั่วซึ่ง

“ อีกทั้งญํ.ตั้งใจจะทำเป็นศาลาสวดศพเนื่องจากปัจจุบันสถานที่รองรับประชาชนในการทำกิจกรรมทางศาสนามีไม่เพียงพอ แต่สุดท้ายก็ต้องรอฟังมติของคณะกรรมการวัดฯก่อน ส่วนกรณีที่มีผู้กล่าวอ้างว่าเคยให้เณรมานวดเพื่อสำเร็จความใคร่นั้น แท้จริงแล้วเป็นการให้เข้ามา เหยียบหลังเพราะมีอาการเกี่ยวกับหมอนรองกระดูก จึงต้องการให้เส้นคลายเท่านั้นและไม่มีการให้จับนวดอวัยวะเพศตามคำกล่าวอ้างแต่อย่างใด”

ทั้งนี้ พระครูสุชิน เจ้าอาวาสวัดกลางคลองหลวง เผยว่าคำล่ำลือที่เกิดขึ้นเชื่อว่าน่าจะเป็นเรื่องของการสร้างสถานการณ์ให้เลวร้ายเท่านั้น

และจากการสอบถามไปยัง นายประจักษ์ ตาดเดิม กำนันตำบลไร่หลักทอง เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเชื่อว่าน่าจะเกิดจากการที่เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน มีความเข้มงวดและยังมีนโยบายในการจัดระเบียบวัดฯ ไปพร้อมๆกับการพัฒนา จึงทำให้ชาวบ้านบางส่วนเกิดความไม่พอใจ อีกทั้งชาวบ้านส่วนใหญ่ก็ยังเห็นด้วยที่จะให้มีการบูรณศาลาหลังเก่าเพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อีกครั้ง

อย่างไรก็ดีจากการประชุมร่วมกับชาวบ้านที่ชุมนุมขับไล่ในวันนี้ ยังไม่สามารถหาทางออกได้ และจะมีการนัดชาวบ้าน และพระมาพูดกันใหม่เพื่อหาข้อตกลงร่วมกันอีกครั้ง




Chonburi Sponsored
อำเภอ พนัสนิคม

สมัยเมืองพนัสนิคม ในปี พ.ศ. 2371 กำเนิดเมืองขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้กลุ่มลาวอาสาปากน้ำมาสร้างภูมิลำเนาขึ้นในพื้นที่รกร้างระหว่างเมืองชลบุรีกับเมืองฉะเชิงเทรา พระราชทานนามเมืองว่าพนัสนิคม (บางเอกสารเขียน“พนัศนิคม”) มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ขึ้นกับกรมท่า กรุงเทพมหานคร ให้ท้าวอินทิสาร (บางเอกสารเขียน”อินทพิศาล”) หรือ ท้าวทุม ปลัดลาว เมืองสมุทรปราการ บุตรชายคนโตของท้าวไชย (บางเอกสารเขียน”ศรีวิไชย”) อุปราชเมืองนครพนม ให้เป็นเจ้าเมืองพนัสนิคมคนแรกและพระราชทานราชทินนามและบรรดาศักดิ์ที่พระอินทอาษา (บางเอกสารเขียน“อินทรอาษา, อินทอาสา, อินทราษา“) มีข้อความในพระราชพงศาวดารว่า “พวกลาวอาสาปากน้ำ ตั้งขึ้นเมื่อครั้งในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ภายหลังเมื่อปีชวดสัมฤทธิศก พวกลาวไม่สบาย ขอไปตั้งอยู่ที่เมืองพระรถ จึงโปรดให้ตัดเอาแขวงเมืองชลบุรี เมืองฉะเชิงเทรา มาตั้งเป็นเมืองขึ้นชื่อเมืองพนัศนิคม เจ้าเมืองชื่อพระอินทอาษา” (พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 2 ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับคุรุสภา พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2504 หน้า 180) โดยลาวบุกเบิกเมืองพนัสนิคม เป็นลาวเมืองนครพนม อ้างถึงการอพยพมาสยามครั้งแรกนำโดยท้าวไชย อุปราชเมืองนครพนม เป็นโอรสในพระบรมราชา (ท้าวกู่แก้ว) เจ้าเมืองนครพนม (เมืองนครพนมในอดีต เป็นหัวเมืองในราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ประเทศราชของสยาม) ไม่สมัครใจอยู่ในปกครองของพระบรมราชา (มัง) เจ้าเมืองนครพนมคนใหม่ จึงอพยพพาสมัครพรรคพวก บุตรหลาน ท้าวเพี้ย ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2352 และโปรดเกล้าฯให้ตั้งบ้านเรือนอยู่คลองมหาวงษ์ เมืองสมุทรปราการ ยุคนั้นจึงเรียกคนกลุ่มนี้ว่าพวกลาวอาสาปากน้ำ แต่ทนสภาพแวดล้อมไม่ไหว เพราะเป็นชาวดอนน้ำจืด ถูกให้ไปอยู่เมืองลุ่มน้ำกร่อยและเค็ม เลยขอเปลี่ยนไปอยู่ที่อื่น ซึ่งสภาพใกล้เคียงที่ดอน ลาวนครพนมกลุ่มนี้ได้บุกเบิกสร้างเมืองพนัสนิคม