Chonburi Sponsored

ลุยเฟสแรก 3.9 พันล้าน

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

“กรมทางหลวง” เดินหน้าสร้าง “ทางเลี่ยงเมืองพนัสนิคม” 41.20 กม. มูลค่า 7.8 พันล้าน หลัง กก.วล. ไฟเขียวอีไอเอ จ่อชงของบปี 66 สร้างเฟสแรก 17.2 กม. วงเงิน 3.9 พันล้าน เสร็จปี 68 ก่อนทยอยของบเพิ่มสร้างต่อให้ครบลูปปี 70 แก้ปัญหารถติด หนุนขนส่งสินค้าเชื่อมอีอีซี-ด่านชายแดนอรัญประเทศ พฤหัสบดีที่ 1 กรกฎาคม 2564 เวลา 07.07 น.

นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) เปิดเผยว่า ความคืบหน้าโครงการก่อสร้างทางเลี่ยงเมืองพนัสนิคม จ.ชลบุรี ช่วง กม.ที่ 0+000-41+201 ระยะทางรวม 41.20 กิโลเมตร (กม.) โครงการได้ผ่านการพิจารณาเห็นชอบรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) จากที่ประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) ครั้งที่ 3/64  เมื่อวันที่ 21 มิ.ย.64 หลังจากนี้ ทล. จะจัดทำข้อมูลเพื่อขอออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดินต่อไป โครงการนี้ใช้งบประมาณ 7,800 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าก่อสร้าง 6,300 ล้านบาท และค่าเวนคืนที่ดิน 1,500 ล้านบาท พื้นที่เวนคืนที่ดินรวม 1,649 ไร่ จำนวน 972 แปลง และสิ่งปลูกสร้างทั้งหมด 176 หลัง หากมีการเวนคืนที่ดินแล้วจะเสนอของบประมาณดำเนินการก่อสร้างต่อไป เพื่อให้ทยอยสร้างในปี 66 แล้วเสร็จทั้งหมดในปี 70

สำหรับแผนก่อสร้างโครงการแบ่งเป็น 3 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 เป็นทางเลี่ยงเมืองพนัสนิคมด้านตะวันตก ระยะทาง 11.1 กม. วงเงิน 1,100 ล้านบาท มีแผนจะก่อสร้างปี 67 แล้วเสร็จปี 69 จุดเริ่มต้น ช่วง กม.ที่ 0+000 บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 315 (ฉะเชิงเทรา-พนัสนิคม) ด้านทิศเหนือของเมืองพนัสนิคม พื้นที่ ต.วัดโบสถ์ ตัดผ่านถนนบ้านกลางเลียบด้านตะวันตกของหมู่บ้านเอื้ออาทรไปสิ้นสุดที่ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 315 (พนัสนิคม-ชลบุรี) กม.ที่ 11+121 พื้นที่ ต.มาบโป่ง ขณะที่ตอนที่ 2 เป็นทางเลี่ยงเมืองพนัสนิคมด้านใต้ 17.2 กม. วงเงิน 3,900 ล้านบาท แผนก่อสร้างปี 66 แล้วเสร็จปี 68 จุดเริ่มต้น กม.ที่ 11+121 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 315 (พนัสนิคม-ชลบุรี) ต. มาบโป่ง ไปสิ้นสุดที่ กม. 28+383 ที่ทางหลวงชนบทสาย ชบ.3104 ท้องที่ ต.นาวังหิน

นายสราวุธ กล่าวต่อว่า และ ตอนที่ 3 เป็นทางเลี่ยงเมืองพนัสนิคมด้านตะวันออก 12.8 กม. วงเงิน 1,300 ล้านบาท ก่อสร้างปี 68 แล้วเสร็จปี 70 เริ่มต้นที่ กม.28+383 ทางหลวงชนบทสาย ชบ.3104 ต.นาวังหิน สิ้นสุดที่ 41+201 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 315 (ฉะเชิงเทรา-พนัสนิคม) ด้านทิศเหนือของเมืองพนัสนิคม ต.วัดโบสถ์ ซึ่งแบ่งการดำเนินงานและเสนอขอรับงบประมาณ 3 ตอนเนื่องจากงบประมาณโครงการมีจำนวนค่อนข้างมากต้องทยอยดำเนินการ เพื่อให้สอดคล้องกับการขอรับงบประมาณ เพราะในแต่ละพื้นที่มีความสำคัญในการแก้ปัญหาจราจร และอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้ทาง ซึ่งต้องจัดสรรงบประมาณให้ในแต่ละพื้นที่ตามความเหมาะสมด้วย

รูปแบบโครงการจะก่อสร้างเป็นถนนคอนกรีตขนาด 4 ช่องจราจร ความกว้างช่องจราจรละ 3.50 เมตร ไหล่ทางด้านในกว้าง 1.50 เมตร ไหล่ทางด้านนอกกว้าง 2.50 เมตร เกาะกลางแบบกดเป็นร่องกว้าง 9.10 เมตร มีเขตทางกว้าง 60 เมตร รวมทั้ง สร้างจุดกลับรถใต้สะพาน 22 แห่ง และสร้างระบบระบายน้ำ 31 แห่ง ตลอดจนการจัดภูมิทัศน์บริเวณทางแยกต่างระดับ รวมถึงมีรูปแบบทางแยกโครงการ 9 จุดตัดด้วย

นายสราวุธ กล่าวอีกว่า เมื่อโครงการเสร็จจะช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรติดขัด แก้ปัญหาจราจรแออัด และหนาแน่นในตัว อ.พนัสนิคม เนื่องจากเส้นทางนี้ใช้ขนส่งสินค้าจากนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ภาคตะวันออก สนับสนุนโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เป็นแหล่งผลิตที่สำคัญกับประตูการค้าระหว่างประเทศ ได้แก่ ท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง และมาบตาพุด

รวมทั้งยังช่วยแยกการจราจรผ่านเมืองพนัสนิคมออกจากการจราจรท้องถิ่นภายใน อ.พนัสนิคมได้ ช่วยขนส่งสินค้ามีความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย พัฒนาโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งในเขต อ.พนัสนิคม และพื้นที่ใกล้เคียงไปยังจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) และประตูการค้าชายแดนด่านอรัญประเทศ จ.สระแก้ว

คุณเห็นด้วยกับข่าวนี้หรือไม่

  • เห็นด้วย

    0%

  • ไม่เห็นด้วย

    0%

Chonburi Sponsored
อำเภอ พนัสนิคม

สมัยเมืองพนัสนิคม ในปี พ.ศ. 2371 กำเนิดเมืองขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้กลุ่มลาวอาสาปากน้ำมาสร้างภูมิลำเนาขึ้นในพื้นที่รกร้างระหว่างเมืองชลบุรีกับเมืองฉะเชิงเทรา พระราชทานนามเมืองว่าพนัสนิคม (บางเอกสารเขียน“พนัศนิคม”) มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ขึ้นกับกรมท่า กรุงเทพมหานคร ให้ท้าวอินทิสาร (บางเอกสารเขียน”อินทพิศาล”) หรือ ท้าวทุม ปลัดลาว เมืองสมุทรปราการ บุตรชายคนโตของท้าวไชย (บางเอกสารเขียน”ศรีวิไชย”) อุปราชเมืองนครพนม ให้เป็นเจ้าเมืองพนัสนิคมคนแรกและพระราชทานราชทินนามและบรรดาศักดิ์ที่พระอินทอาษา (บางเอกสารเขียน“อินทรอาษา, อินทอาสา, อินทราษา“) มีข้อความในพระราชพงศาวดารว่า “พวกลาวอาสาปากน้ำ ตั้งขึ้นเมื่อครั้งในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ภายหลังเมื่อปีชวดสัมฤทธิศก พวกลาวไม่สบาย ขอไปตั้งอยู่ที่เมืองพระรถ จึงโปรดให้ตัดเอาแขวงเมืองชลบุรี เมืองฉะเชิงเทรา มาตั้งเป็นเมืองขึ้นชื่อเมืองพนัศนิคม เจ้าเมืองชื่อพระอินทอาษา” (พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 2 ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับคุรุสภา พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2504 หน้า 180) โดยลาวบุกเบิกเมืองพนัสนิคม เป็นลาวเมืองนครพนม อ้างถึงการอพยพมาสยามครั้งแรกนำโดยท้าวไชย อุปราชเมืองนครพนม เป็นโอรสในพระบรมราชา (ท้าวกู่แก้ว) เจ้าเมืองนครพนม (เมืองนครพนมในอดีต เป็นหัวเมืองในราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ประเทศราชของสยาม) ไม่สมัครใจอยู่ในปกครองของพระบรมราชา (มัง) เจ้าเมืองนครพนมคนใหม่ จึงอพยพพาสมัครพรรคพวก บุตรหลาน ท้าวเพี้ย ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2352 และโปรดเกล้าฯให้ตั้งบ้านเรือนอยู่คลองมหาวงษ์ เมืองสมุทรปราการ ยุคนั้นจึงเรียกคนกลุ่มนี้ว่าพวกลาวอาสาปากน้ำ แต่ทนสภาพแวดล้อมไม่ไหว เพราะเป็นชาวดอนน้ำจืด ถูกให้ไปอยู่เมืองลุ่มน้ำกร่อยและเค็ม เลยขอเปลี่ยนไปอยู่ที่อื่น ซึ่งสภาพใกล้เคียงที่ดอน ลาวนครพนมกลุ่มนี้ได้บุกเบิกสร้างเมืองพนัสนิคม