28 มี.ค. 2565 – สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี รายงานว่า วันนี้มีรายงานผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ จำนวน 1,390 ราย (ผู้ติดเชื้อยืนยัน RT-PCR)
1.คนที่พักอาศัยในจังหวัดระยอง เข้ามารักษาในจังหวัดชลบุรี 70 ราย สะสม 4,386 ราย และจังหวัดอื่นๆรวมสะสม 1,349 ราย
2.CLUSTER บริษัท ไทย เอ็นโอเค จำกัด 11 ราย อำเภอเมืองชลบุรี สะสม 65 ราย
3.CLUSTER บริษัท เอจีซีออโตโมทีฟ (ประเทศไทย) จำกัด 5 ราย อำเภอเมืองชลบุรี สะสม 27 ราย
4.CLUSTER บริษัท โตโยด้า โกเซ (ประเทศไทย) จำกัด 7 ราย อำเภอพานทอง สะสม 66 ราย
5.อาชีพเสี่ยงพบปะผู้คนจำนวนมาก 19 ราย
6.บุคลากรทางการแพทย์ 41 ราย
7.ให้ประวัติเดินทางมาจากต่างจังหวัด 3 ราย ดังนี้ จังหวัดเชียงใหม่ 1 ราย จังหวัดสมุทรสงคราม 1 ราย จังหวัดนครราชสีมา 1 ราย
8.สัมผัสผู้ป่วยยืนยัน จากในครอบครัว 325 ราย จากสถานที่ทำงาน 61 ราย บุคคลใกล้ชิด 73 ราย ร่วมวงสังสรรค์ 1 ราย
9.สัมผัสผู้ป่วยยืนยัน (อยู่ระหว่างสอบสวนโรค) 34 ราย
10.อยู่ระหว่างการสอบสวนโรค 740 ราย
ณ วันที่ 28 มีนาคม 2565 จังหวัดชลบุรี มีผู้ฉีดวัคซีนครบ 3 เข็ม 928,959 คน ซึ่งในเดือนนี้ มีผู้ที่ฉีดวัคซีนครบ 3 เข็มแล้ว ติดเชื้อ 7,353 คน (อัตราป่วย 791.53 ต่อแสนประชากร) เสียชีวิต 5 ราย (0.54 ต่อแสนประชากร), ใส่ท่อหายใจ 4 ราย (0.43 ต่อแสนประชากร), ปอดอักเสบ 8 ราย (0.86 ต่อแสนประชากร)
มีผู้ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม 1,904,004 คน ซึ่งในเดือนนี้ มีผู้ที่ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว ติดเชื้อ 10,630 คน (อัตราป่วย 558.30 ต่อแสนประชากร) เสียชีวิต 23 ราย (1.21 ต่อแสนประชากร), ใส่ท่อหายใจ 14 ราย (0.74 ต่อแสนประชากร), ปอดอักเสบ 23 ราย (1.21 ต่อแสนประชากร)
ส่วนผู้ที่ฉีดวัคซีนเพียง 1 เข็ม 132,160 คน และไม่ได้ฉีดวัคซีนอีก 292,909 คน รวม 425,069 คน ในเดือนนี้พบผู้ติดเชื้อที่ฉีดวัคซีนไม่ครบและยังไม่ได้ฉีดวัคซีน 15,239 คน (อัตราป่วย 3585.07 ต่อแสนประชากร), เสียชีวิต 55 ราย (12.94 ต่อแสนประชากร), ใส่ท่อหายใจ 11 ราย (2.59 ต่อแสนประชากร) , ปอดอักเสบ 52 ราย (12.23 ต่อแสนประชากร)
วันนี้พบผู้เสียชีวิตรายใหม่ 1 ราย (อายุ 86 ปี) สาเหตุที่นำไปสู่การเสียชีวิตคือ เป็นผู้สูงอายุ มีประวัติสัมผัสผู้ป่วยยืนยันในครอบครัว (ไม่พบประวัติการรับวัคซีน) ดังนั้นการฉีดวัคซีนครบตามเกณฑ์กล่าวคือต้องได้รับการกระตุ้นภูมิคุ้มกันด้วยการฉีดเข็มที่สาม จะช่วยลดความรุนแรงของโควิด-19 ผู้ที่อาศัยในจังหวัดชลบุรี ควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว หญิงตั้งครรภ์ เนื่องจากผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ยังยังไม่ได้ฉีดวัคซีน หรือฉีดวัคซีนไม่ครบ มีโอกาสที่จะมีอาการรุนแรงมากกว่าผู้ที่ฉีดวัคซีนครบตามเกณฑ์ ซึ่งนำไปสู่การเสียชีวิตจากโรคโควิด 19 และกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว หญิงตั้งครรภ์ จะมีอาการมากกว่ากลุ่มอื่น.