Chonburi Sponsored

ชาวบ้านพนัสนิคม จ.ชลบุรี ร้องไม่มีน้ำทำการเกษตรหลังน้ำในคลองชลประทานแห้งขอด

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored


ศูนย์ข่าวศรีราชา – ชาวบ้าน อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี รวมตัวร้องสื่อฯ เดือดร้อนหนักหลังน้ำในคลองชลประทานแห้งขอด วอนหน่วยงานเกี่ยวข้องช่วยเหลือด่วน

วันนี้ ( 19 พ.ย.) ชาวบ้านกว่า 50 คนซึ่งมีอาชีพเกษตรกรรม ทังปลูกข้าว ทำสวน เลี้ยงปลาและกุ้งในพื้นที่ ม. 1 ต.โคกเพลาะ อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี ได้รวมตัวกันเรียกร้องให้หน่วยงานเกี่ยวข้องยื่นมือให้ความช่วยเหลือหลังได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาน้ำในคลองชลประทานที่ส่งมาจากเขื่อนศรียัดแห้งขอด จนทำให้ต้องสูบน้ำจากแหล่งอื่นมาใช้เสียทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย

โดยชาวบ้านบอกว่าก่อนหน้านี้ สำนักงานชลประทานในพื้นที่ได้ทำการรื้อประตูน้ำออกจนทำให้ทางไหลของน้ำไม่ได้ระดับ และยังำทให้น้ำในคลองชลประทานเกิดการตื้นเขิน 


นายอภินันท์ ฉัตรมงคลพาณิช อายุ 49 ปี เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาบอกว่าปัญหาขาดแคลนน้ำทำให้ขณะนี้ปลาที่เลี้ยงไว้เริ่มทยอยตายอย่างต่อเนื่องจึงอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาดูแลและแก้ไขเป็นการด่วน

“ ก่อนหน้านี้ชลประทานเคยมีน้ำส่งให้ชาวบ้านแต่หลังมีการผันน้ำไปยังเมืองชลบุรีและมีการนำรถแบคโฮมาขุดพื้นคลองใหม่ทำให้ชาวบ้านเดือดร้อนหนักเพราะน้ำไม่มีใช้ ซึ่งน้ำเป็นชีวิตของชาวนา ถ้าไม่มีน้ำก็จบและที่ผ่านมาเคยมีการร้องเรียนไปยังหน่วยงานต้นสังกัดแล้วแต่ก็ยังเงียบหาย” เกษตรกรผู้เลี้ยงปลา กล่าว

ด้าน นายกฤษดา แสงสว่าง กำนันตำบลโคกเพลาะ ได้เรียกร้องให้ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี และรัฐมนตรีแรงงานช่วยประสานงานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้แก้ไขโดยด่วน

Chonburi Sponsored
อำเภอ พนัสนิคม

สมัยเมืองพนัสนิคม ในปี พ.ศ. 2371 กำเนิดเมืองขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้กลุ่มลาวอาสาปากน้ำมาสร้างภูมิลำเนาขึ้นในพื้นที่รกร้างระหว่างเมืองชลบุรีกับเมืองฉะเชิงเทรา พระราชทานนามเมืองว่าพนัสนิคม (บางเอกสารเขียน“พนัศนิคม”) มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ขึ้นกับกรมท่า กรุงเทพมหานคร ให้ท้าวอินทิสาร (บางเอกสารเขียน”อินทพิศาล”) หรือ ท้าวทุม ปลัดลาว เมืองสมุทรปราการ บุตรชายคนโตของท้าวไชย (บางเอกสารเขียน”ศรีวิไชย”) อุปราชเมืองนครพนม ให้เป็นเจ้าเมืองพนัสนิคมคนแรกและพระราชทานราชทินนามและบรรดาศักดิ์ที่พระอินทอาษา (บางเอกสารเขียน“อินทรอาษา, อินทอาสา, อินทราษา“) มีข้อความในพระราชพงศาวดารว่า “พวกลาวอาสาปากน้ำ ตั้งขึ้นเมื่อครั้งในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ภายหลังเมื่อปีชวดสัมฤทธิศก พวกลาวไม่สบาย ขอไปตั้งอยู่ที่เมืองพระรถ จึงโปรดให้ตัดเอาแขวงเมืองชลบุรี เมืองฉะเชิงเทรา มาตั้งเป็นเมืองขึ้นชื่อเมืองพนัศนิคม เจ้าเมืองชื่อพระอินทอาษา” (พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 2 ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับคุรุสภา พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2504 หน้า 180) โดยลาวบุกเบิกเมืองพนัสนิคม เป็นลาวเมืองนครพนม อ้างถึงการอพยพมาสยามครั้งแรกนำโดยท้าวไชย อุปราชเมืองนครพนม เป็นโอรสในพระบรมราชา (ท้าวกู่แก้ว) เจ้าเมืองนครพนม (เมืองนครพนมในอดีต เป็นหัวเมืองในราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ประเทศราชของสยาม) ไม่สมัครใจอยู่ในปกครองของพระบรมราชา (มัง) เจ้าเมืองนครพนมคนใหม่ จึงอพยพพาสมัครพรรคพวก บุตรหลาน ท้าวเพี้ย ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2352 และโปรดเกล้าฯให้ตั้งบ้านเรือนอยู่คลองมหาวงษ์ เมืองสมุทรปราการ ยุคนั้นจึงเรียกคนกลุ่มนี้ว่าพวกลาวอาสาปากน้ำ แต่ทนสภาพแวดล้อมไม่ไหว เพราะเป็นชาวดอนน้ำจืด ถูกให้ไปอยู่เมืองลุ่มน้ำกร่อยและเค็ม เลยขอเปลี่ยนไปอยู่ที่อื่น ซึ่งสภาพใกล้เคียงที่ดอน ลาวนครพนมกลุ่มนี้ได้บุกเบิกสร้างเมืองพนัสนิคม