Chonburi Sponsored

โควิดชลบุรีพุ่ง 460 ราย! ผล ATK อีก 325 คน

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

4 ก.พ. 2565 – สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี รายงานว่า วันนี้มียอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ จำนวน 460 ราย

1.คนที่พักอาศัยในจังหวัดระยอง เข้ามารักษาในจังหวัดชลบุรี 48 ราย สะสม 923 ราย และจังหวัดอื่นๆรวมสะสม 221 ราย

2.CLUSTER บริษัท แสงหิรัญวู้ดโปรดักส์ จำกัด อ.พนัสนิคม 10 ราย สะสม 10 ราย

3.CLUSTER บริษัท ฟูจิตสึ เจเนอรัล (ประเทศไทย) จำกัด อ.ศรีราชา 5 ราย สะสม 28 ราย

4.CLUSTER บริษัท บริดจสโตน ไทร์ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด อ.พานทอง 7 ราย สะสม 19 ราย

5.อาชีพเสี่ยงพบปะผู้คนจำนวนมาก 22 ราย

6.บุคลากรทางการแพทย์ 6 ราย

7.ให้ประวัติเดินทางมาจากต่างจังหวัด 10 ราย ดังนี้ จังหวัดระยอง 4 ราย กรุงเทพมหานคร 3 ราย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 1 ราย จังหวัดราชบุรี 1 ราย จังหวัดอุทัยธานี 1 ราย

8.สัมผัสผู้ป่วยยืนยัน จากในครอบครัว 103 ราย จากสถานที่ทำงาน 58 ราย บุคคลใกล้ชิด 24 ราย ร่วมวงสังสรรค์ 9 ราย

9.สัมผัสผู้ป่วยยืนยัน (อยู่ระหว่างสอบสวนโรค) 7 ราย

10.อยู่ระหว่างการสอบสวนโรค 151 ราย

ณ วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2565 จังหวัดชลบุรี มีผู้ฉีดวัคซีนครบ 3 เข็ม 603,763 คน ซึ่งในเดือนนี้ มีผู้ที่ฉีดวัคซีนครบ 3 เข็มแล้ว ติดเชื้อ 300 คน ไม่มีรายงานผู้ป่วยปอดอับเสบ, ไม่มีรายงานผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ และไม่มีเสียชีวิต

มีผู้ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม 1,857,478 คน ซึ่งในเดือนนี้ มีผู้ที่ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว ติดเชื้อ 779 คน ผู้ป่วยปอดอับเสบ 1 ราย, ผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ 3 ราย และเสียชีวิต 1 ราย

ส่วนผู้ที่ฉีดวัคซีนเพียง 1 เข็ม 92,290 คน และไม่ได้ฉีดวัคซีนอีก 379,305 คน รวม 471,595 คน ในเดือนนี้ พบผู้ติดเชื้อที่ฉีดวัคซีนไม่ครบ 26 คน และไม่ได้ฉีดวัคซีน 530 คน ผู้ป่วยปอดอับเสบ 1 ราย, ไม่มีรายงานผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ และเสียชีวิต 2 ราย

สำหรับวันนี้ พบผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจรายใหม่ 2 ราย (รายที่หนึ่งรับวัคซีนสองเข็ม เมื่อวันที่ 17 ส.ค. 2564, รายที่สองรับวัคซีนสองเข็ม เมื่อวันที่ 7 ต.ค. 2564), ผู้ป่วยปอดอับเสบรายใหม่ 1 ราย (ได้รับวัคซีนสองเข็ม เมื่อวันที่ 2 พ.ย. 2564) ดังนั้น การฉีดวัคซีนครบตามเกณฑ์ กล่าวคือต้องได้รับการกระตุ้นภูมิคุ้มกันด้วยการฉีดเข็มที่สาม จะช่วยลดความรุนแรงของโควิด-19.

Chonburi Sponsored
อำเภอ พนัสนิคม

สมัยเมืองพนัสนิคม ในปี พ.ศ. 2371 กำเนิดเมืองขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้กลุ่มลาวอาสาปากน้ำมาสร้างภูมิลำเนาขึ้นในพื้นที่รกร้างระหว่างเมืองชลบุรีกับเมืองฉะเชิงเทรา พระราชทานนามเมืองว่าพนัสนิคม (บางเอกสารเขียน“พนัศนิคม”) มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ขึ้นกับกรมท่า กรุงเทพมหานคร ให้ท้าวอินทิสาร (บางเอกสารเขียน”อินทพิศาล”) หรือ ท้าวทุม ปลัดลาว เมืองสมุทรปราการ บุตรชายคนโตของท้าวไชย (บางเอกสารเขียน”ศรีวิไชย”) อุปราชเมืองนครพนม ให้เป็นเจ้าเมืองพนัสนิคมคนแรกและพระราชทานราชทินนามและบรรดาศักดิ์ที่พระอินทอาษา (บางเอกสารเขียน“อินทรอาษา, อินทอาสา, อินทราษา“) มีข้อความในพระราชพงศาวดารว่า “พวกลาวอาสาปากน้ำ ตั้งขึ้นเมื่อครั้งในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ภายหลังเมื่อปีชวดสัมฤทธิศก พวกลาวไม่สบาย ขอไปตั้งอยู่ที่เมืองพระรถ จึงโปรดให้ตัดเอาแขวงเมืองชลบุรี เมืองฉะเชิงเทรา มาตั้งเป็นเมืองขึ้นชื่อเมืองพนัศนิคม เจ้าเมืองชื่อพระอินทอาษา” (พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 2 ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับคุรุสภา พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2504 หน้า 180) โดยลาวบุกเบิกเมืองพนัสนิคม เป็นลาวเมืองนครพนม อ้างถึงการอพยพมาสยามครั้งแรกนำโดยท้าวไชย อุปราชเมืองนครพนม เป็นโอรสในพระบรมราชา (ท้าวกู่แก้ว) เจ้าเมืองนครพนม (เมืองนครพนมในอดีต เป็นหัวเมืองในราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ประเทศราชของสยาม) ไม่สมัครใจอยู่ในปกครองของพระบรมราชา (มัง) เจ้าเมืองนครพนมคนใหม่ จึงอพยพพาสมัครพรรคพวก บุตรหลาน ท้าวเพี้ย ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2352 และโปรดเกล้าฯให้ตั้งบ้านเรือนอยู่คลองมหาวงษ์ เมืองสมุทรปราการ ยุคนั้นจึงเรียกคนกลุ่มนี้ว่าพวกลาวอาสาปากน้ำ แต่ทนสภาพแวดล้อมไม่ไหว เพราะเป็นชาวดอนน้ำจืด ถูกให้ไปอยู่เมืองลุ่มน้ำกร่อยและเค็ม เลยขอเปลี่ยนไปอยู่ที่อื่น ซึ่งสภาพใกล้เคียงที่ดอน ลาวนครพนมกลุ่มนี้ได้บุกเบิกสร้างเมืองพนัสนิคม