Chonburi Sponsored

'วรวุฒิ' นายประตูชลบุรี ขอเลิกเหล้าตลอดชีวิต หลังเมาขับรถชนคนดับ

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

หลังจากที่ “แบงค์” วรวุฒิ สุขุนา ผู้รักษาประตูทีม ชลบุรี เอฟซี วัย 23 ปี เป็นผู้ขับขี่รถยนต์โตโยต้า วีออส สีดำ ทะเบียน กจ 8061 พุ่งชน น.ส.กัญญา พงษ์หัสส์บรรณ อายุ 62 ปี ใส่ชุดออกกำลังกาย ขาขวาหัก ศีรษะแตก จนเสียชีวิตในที่เกิดเหตุ และมีนายพงษ์ (ไม่ทราบนามสกุล) ได้รับบาดเจ็บสาหัส ขาขวาหัก นอนอยู่บริเวณใกล้ๆ ต้องรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลชลบุรี

โดยการตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ของ “แบงค์” วรวุฒิ ที่มีสภาพกำลังมึนเมา ตรวจวัดได้ 184 มิลลิกรัมเปอร์เซน แต่เจ้าตัวไม่ยอมเซ็นรับทราบ จากนั้นยังมีนักเตะรุ่นพี่อย่าง เฉลิมพงษ์ เกิดแก้ว ปราการหลัง อดีตผู้เล่นทีมชาติไทย วัย 36 ปี เพื่อนร่วมสโมสร เดินทางมาพยายามนำตัวนักเตะรุ่นน้องออกจากพื้นที่เกิดเหตุก่อนถูกกันตัวจากเจ้าหน้าที่และกู้ภัยจนมีปากเสียงกัน

ขณะที่ความคืบหน้าล่าสุด ทางพันตำรวจเอกนิทัศน์ แหวนประดับ ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรเมืองชลบุรี ได้เข้าสอบสวนผู้ต้องหาด้วยตัวเอง โดยนายวรวุฒิ ยังอยู่ในอาการเศร้าเสียใจ ร้องไห้มีเสียงสะอื้นตลอดเวลา พร้อมกับได้ยกมือไหว้ขอโทษกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ยืนยันว่าผิดไปแล้ว และขอจะไม่ดื่มเหล้าอีกตลอดชีวิต

ซึ่งพันตำรวจเอกนิทัศน์เปิดเผยว่า ในเบื้องต้นทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ตั้งข้อหาขับขี่รถในขณะเมาสุราเป็นเหตุให้ผุ้อื่นถึงแก่ความตายและสาหัส ในเบื้องต้นทางพนักงานยังคงสอบสวนสอบปากคำผู้ต้องหายังคงขอให้การภาคเสธ

Chonburi Sponsored
อำเภอ พนัสนิคม

สมัยเมืองพนัสนิคม ในปี พ.ศ. 2371 กำเนิดเมืองขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้กลุ่มลาวอาสาปากน้ำมาสร้างภูมิลำเนาขึ้นในพื้นที่รกร้างระหว่างเมืองชลบุรีกับเมืองฉะเชิงเทรา พระราชทานนามเมืองว่าพนัสนิคม (บางเอกสารเขียน“พนัศนิคม”) มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ขึ้นกับกรมท่า กรุงเทพมหานคร ให้ท้าวอินทิสาร (บางเอกสารเขียน”อินทพิศาล”) หรือ ท้าวทุม ปลัดลาว เมืองสมุทรปราการ บุตรชายคนโตของท้าวไชย (บางเอกสารเขียน”ศรีวิไชย”) อุปราชเมืองนครพนม ให้เป็นเจ้าเมืองพนัสนิคมคนแรกและพระราชทานราชทินนามและบรรดาศักดิ์ที่พระอินทอาษา (บางเอกสารเขียน“อินทรอาษา, อินทอาสา, อินทราษา“) มีข้อความในพระราชพงศาวดารว่า “พวกลาวอาสาปากน้ำ ตั้งขึ้นเมื่อครั้งในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ภายหลังเมื่อปีชวดสัมฤทธิศก พวกลาวไม่สบาย ขอไปตั้งอยู่ที่เมืองพระรถ จึงโปรดให้ตัดเอาแขวงเมืองชลบุรี เมืองฉะเชิงเทรา มาตั้งเป็นเมืองขึ้นชื่อเมืองพนัศนิคม เจ้าเมืองชื่อพระอินทอาษา” (พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 2 ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับคุรุสภา พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2504 หน้า 180) โดยลาวบุกเบิกเมืองพนัสนิคม เป็นลาวเมืองนครพนม อ้างถึงการอพยพมาสยามครั้งแรกนำโดยท้าวไชย อุปราชเมืองนครพนม เป็นโอรสในพระบรมราชา (ท้าวกู่แก้ว) เจ้าเมืองนครพนม (เมืองนครพนมในอดีต เป็นหัวเมืองในราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ประเทศราชของสยาม) ไม่สมัครใจอยู่ในปกครองของพระบรมราชา (มัง) เจ้าเมืองนครพนมคนใหม่ จึงอพยพพาสมัครพรรคพวก บุตรหลาน ท้าวเพี้ย ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2352 และโปรดเกล้าฯให้ตั้งบ้านเรือนอยู่คลองมหาวงษ์ เมืองสมุทรปราการ ยุคนั้นจึงเรียกคนกลุ่มนี้ว่าพวกลาวอาสาปากน้ำ แต่ทนสภาพแวดล้อมไม่ไหว เพราะเป็นชาวดอนน้ำจืด ถูกให้ไปอยู่เมืองลุ่มน้ำกร่อยและเค็ม เลยขอเปลี่ยนไปอยู่ที่อื่น ซึ่งสภาพใกล้เคียงที่ดอน ลาวนครพนมกลุ่มนี้ได้บุกเบิกสร้างเมืองพนัสนิคม