Chonburi Sponsored

'บิ๊กบอล' ผจก.ชลบุรี ยืนยัน ไม่ยกเลิกสัญญา 'วรวุฒิ' แม้ขับรถชนคนตาย

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

หลังเกิดเหตุสลดเมื่อนักฟุตบอลของทีมชลบุรี เอฟซี อย่าง วรวุฒิ สุขุนา ผู้รักษาประตูวัย 23 ปี ขับรถชนคนจนเสียชีวิต 1 ศพ และได้รับบาดเจ็บสาหัสอีก 1 ราย ที่สะพานใหม่ ตอนที่ 2 จ.ชลบุรี เมื่อเช้าตรู่วันที่ 26 ตุลาคมที่ผ่านมา พร้อมวัดค่าแอลกอฮอล์ได้ 184 มิลลิกรัมเปอร์เซนต์ เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด

ล่าสุด “บิ๊กบอล” ศศิศ สิงห์โตทอง ผู้จัดการทีม “ฉลามชล” ชลบุรี เอฟซี ออกมาเปิดเผยว่า “เรื่องที่เกิดขึ้นแม้ว่าจะเป็นเคสแรกของสโมสร แต่ก็มักจะเกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้งกับคนอื่นๆ หรือนักเตะของทีมอื่นๆ ดังนั้นนักฟุตบอลต้องรู้ตัวเองด้วยว่าเมื่อคิดจะดื่มแล้วก็ไม่ควรจะขับรถ”

“ส่วนการที่หลายคนเรียกร้องให้ยกเลิกสัญญากับนักเตะที่ก่อเหตุนั้น เรื่องนี้ในต่างประเทศมีหลายสโมสรที่ทำแบบนั้น แต่ในมุมของสโมสรชลบุรี เอฟซี เราก็มีกฎของเรา เราคงจะยึดตามกฎของทีมชลบุรี เมื่อนักเตะทำผิดกฎหมายก็ต้องรับผลทางกฎหมาย”

“ทั้งนี้ตัวนักเตะอายุยังไม่มาก หากเราเลือกที่จะยกเลิกสัญญา หรือตัดหางปล่อยวัด หมายความว่าเราจะตัดอนาคตเด็กคนหนึ่งไปเลย ซึ่งก็ไม่รู้ว่าหลังจากนี้จะเกิดอะไรขึ้นกับชีวิตของเขาบ้าง” ผจก.ทัพฉลามชล ทิ้งท้าย

สำหรับ “ฉลามชล” ชลบุรี เอฟซี ได้มีแถลงการณ์ถึงเรื่องดังกล่าว โดยยืนยันว่าทีมจะไม่ปกป้องคนผิด และจะระงับการลงสนามของนักฟุตบอลคนดังกล่าวจนกว่าคดีจะถึงที่สุด ลงโทษแบนห้ามฝึกซ้อมร่วมกับทีม ไม่ส่งชื่อทำการแข่งขัน รวมถึงตัดเงินเดือน พร้อมทั้งยินดีช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ และเยียวยาครอบครัวผู้เสียชีวิตอย่างเต็มที่

Chonburi Sponsored
อำเภอ พนัสนิคม

สมัยเมืองพนัสนิคม ในปี พ.ศ. 2371 กำเนิดเมืองขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้กลุ่มลาวอาสาปากน้ำมาสร้างภูมิลำเนาขึ้นในพื้นที่รกร้างระหว่างเมืองชลบุรีกับเมืองฉะเชิงเทรา พระราชทานนามเมืองว่าพนัสนิคม (บางเอกสารเขียน“พนัศนิคม”) มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ขึ้นกับกรมท่า กรุงเทพมหานคร ให้ท้าวอินทิสาร (บางเอกสารเขียน”อินทพิศาล”) หรือ ท้าวทุม ปลัดลาว เมืองสมุทรปราการ บุตรชายคนโตของท้าวไชย (บางเอกสารเขียน”ศรีวิไชย”) อุปราชเมืองนครพนม ให้เป็นเจ้าเมืองพนัสนิคมคนแรกและพระราชทานราชทินนามและบรรดาศักดิ์ที่พระอินทอาษา (บางเอกสารเขียน“อินทรอาษา, อินทอาสา, อินทราษา“) มีข้อความในพระราชพงศาวดารว่า “พวกลาวอาสาปากน้ำ ตั้งขึ้นเมื่อครั้งในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ภายหลังเมื่อปีชวดสัมฤทธิศก พวกลาวไม่สบาย ขอไปตั้งอยู่ที่เมืองพระรถ จึงโปรดให้ตัดเอาแขวงเมืองชลบุรี เมืองฉะเชิงเทรา มาตั้งเป็นเมืองขึ้นชื่อเมืองพนัศนิคม เจ้าเมืองชื่อพระอินทอาษา” (พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 2 ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับคุรุสภา พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2504 หน้า 180) โดยลาวบุกเบิกเมืองพนัสนิคม เป็นลาวเมืองนครพนม อ้างถึงการอพยพมาสยามครั้งแรกนำโดยท้าวไชย อุปราชเมืองนครพนม เป็นโอรสในพระบรมราชา (ท้าวกู่แก้ว) เจ้าเมืองนครพนม (เมืองนครพนมในอดีต เป็นหัวเมืองในราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ประเทศราชของสยาม) ไม่สมัครใจอยู่ในปกครองของพระบรมราชา (มัง) เจ้าเมืองนครพนมคนใหม่ จึงอพยพพาสมัครพรรคพวก บุตรหลาน ท้าวเพี้ย ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2352 และโปรดเกล้าฯให้ตั้งบ้านเรือนอยู่คลองมหาวงษ์ เมืองสมุทรปราการ ยุคนั้นจึงเรียกคนกลุ่มนี้ว่าพวกลาวอาสาปากน้ำ แต่ทนสภาพแวดล้อมไม่ไหว เพราะเป็นชาวดอนน้ำจืด ถูกให้ไปอยู่เมืองลุ่มน้ำกร่อยและเค็ม เลยขอเปลี่ยนไปอยู่ที่อื่น ซึ่งสภาพใกล้เคียงที่ดอน ลาวนครพนมกลุ่มนี้ได้บุกเบิกสร้างเมืองพนัสนิคม