Chonburi Sponsored

“ยูเครน” : การลงทุนเพื่อ “สันติภาพ…”

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

เมื่อเงินเฟ้อตัวเลขใหม่เพิ่งประกาศสัปดาห์นี้ ในอเมริกาเพิ่มเป็น 7.9% ต่อปี น้ำมันแพงเป็นประวัติการณ์ โควิดยังคร่าชีวิตชาวอเมริกันประมาณ 1,350 คนต่อวัน ตลาดหุ้นสหรัฐขึ้นลงหวือหวาทองคำราคาสูงขึ้น ความผันผวนเหล่านี้เกิดจากการขาดความมั่นใจของผู้บริโภคและผู้ลงทุน

สหประชาชาติรายงานจำนวนผู้อพยพลี้ภัยจากยูเครนไปประเทศเพื่อนบ้าน ถึงวันที่ 9 มีนาคม ค.ศ. 2022 เป็นจำนวนกว่า 2,000,000 คน โปแลนด์ รับไปแล้ว 1,412,502 คน ฮังการี 214,160 คน สโลวาเกีย 165,199 คน รัสเซีย 97,098 คน โรมาเนีย 84,671 คน มัลโดว่า 82,762 คน เบลารูส 765 คน กระจายไปประเทศอื่นๆอีก 255,000 คน และจะมีผู้ลี้ภัยอพยพข้ามเมือง ภายในยูเครนอีก 12 ล้านคน

ปัญหาการอพยพครั้งนี้รุนแรงที่สุดในยุโรป นับแต่สงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา ภาพที่ออกมาจากสื่อต่างๆ เป็นสิ่งสะเทือนใจเตือนให้เห็นถึงความโหดร้ายของสงคราม

ผู้อพยพทั่วโลกในขณะนี้ หากรวมทุกภูมิภาคมีจำนวนประมาณ 24 ล้านคน ยูเครนได้รับความสนใจเป็นพิเศษ เนื่องจากความรุนแรงของสถานการณ์ นอกจากปริมาณของผู้ลี้ภัยแล้ว ยังมีความเสี่ยงสูงเพราะคู่ขัดแย้งคือรัสเซียมีอาวุธนิวเคลียร์

หากเทียบกับสถานการณ์ผู้อพยพอินโดจีน เริ่มต้นช่วงปี 1975 แต่รุนแรงมากระหว่างปี 1979 ถึง 1980 ชาวเวียดนาม เขมรและลาว ประมาณ 3,000,000 คน ลี้ภัยออกนอกประเทศ ไทยรับภาระเป็นที่พึ่งพิงชั่วคราวมากที่สุดในภูมิภาค ในจำนวนนี้ 2,500,000 คนไปรับความช่วยเหลือไปเริ่มชีวิตใหม่อยู่ในหลายทวีปโดยเฉพาะอเมริกา ยุโรปและ ออสเตรเลีย

เดือนมีนาคม ค.ศ. 1980 หลังจากสิ้นปีการศึกษาปีที่หนึ่งที่รัฐศาสตร์จุฬาฯ ผมและเพื่อนหลายคน ส่วนใหญ่เป็นนักเรียนเก่า AFS intercultural programs ไปช่วยงานที่ศูนย์อพยพอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี เริ่มโครงการเตรียมผู้อพยพที่จะเดินทางไปอเมริกา ให้มีพื้นฐานเรียนรู้วัฒนธรรม ภาษาอังกฤษ และมีทักษะการทำงานเบื้องต้น เป็นโครงการ The Consortium ของความร่วมมือจากสามองค์กร คือ Save The Children, World Education & The Experiment in International Living

จากแผนเดิมที่จะทำงานเพียงแค่ช่วงปิดเทอม แต่ปริมาณผู้ลี้ภัยเพิ่มขึ้นมาก จนต้องมีการขอร้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ช่วยกันทุกวิถีทางที่ทำได้ เราจึงจัดเพิ่มภาคเรียนกลางคืนในศูนย์อพยพ ตั้งแต่ 5 โมงเย็นถึง 3ทุ่ม เพื่อให้นิสิตนักศึกษาหลายคน ที่ต้องกลับไปเรียนกรุงเทพตอนกลางวัน ต้องรีบนั่งรถประจำทางจากกรุงเทพมาพนัสนิคม เพื่อสอนในตอนกลางคืน โครงการต้องขยาย เพิ่มจำนวนครูกว่า 300 คน

รัฐบาลไทย รัฐบาลอเมริกัน สหประชาชาติและองค์กรกุศลต่างๆ ระดมกำลังช่วยเหลือกันอย่างสุดความสามารถ ปัจจุบันประชากรที่อพยพไปประเทศที่สามเหล่านี้ เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่ามหาศาล ต่อเศรษฐกิจของประเทศทั้งหลายที่เป็นบ้านใหม่ของพวกเขา

สงครามที่ยูเครนครั้งนี้ ไม่มีใครทราบว่าจะลงเอยอย่างไร แต่ปัญหาที่เราเห็นชัดเจน และต้องช่วยกันเยียวยาทันที โดยไม่เกี่ยงเรื่องการเมือง ก็คือเรื่องมนุษยธรรม เราทุกคนมีความสามารถจะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ได้ วิธีหนึ่งคือการบริจาคผ่านองค์การทราบประชาชาติที่ https://donate.unhcr.org/sg/en-sg/general

10 มีนาคม ค.ศ. 2022 รัฐสภาอเมริกันอนุมัติงบประมาณด่วน เพิ่มเงินใหม่กระแสอีก 1.5 ล้านล้านดอลล่าร์ ในจำนวนนี้มีเงินช่วยเหลือยูเครนด้วย

อัตราเงินเฟ้อตัวเลขใหม่เพิ่งประกาศสัปดาห์นี้ ในอเมริกาเพิ่มเป็น 7.9% ต่อปี น้ำมันแพงเป็นประวัติการณ์ และโควิดยังคร่าชีวิตชาวอเมริกันประมาณ 1,350 คนต่อวัน ตลาดหุ้นอเมริกันขึ้นลงหวือหวา บางวันดาวโจนส์ขึ้นลง 800 กว่าจุด ทองคำราคาสูงขึ้น อสังหาริมทรัพย์แพงขึ้นปีนี้คาดว่าอีก 20% ความผันผวนเหล่านี้เกิดจากการขาดความมั่นใจของผู้บริโภคและผู้ลงทุน

ประธานาธิบดี Biden เพิ่งออกคำสั่งเตรียมมาตรการและนโยบาย เรื่องคริปโตและเงินดิจิตัลดอลลาร์ น่าจับตามองครับ

อังกฤษและประชาคมยุโรปเจอปัญหาไม่ต่างกันจากอเมริกา แต่ที่หนักกว่าก็คืออยู่ในภูมิภาคล่อแหลม ใกล้ชิดกับแดนสงคราม ต้องหาวิธีด่วนแก้ไขปัญหาเรื่องพลังงาน เพราะจะพึ่งก๊าซธรรมชาติและน้ำมันจากรัสเซียต่อไปไม่ได้อีกแล้ว ปัญหาระยะสั้นคือเรื่องผู้ลี้ภัย แต่ประโยชน์ระยะยาวคือจะได้ทรัพยากรมนุษย์

เศรษฐกิจในรัสเซียน่าเป็นห่วง ดอกเบี้ยสูงขึ้นกว่า 20% การธนาคารติดขัดโดนปิดล้อมจากทุกด้าน บัตรเครดิตสากลใช้ไม่ได้ ซัพพลายเชนกระทบทั่วทุกอุตสาหกรรม บริษัทรถยนต์ต้องปิดการผลิตเพราะไม่มีชิ้นส่วน สายการบินหาอะไหล่ไม่ได้ บริษัทใหญ่จากประเทศทางตะวันตกประกาศยกเลิกกิจการในรัสเซีย แม้ประชาชนส่วนใหญ่ยังเชื่อฟังข่าวสารจากผู้นำ และความเป็นชาตินิยมยังทำให้ชาวรัสเซียอดทนอยู่ แต่เริ่มมีรอยร้าวรุนแรงขึ้นทุกวัน เช่นการประท้วงพร้อมกันหลายเมืองจากคนที่รับข่าวสารจากต่างประเทศ น่าเป็นห่วงว่ารัฐบาลของประธานาธิบดีปูตินจะคุมสถานการณ์อยู่หรือไม่

จีนแม้จะมีผู้บริหารที่มีประสบการณ์สูง และพรรคการเมืองที่มีวินัย แต่กำลังวางตัวลำบาก ความกดดันเศรษฐกิจในประเทศสูงมาก เพราะจีนต้องพึ่งพาการค้าขายกับต่างประเทศ แม้พยายามเป็นกลางในเรื่องยูเครน และตอบโต้ความกดดันจากฝ่ายตะวันตก เพื่อช่วยเหลือทั้งกำลังใจและทรัพยากรให้รัสเซีย แต่เมื่อถึงขั้นปฏิบัติ จะสังเกตว่าจีนจะประนีประนอมเพื่อรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของจีนเป็นหลัก เช่นกรณีของรัสเซียต้องการซื้ออะไหล่เครื่องบินจากจีน แต่จีนขายให้ไม่ได้ เนื่องจากกลัวโดนคว่ำบาตรจากทางตะวันตก

สมาชิกสหประชาชาติ 141 ประเทศ ประณามรัสเซียและเรียกร้องให้หยุดยิงและถอดถอนกองทหารออกทันที แต่ท่าทีในขณะนี้ยังไม่มีเค้าว่าผู้นำรัสเซียจะปฏิบัติตาม หากทุกฝ่ายไม่สามารถจะหาทางประนีประนอมกันได้ อาจเกิดเหตุลามไปถึงสงครามเคมี ไซเบอร์ หรือร้ายกว่านั้นคือสงครามนิวเคลียร์

ช่วยกันลดอุณหภูมิการเมืองและช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์เท่าที่เราทำได้ เราทุกคนเป็นพี่น้องกัน ยูเครนและรัสเซียก็คือพี่น้องกัน สงครามครั้งนี้ไม่ควรจะเกิดแต่มันก็เกิดขึ้นแล้ว

ชาวไทยเคยเป็นตัวอย่างที่ดีอย่างกรณีช่วยเหลือผู้ลี้ภัย เอาคุณธรรมความเห็นอกเห็นใจเป็นตัวนำ หลีกเลี่ยงการวิจารณ์เลือกฝ่าย ส่งต่อข่าวโฆษณาชวนเชื่อต่างๆ สนับสนุนฝ่ายที่ตนเองชอบ ซึ่งสร้างความเครียดและความสับสนในสังคม เราหันมาเลือกและลุงทุนกับสันติภาพกันเถิดครับ

Chonburi Sponsored
อำเภอ พนัสนิคม

สมัยเมืองพนัสนิคม ในปี พ.ศ. 2371 กำเนิดเมืองขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้กลุ่มลาวอาสาปากน้ำมาสร้างภูมิลำเนาขึ้นในพื้นที่รกร้างระหว่างเมืองชลบุรีกับเมืองฉะเชิงเทรา พระราชทานนามเมืองว่าพนัสนิคม (บางเอกสารเขียน“พนัศนิคม”) มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ขึ้นกับกรมท่า กรุงเทพมหานคร ให้ท้าวอินทิสาร (บางเอกสารเขียน”อินทพิศาล”) หรือ ท้าวทุม ปลัดลาว เมืองสมุทรปราการ บุตรชายคนโตของท้าวไชย (บางเอกสารเขียน”ศรีวิไชย”) อุปราชเมืองนครพนม ให้เป็นเจ้าเมืองพนัสนิคมคนแรกและพระราชทานราชทินนามและบรรดาศักดิ์ที่พระอินทอาษา (บางเอกสารเขียน“อินทรอาษา, อินทอาสา, อินทราษา“) มีข้อความในพระราชพงศาวดารว่า “พวกลาวอาสาปากน้ำ ตั้งขึ้นเมื่อครั้งในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ภายหลังเมื่อปีชวดสัมฤทธิศก พวกลาวไม่สบาย ขอไปตั้งอยู่ที่เมืองพระรถ จึงโปรดให้ตัดเอาแขวงเมืองชลบุรี เมืองฉะเชิงเทรา มาตั้งเป็นเมืองขึ้นชื่อเมืองพนัศนิคม เจ้าเมืองชื่อพระอินทอาษา” (พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 2 ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับคุรุสภา พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2504 หน้า 180) โดยลาวบุกเบิกเมืองพนัสนิคม เป็นลาวเมืองนครพนม อ้างถึงการอพยพมาสยามครั้งแรกนำโดยท้าวไชย อุปราชเมืองนครพนม เป็นโอรสในพระบรมราชา (ท้าวกู่แก้ว) เจ้าเมืองนครพนม (เมืองนครพนมในอดีต เป็นหัวเมืองในราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ประเทศราชของสยาม) ไม่สมัครใจอยู่ในปกครองของพระบรมราชา (มัง) เจ้าเมืองนครพนมคนใหม่ จึงอพยพพาสมัครพรรคพวก บุตรหลาน ท้าวเพี้ย ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2352 และโปรดเกล้าฯให้ตั้งบ้านเรือนอยู่คลองมหาวงษ์ เมืองสมุทรปราการ ยุคนั้นจึงเรียกคนกลุ่มนี้ว่าพวกลาวอาสาปากน้ำ แต่ทนสภาพแวดล้อมไม่ไหว เพราะเป็นชาวดอนน้ำจืด ถูกให้ไปอยู่เมืองลุ่มน้ำกร่อยและเค็ม เลยขอเปลี่ยนไปอยู่ที่อื่น ซึ่งสภาพใกล้เคียงที่ดอน ลาวนครพนมกลุ่มนี้ได้บุกเบิกสร้างเมืองพนัสนิคม