Chonburi Sponsored

พายุฤดูร้อนถล่ม อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี ทำต้นไม้ใหญ่ล้มขวางถนนหลายสาย

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

เผยแพร่:   ปรับปรุง: โดย: ผู้จัดการออนไลน์


ศูนย์ข่าวศรีราชา​ พายุฤดูร้อนถล่ม อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี ทำต้นไม้ใหญ่ริมทางล้มขวางถนนหลายสาย ซ้ำยังมีผู้ได้รับบาดเจ็บ​จากการถูกต้นไม้ล้มทับ ส่วนถนนสาย 349 หนองชาก-พนัสนิคม ลมแรงพัดเสาไฟฟ้าแรงสูงล้มขวางถนน 13 ต้น 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ​เมื่อเวลา 18.00 น.วันนี้ (31 มี.ค.) ได้เกิดเหตุพายุฤดูร้อน​พัดถล่ม อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี จนทำให้มีฝนตกหนักและลมพัดแรงในหลายพื้นที่ และยังทำให้​ต้นไม้ขนาด 3 คนโอบล้มขวางขวางถนนสายหนองชาก-วิทยาลัยเทคนิคหนองซาก

เจ้าหน้าที่เทศบาลหนองชาก และเจ้าหน้าที่กู้ภัยต้องเร่งนำเลื่อยยนต์เข้าตัดกิ่งและต้นไม้  รวมทั้งนำรถไถดันต้นไม้เข้าข้างทาง 

ส่วนถนนสาย 349 หนองชาก-พนัสนิคม ที่อยู่ใกล้ตลาดหนองเขิน พื้นที่ ม.3 ต.หนองอิรุณ  พายุฝนและลมแรงได้พัดเอาเสาไฟฟ้าแรงสูงล้มขวางถนน จำนวน 13 ต้น เจ้าหน้าที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคบ้านบึง ต้องเร่งติดตั้งเสาไฟฟ้าใหม่เพื่อให้ประชาชนได้มีไฟฟ้าใช้ก่อนค่ำ


ขณะที่ริมถนนสายศูนย์การศึกษาพิเศษหนองชาก ม.3 ต.หนองชาก ได้เกิดเหตุต้นไม้ล้มทับคนขี่รถจักรยานยนต์​ยี่ห้อยามาฮ่า สีเขียว ทะเบียน มพว 531 กรุงเทพมหานคร ได้รับความเสียหาย 

ส่วนคนขี่คือ นายทรงศักดิ์ แซ่เตียว อายุ 51 ปี มีอาการทางกระดูกบริเวณขาซ้าย ศีรษะด้านขวามีแผลแตก และอยู่ในอาการสะลืมสะลึม เจ้าหน้าที่กู้ภัยศีลธรรมสมาคมบ้านบึง ต้องรีบปฐมพยาบาลเบื้องต้นก่อนนำส่งรักษาที่โรงพยาบาลบ้านบึง

จากการสอบถาม น.ส.ศิริวรรณ จันทร์ติ๊บ อายุ 38 ปี ผู้เห็นเหตุการณ์กล่าวว่า ขณะเกิดพายุฝนและลมแรงจนสามารถพัดต้นไม้ใหญ่ที่อยู่ริมถนนล้มและหักโค่นจำนวนหลายต้นและเป็นจังหวะเดียวกับที่ผู้ได้รับบาดเจ็บขี่รถจักรยานยนต์​ผ่านมาจึงถูกต้นไม้ล้มทับนอนหมดสติอยู่กลางถนน จึงรีบแจ้งเจ้าหน้าที่​ตำรวจ​ประสานกู้ภัย​เข้าให้การช่วยเหลื​อ


ด้าน นายอำพล สุขแสวง อายุ 68 ปี บอกว่าพายุได้พัดผ่านหน้าบ้านของตนเองก่อนจะพัดย้อนกลับมาทำให้สายไฟแกว่งอย่างแรงก่อนที่เสาไฟฟ้าจะล้มเสียหายเป็นจำนวนมาก โชคดีขณะเกิดเหตุไม่มีใครรถขับผ่านมาจึงไม่มีผู้ใดได้รับ​บาดเจ็บ​หรือเสียชีวิต

Chonburi Sponsored
อำเภอ พนัสนิคม

สมัยเมืองพนัสนิคม ในปี พ.ศ. 2371 กำเนิดเมืองขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้กลุ่มลาวอาสาปากน้ำมาสร้างภูมิลำเนาขึ้นในพื้นที่รกร้างระหว่างเมืองชลบุรีกับเมืองฉะเชิงเทรา พระราชทานนามเมืองว่าพนัสนิคม (บางเอกสารเขียน“พนัศนิคม”) มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ขึ้นกับกรมท่า กรุงเทพมหานคร ให้ท้าวอินทิสาร (บางเอกสารเขียน”อินทพิศาล”) หรือ ท้าวทุม ปลัดลาว เมืองสมุทรปราการ บุตรชายคนโตของท้าวไชย (บางเอกสารเขียน”ศรีวิไชย”) อุปราชเมืองนครพนม ให้เป็นเจ้าเมืองพนัสนิคมคนแรกและพระราชทานราชทินนามและบรรดาศักดิ์ที่พระอินทอาษา (บางเอกสารเขียน“อินทรอาษา, อินทอาสา, อินทราษา“) มีข้อความในพระราชพงศาวดารว่า “พวกลาวอาสาปากน้ำ ตั้งขึ้นเมื่อครั้งในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ภายหลังเมื่อปีชวดสัมฤทธิศก พวกลาวไม่สบาย ขอไปตั้งอยู่ที่เมืองพระรถ จึงโปรดให้ตัดเอาแขวงเมืองชลบุรี เมืองฉะเชิงเทรา มาตั้งเป็นเมืองขึ้นชื่อเมืองพนัศนิคม เจ้าเมืองชื่อพระอินทอาษา” (พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 2 ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับคุรุสภา พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2504 หน้า 180) โดยลาวบุกเบิกเมืองพนัสนิคม เป็นลาวเมืองนครพนม อ้างถึงการอพยพมาสยามครั้งแรกนำโดยท้าวไชย อุปราชเมืองนครพนม เป็นโอรสในพระบรมราชา (ท้าวกู่แก้ว) เจ้าเมืองนครพนม (เมืองนครพนมในอดีต เป็นหัวเมืองในราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ประเทศราชของสยาม) ไม่สมัครใจอยู่ในปกครองของพระบรมราชา (มัง) เจ้าเมืองนครพนมคนใหม่ จึงอพยพพาสมัครพรรคพวก บุตรหลาน ท้าวเพี้ย ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2352 และโปรดเกล้าฯให้ตั้งบ้านเรือนอยู่คลองมหาวงษ์ เมืองสมุทรปราการ ยุคนั้นจึงเรียกคนกลุ่มนี้ว่าพวกลาวอาสาปากน้ำ แต่ทนสภาพแวดล้อมไม่ไหว เพราะเป็นชาวดอนน้ำจืด ถูกให้ไปอยู่เมืองลุ่มน้ำกร่อยและเค็ม เลยขอเปลี่ยนไปอยู่ที่อื่น ซึ่งสภาพใกล้เคียงที่ดอน ลาวนครพนมกลุ่มนี้ได้บุกเบิกสร้างเมืองพนัสนิคม