Chonburi Sponsored

สงกรานต์ชลบุรี 2565 ไหว้พระ-ขอพร เที่ยวที่ไหนดี ที่นี่มีคำตอบ

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล

|

11 เม.ย. 2565 เวลา 17:05 น.2.9k

เที่ยวสงกรานต์ชลบุรี 2565 เปิดไฮไลท์งานก่อพระทรายหาดบางแสน-งานประเพณีกองข้าวที่ศรีราชา-ไปไหว้พระ-ขอพรให้สมหวังในความรักที่ศาลเจ้าแม่สามมุข อ่านรายละเอียดได้ที่นี่

ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ จังหวัดชลบุรี เป็นอีกหนึ่งจังหวัดท่องเที่ยวที่ได้รับความสนใจ มีนักท่องเที่ยวเดินทางไปเป็นประจำทุกปี ฐานเศรษฐกิจ รวบรวมจุดจัดงานประเพณีวันสงกรานต์และแหล่งท่องเที่ยวที่จะจัดขึ้นมาฝากเพื่อใช้ประกอบเป็นสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดชลบุรี 

ศาลเจ้าแม่เขาสามมุข เป็นสถานที่ยอดนิยมของกลุ่มนักท่องเที่ยวสายบุญ สายมู รู้กันก่อนที่นี่ขึ้นชื่อเรื่องการขอพรให้ความรักสมหวังเป็นสถานที่ที่คนในท้องถิ่นนิยมไปกราบไหว้บูชาโดยเฉพาะชาวประมงที่จะนิยมไปเซ่นไหว้ก่อนออกทะเลเพราะเชื่อว่าจะทำให้ปลอดภัยแคล้วคลาด ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ระหว่างวันที่ 13 – 15 เมษายน 2565 นี้นับเป็นโอกาสที่ดีที่จะแวะไปไหว้พระขอพรเจ้าแม่เขาสามมุขกันได้

สวนนงนุช พัทยา อีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจสำหรับครอบครัวซึ่งตลอดเดือนเมษายน 2565 นี้ ซื้อบัตรผ่านประตู 1 ท่าน ได้เข้าฟรีอีก 1 ท่าน ทั้งยังมีโปรโมชั่นพิเศษซื้อบัตรเข้าชมการแสดงช้างแสนรู้ เพียง 50 บาท (เฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เท่านั้น) และวันศุกร์ สำหรับผู้สูงอายุสามารถเข้าชมได้ฟรี  

งานประเพณีก่อพระทรายวันไหลบางแสน

เทศบาลเมืองแสนสุข ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี และจังหวัดชลบุรี กำหนดจัดงานประเพณีก่อพระทรายวันไหลบางแสน ประจำปี พ.ศ.2565 ระหว่างวันที่ 16-17 เมษายน 2565 ณ บริเวณชายหาดบางแสน ตำบลแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี

ไฮไลต์ของงานนี้จะอยู่ที่การประกวดก่อพระทรายวันไหลบางแสนซึ่งจะจัดให้ผู้เข้าประกวดก่อพระทรายบริเวณชายหาดบางแสนซึ่งพระทรายแต่ละซุ้มจะจัดตกแต่งอย่างงดงามอลังการ

นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมที่น่าสนใจอื่น ๆ อีกมากมาย อาทิ การทำบุญตักบาตร สรงน้ำพระพุทธรูป การแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน เช่น สะบ้า ช่วงรำ วิ่งเปี้ยว ชักเย่อ วิ่งผลัดข้าวหลาม รวมถึงการแข่งขันแกะหอยนางรม ซึ่งภายในงานจะมีการจำหน่ายอาหารและสินค้าพื้นเมือง รวมถึงการแสดงดนตรีของเหล่าศิลปิน นักแสดง และนักร้องชื่อดัง

ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมงาน ไม่ว่าจะเป็นร่วมการแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน กิจกรรมก่อพระทรายวันไหลจะต้องผ่านการตรวจคัดกรอง ATK ก่อนร่วมงานทุกคน ขณะที่สำหรับการแสดงดนตรีนั้น จะจำกัดผู้เข้าชม และรักษาระยะห่าง โดยเจ้าหน้าที่จะควบคุมการเข้าชมให้เป็นไปตามมาตรการควบคุมโรคโควิด-19 อย่างเคร่งครัดและการแสดงจะเสร็จสิ้นภายในเวลา 17.00 น.

งานสงกรานต์ศรีมหาราชาและประเพณีกองข้าว

เทศบาลเมืองศรีราชา กำหนดจัดงานสงกรานต์ศรีมหาราชาและประเพณีกองข้าว ประจำปี พ.ศ.2565 ในระหว่างวันที่ 19 – 21 เมษายน 2565 ณ บริเวณสวนสุขภาพเทศบาลเมืองศรีราชา ตำบลศรีราชา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี โดยสามารถร่วมพิธีกรรมกองข้าวบวงสรวงได้ในวันที่ 21 เมษายน 2565

นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมที่น่าสนใจอีกมากมาย อาทิ การแสดงโชว์ “รางวัลชนะเลิศนกเขาชวา” ประกวดการจัดสำรับขนมพื้นบ้านและอาหารพื้นเมือง การแข่งขันหมากรุกไทย การแสดงศิลปวัฒนธรรม “หนังใหญ่วัดบ้านดอน ระยอง” รวมถึงการแสดงศิลปวัฒนธรรมไทยจากสถานศึกษาในสังกัดเทศบาล / การแสดงลำตัด รวมถึงการแสดงของศิลปินลูกทุ่งชื่อดัง เป็นต้น

อย่างไรก็ดี เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 ทางเทศบาลจึงขอความร่วมมือประชาชนให้ปฏิบัติตามมาตรการต่าง ๆ ดังนี้ ห้ามเล่นสาดน้ำและประแป้ง, ห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด, สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาเมื่ออยู่ในบริเวณการจัดงาน

สำหรับการแสดงและกิจกรรมต่างๆ ทางเทศบาลมีการเว้นระยะห่างของที่นั่ง และต้องมีการรักษาระยะห่าง อย่างน้อย 1 – 2 เมตร โดยจะมีเจ้าหน้าที่ควบคุมการเข้าชมให้เป็นไปตามมาตรการควบคุมโรคโควิด-19 อย่างเคร่งครัด 
 

ที่มา : เทศบาลเมืองแสนสุข จังหวัดชลบุรี, ททท.สำนักงานพัทยา  

Chonburi Sponsored
อำเภอ พนัสนิคม

สมัยเมืองพนัสนิคม ในปี พ.ศ. 2371 กำเนิดเมืองขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้กลุ่มลาวอาสาปากน้ำมาสร้างภูมิลำเนาขึ้นในพื้นที่รกร้างระหว่างเมืองชลบุรีกับเมืองฉะเชิงเทรา พระราชทานนามเมืองว่าพนัสนิคม (บางเอกสารเขียน“พนัศนิคม”) มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ขึ้นกับกรมท่า กรุงเทพมหานคร ให้ท้าวอินทิสาร (บางเอกสารเขียน”อินทพิศาล”) หรือ ท้าวทุม ปลัดลาว เมืองสมุทรปราการ บุตรชายคนโตของท้าวไชย (บางเอกสารเขียน”ศรีวิไชย”) อุปราชเมืองนครพนม ให้เป็นเจ้าเมืองพนัสนิคมคนแรกและพระราชทานราชทินนามและบรรดาศักดิ์ที่พระอินทอาษา (บางเอกสารเขียน“อินทรอาษา, อินทอาสา, อินทราษา“) มีข้อความในพระราชพงศาวดารว่า “พวกลาวอาสาปากน้ำ ตั้งขึ้นเมื่อครั้งในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ภายหลังเมื่อปีชวดสัมฤทธิศก พวกลาวไม่สบาย ขอไปตั้งอยู่ที่เมืองพระรถ จึงโปรดให้ตัดเอาแขวงเมืองชลบุรี เมืองฉะเชิงเทรา มาตั้งเป็นเมืองขึ้นชื่อเมืองพนัศนิคม เจ้าเมืองชื่อพระอินทอาษา” (พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 2 ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับคุรุสภา พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2504 หน้า 180) โดยลาวบุกเบิกเมืองพนัสนิคม เป็นลาวเมืองนครพนม อ้างถึงการอพยพมาสยามครั้งแรกนำโดยท้าวไชย อุปราชเมืองนครพนม เป็นโอรสในพระบรมราชา (ท้าวกู่แก้ว) เจ้าเมืองนครพนม (เมืองนครพนมในอดีต เป็นหัวเมืองในราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ประเทศราชของสยาม) ไม่สมัครใจอยู่ในปกครองของพระบรมราชา (มัง) เจ้าเมืองนครพนมคนใหม่ จึงอพยพพาสมัครพรรคพวก บุตรหลาน ท้าวเพี้ย ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2352 และโปรดเกล้าฯให้ตั้งบ้านเรือนอยู่คลองมหาวงษ์ เมืองสมุทรปราการ ยุคนั้นจึงเรียกคนกลุ่มนี้ว่าพวกลาวอาสาปากน้ำ แต่ทนสภาพแวดล้อมไม่ไหว เพราะเป็นชาวดอนน้ำจืด ถูกให้ไปอยู่เมืองลุ่มน้ำกร่อยและเค็ม เลยขอเปลี่ยนไปอยู่ที่อื่น ซึ่งสภาพใกล้เคียงที่ดอน ลาวนครพนมกลุ่มนี้ได้บุกเบิกสร้างเมืองพนัสนิคม