Chonburi Sponsored

“ศิษยานุศิษย์” แห่เจิมมือ-เจิมหน้า แน่นวัดดอนทอง – TOPNEWS

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored
  • เผยแพร่ : 12/06/2022 16:47

ศิษยานุศิษย์ ทั่วสารทิศ เดินทางมาอาบน้ำมนต์ เจิมมือ เจิมหน้า เปิดโชคลาภ กับพระ

วันนี้ (12 มิถุนายน2565) บรรยากาศที่วัดดอนทอง ตำบลวัดโบสถ์ อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี มีชาวบ้าน และศิษยานุศิษย์ จำนวนหลายร้อยคนมานั่งรอคิว โดยถือพานดอกไม้ธูปเทียน เพื่อเตรียมทำพิธีอาบน้ำมนต์ และเจิมมือกับหน้าตามความเชื่อเพื่อปัดเป่าสิ่งไม่ดี และเปิดโชคลาภ / ภายในวัดมีการจัดระเบียบอย่างเคร่งครัด มีตู้พ่นยาฆ่าเชื้อ มีจุดตรวจวัดอุณหภูมิ และมีการจัดให้เว้นระยะห่างตามมาตรการของสาธารณสุข และตามประกาศของจังหวัดชลบุรี เพื่อป้องกันการแพร่ของเชื้อไวรัสโควิด 19

ชาวบ้านที่ร่วมพิธี กล่าวว่า หลังจากที่รู้ว่าทางวัดมีพิธีอาบน้ำมนต์ เพื่อปัดเป่าสิ่งไม่ดี และมีการเจิมมือ เจิมหน้า เปิดโชคลาภ ก็ได้เดินทางมา อาบน้ำมนต์ และเจิมมือ ซึ่งหลังเสร็จพิธีกลับไป รู้สึกชีวิตเปลี่ยนจากเดิม ไปในทางที่ดีขึ้น ทั้งเรื่องการงาน การเงิน ค้าขายก็ดีขึ้น จึงทำให้มีความศรัทธาเพิ่มมากขึ้น หลังจากนั้นได้เดินทางมาอาบน้ำมนต์ และเจิมมือ บ่อยครั้ง รวมทั้งขอโชคลาภกับท้าวเวสสุวรรณโณองค์สีเงิน ที่อยู่ในวัด และกุมารทอ
ง ก็ให้โชคลาภมาโดยตลอด ขณะเดียวกันก็มีการพูดกันปากต่อปาก จนเป็นที่รูจักกันอย่างแพร่หลาย ส่วนค่าครู พิธี เพียง 12 บาท เท่านั้น

พระอาจารย์เฉลิมฤทธิ์ คุเณสโก พระอาจารย์ผู้ทำพิธี บอกว่า การทำพิธีอาบน้ำมนต์เจิมมือ และหน้า ได้จัด
ทำมากว่า 9 ปี แล้ว โดยก่อนหน้านี้อาบน้ำให้ญาติโยม ในพื้นที่แล้วชีวิตดีขึ้น จึงมีการบอกต่อกัน จนเป็นที่รู้จักแพร่หลาย กระทั่งมีลูกศิษย์จากหลายจังหวัดเดินทางมาหาเพื่ออาบน้ำมนต์ และ เจิมมือ โดยปกติจะเปิดเจิมมือในวันอังคาร ถึงวันพฤหัสบดี ส่วนวันศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์ ช่วงเช้าจะเปิด รับบัตรคิวก่อน จากนั้นจะมีการอาบน้ำมนต์ ช่วงบ่าย เมื่อเสร็จจากอาบน้ำมนต์ ก็จะมีการเจิมมือ และเจิมหน้า ในแต่ละวันจะมีประชาชน และลูกศิษย์ ประมาณ 500-600 คน ได้เห็นรอยยิ้มของทุกคนที่มาก็ยินดี

Chonburi Sponsored
อำเภอ พนัสนิคม

สมัยเมืองพนัสนิคม ในปี พ.ศ. 2371 กำเนิดเมืองขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้กลุ่มลาวอาสาปากน้ำมาสร้างภูมิลำเนาขึ้นในพื้นที่รกร้างระหว่างเมืองชลบุรีกับเมืองฉะเชิงเทรา พระราชทานนามเมืองว่าพนัสนิคม (บางเอกสารเขียน“พนัศนิคม”) มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ขึ้นกับกรมท่า กรุงเทพมหานคร ให้ท้าวอินทิสาร (บางเอกสารเขียน”อินทพิศาล”) หรือ ท้าวทุม ปลัดลาว เมืองสมุทรปราการ บุตรชายคนโตของท้าวไชย (บางเอกสารเขียน”ศรีวิไชย”) อุปราชเมืองนครพนม ให้เป็นเจ้าเมืองพนัสนิคมคนแรกและพระราชทานราชทินนามและบรรดาศักดิ์ที่พระอินทอาษา (บางเอกสารเขียน“อินทรอาษา, อินทอาสา, อินทราษา“) มีข้อความในพระราชพงศาวดารว่า “พวกลาวอาสาปากน้ำ ตั้งขึ้นเมื่อครั้งในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ภายหลังเมื่อปีชวดสัมฤทธิศก พวกลาวไม่สบาย ขอไปตั้งอยู่ที่เมืองพระรถ จึงโปรดให้ตัดเอาแขวงเมืองชลบุรี เมืองฉะเชิงเทรา มาตั้งเป็นเมืองขึ้นชื่อเมืองพนัศนิคม เจ้าเมืองชื่อพระอินทอาษา” (พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 2 ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับคุรุสภา พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2504 หน้า 180) โดยลาวบุกเบิกเมืองพนัสนิคม เป็นลาวเมืองนครพนม อ้างถึงการอพยพมาสยามครั้งแรกนำโดยท้าวไชย อุปราชเมืองนครพนม เป็นโอรสในพระบรมราชา (ท้าวกู่แก้ว) เจ้าเมืองนครพนม (เมืองนครพนมในอดีต เป็นหัวเมืองในราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ประเทศราชของสยาม) ไม่สมัครใจอยู่ในปกครองของพระบรมราชา (มัง) เจ้าเมืองนครพนมคนใหม่ จึงอพยพพาสมัครพรรคพวก บุตรหลาน ท้าวเพี้ย ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2352 และโปรดเกล้าฯให้ตั้งบ้านเรือนอยู่คลองมหาวงษ์ เมืองสมุทรปราการ ยุคนั้นจึงเรียกคนกลุ่มนี้ว่าพวกลาวอาสาปากน้ำ แต่ทนสภาพแวดล้อมไม่ไหว เพราะเป็นชาวดอนน้ำจืด ถูกให้ไปอยู่เมืองลุ่มน้ำกร่อยและเค็ม เลยขอเปลี่ยนไปอยู่ที่อื่น ซึ่งสภาพใกล้เคียงที่ดอน ลาวนครพนมกลุ่มนี้ได้บุกเบิกสร้างเมืองพนัสนิคม