Chonburi Sponsored

วัดแทบแตก ลูกศิษย์อาบน้ำมนต์-เจิมมือ ขอเลขเด็ดปู่เสือ-ท้าวเวสสุวรรณหวังมีโชค

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

วัดแทบแตก ลูกศิษย์อาบน้ำมนต์-เจิมมือ ขอเลขเด็ดปู่เสือ-ท้าวเวสสุวรรณสีเงิน หวังมีโชค พบชาวบ้านกว่า 1 พันคนมารอคิวแน่วัดดังชลบุรี

เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 30 ก.ค.65 ผู้สื่อข่าวเดินทางไปยังวัดดอนทอง ต.วัดโบสถ์ อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี หลังทราบว่ามีชาวบ้านและลูกศิษย์จำนวนกว่า 600 คนมารอคิวอาบน้ำมนต์และเจิมมือกับเจิมหน้ากับพระอาจารย์เฉลิมฤทธิ์ คุเณสโก หรือพระอาจารย์เอ้ แห่งวัดดอนทอง ที่ทำการเจิมมืออาบน้ำมนต์มานานกว่า 10 ปี จนชาวบ้านและศิษย์มีการเดินทางมาจากหลายจังหวัด บางคนนำรถมาเจิม เพื่อเป็นศิริมงคล ทั้งนี้ยังเป็นที่ลือกันอย่างหนาหูเรื่องของปู่เสือมงคลและท้าวเวสสุวรรณที่ให้โชคลาภบ่อย จนคนพูดกันปากต่อปาก ทั้งยังแก้บนด้วยหมูสดจำนวนมาก จากที่สมหวังในหลายๆ เรื่อง จึงนำมาแก้บนตามที่ได้ขอไว้

ทั้งนี้ ยังมีการอาบน้ำมนต์ เพื่อปัดเป่าสิ่งไม่ดี เจิมมือเพื่อเปิดโชคลาภวาสนาเจิมหน้าเสริมบารมี ในแต่ละวันจะมีคนมาต่อคิวอาบน้ำมนต์ 400-600 คนและเจิมมือและหน้าประมาณ 500-700 คน แต่ทางวัดจัดระเบียบและมีการคัดกรองทำตามคำสั่งประกาศของทางจังหวัดชลบุรี ถึงเรื่องเว้นระยะห่างทางสังคม และมีตู้พ่นยาฆ่าเชื้อและวัดอุณหภูมิ

ส่วนผู้คนที่มาอาบน้ำมนต์เจิมมือเสร็จก็จะขอโชคลาภกับปู่เสือมงคลและท้าวเวสสุวรรณสีเงินจากการล้วงลูกปิงปองนำโชคและเขย่าติ้ว เพื่อนำเลขเด็ดกลับไปเสี่ยงโชคในงวดประจำวันวันที่ 1 ส.ค.65 นี้ด้วย ซึ่งการอาบน้ำมนต์จะมีเพียงวันศุกร์-เสาร์-อาทิตย์ หลังจากนั้นจะมีการเจิมมือและหน้าจะหยุดทุกวันจันทร์ ส่วนวันอังคารถึงวันพฤหัสบดีจะทำพิธีเจิมมือและหน้าอย่างเดียวและพิธีจะเริ่มตอนเวลา 13.00 น.เป็นต้นไป

Chonburi Sponsored
อำเภอ พนัสนิคม

สมัยเมืองพนัสนิคม ในปี พ.ศ. 2371 กำเนิดเมืองขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้กลุ่มลาวอาสาปากน้ำมาสร้างภูมิลำเนาขึ้นในพื้นที่รกร้างระหว่างเมืองชลบุรีกับเมืองฉะเชิงเทรา พระราชทานนามเมืองว่าพนัสนิคม (บางเอกสารเขียน“พนัศนิคม”) มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ขึ้นกับกรมท่า กรุงเทพมหานคร ให้ท้าวอินทิสาร (บางเอกสารเขียน”อินทพิศาล”) หรือ ท้าวทุม ปลัดลาว เมืองสมุทรปราการ บุตรชายคนโตของท้าวไชย (บางเอกสารเขียน”ศรีวิไชย”) อุปราชเมืองนครพนม ให้เป็นเจ้าเมืองพนัสนิคมคนแรกและพระราชทานราชทินนามและบรรดาศักดิ์ที่พระอินทอาษา (บางเอกสารเขียน“อินทรอาษา, อินทอาสา, อินทราษา“) มีข้อความในพระราชพงศาวดารว่า “พวกลาวอาสาปากน้ำ ตั้งขึ้นเมื่อครั้งในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ภายหลังเมื่อปีชวดสัมฤทธิศก พวกลาวไม่สบาย ขอไปตั้งอยู่ที่เมืองพระรถ จึงโปรดให้ตัดเอาแขวงเมืองชลบุรี เมืองฉะเชิงเทรา มาตั้งเป็นเมืองขึ้นชื่อเมืองพนัศนิคม เจ้าเมืองชื่อพระอินทอาษา” (พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 2 ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับคุรุสภา พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2504 หน้า 180) โดยลาวบุกเบิกเมืองพนัสนิคม เป็นลาวเมืองนครพนม อ้างถึงการอพยพมาสยามครั้งแรกนำโดยท้าวไชย อุปราชเมืองนครพนม เป็นโอรสในพระบรมราชา (ท้าวกู่แก้ว) เจ้าเมืองนครพนม (เมืองนครพนมในอดีต เป็นหัวเมืองในราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ประเทศราชของสยาม) ไม่สมัครใจอยู่ในปกครองของพระบรมราชา (มัง) เจ้าเมืองนครพนมคนใหม่ จึงอพยพพาสมัครพรรคพวก บุตรหลาน ท้าวเพี้ย ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2352 และโปรดเกล้าฯให้ตั้งบ้านเรือนอยู่คลองมหาวงษ์ เมืองสมุทรปราการ ยุคนั้นจึงเรียกคนกลุ่มนี้ว่าพวกลาวอาสาปากน้ำ แต่ทนสภาพแวดล้อมไม่ไหว เพราะเป็นชาวดอนน้ำจืด ถูกให้ไปอยู่เมืองลุ่มน้ำกร่อยและเค็ม เลยขอเปลี่ยนไปอยู่ที่อื่น ซึ่งสภาพใกล้เคียงที่ดอน ลาวนครพนมกลุ่มนี้ได้บุกเบิกสร้างเมืองพนัสนิคม