Chonburi Sponsored

วัดไร่กล้วยจัดพิธีทำบุญครบรอบมรณกาลปีที่ 7 หลวงปู่ทอง (ปัญญาทีโป) 101 ปี สรีระสังขารไม่เน่าเปื่อย

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

เผยแพร่:   ปรับปรุง: โดย: ผู้จัดการออนไลน์


ศูนย์ข่าว​ศรี​ราชา ​- นายกสมาคมส่งเสริมการเลี้ยงไก่แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นประธานในพิธีทำบุญครบรอบมรณกาล ปีที่ 7 หลวงปู่ทอง (ปัญญาทีโป) 101 ปี พร้อมจัดพิธีปิดทองสรีระสังขาร เปลี่ยนจีวร ‘หลวงพ่อทอง’ วัดไร่กล้วย ร่างไม่เน่าเปื่อย

วันนี้ (21 ส.ค.)​ พระครูมธุรสธรรมภาณ เจ้าอาวาสวัดรังษีสุทธาวาส (วัดไร่กล้วย) พร้อมคณะศิษยานุศิษย์พระครูสุทธิคุณรังษี (หลวงพ่อทอง ปญฺญาทีโป) หรือที่ชาวบ้านทั่วไปนิยมเรียกว่า “หลวงพ่อทอง” อดีตเจ้าอาวาสวัดรังษีสุทธาวาส (วัดไร่กล้วย) ได้ร่วมกันจัดงานวันมรณภาพครบ 7 ปี  สิริอายุรวม 101 ปี

พร้อมนำร่างไม่เน่าเปื่อยออกจากโรงแก้ว เพื่อทำความสะอาดและปิดทองทั้งองค์ ก่อนทำการเปลี่ยนจีวรอังสะ สบงให้ใหม่เพื่อนำกลับเข้าบรรจุโลงแก้วไม้สักให้ประชาชนและลูกศิษย์ลูกหาที่เคารพนับถือได้กราบไหว้บูชาที่ศาลาตั้งสรีระสังขาร หลวงปู่ทอง วัดรังษีสุทธาวาส (วัดไร่กล้วย) อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี

โดยมี ดร.ฉวีวรรณ คำพา นายกสมาคมส่งเสริมการเลี้ยงไก่แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และประธานกรรมการบริหาร บริษัทในเครือฉวีวรรณ เป็นประธานในพิธี และมี นายขวัญเลิศ พานิชมาท เขตเลือกตั้งที่ 5 (อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี) นายเอกสิทธิ์ อ่ำฉอ้อน สมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี เขต 1 อำเภอศรีราชา นายไพบูลย์ เสริมศาสต์ นายกสมาคมสื่อมวลชนศรีราชา และบรรดาศิษยานุศิษย์เข้าร่วม


สำหรับพระครูสุทธิคุณรังษี “หลวงปู่ทอง ปญญาทีโป” เกิดเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ.2465 ปีจอ บิดาชื่อ นายสี ก้านบัว มารดาชื่อ นางไผ่ ก้านบัว ท่านเป็นชาวอำเภอพนัสนิคม ต.หนองปรือ อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี มีพี่น้องร่วมบิดามารดาทั้งหมด 7 คน หลวงปู่เป็นบุตรคนที่ 4 ในช่วงชีวิตที่ท่านครองเพศฆราวาสนั้นได้ช่วยบิดามารดาประกอบสัมมาอาชีวะตามประสาสุจริตชนทั่วไป

จากนั้นจึงได้เข้าสมัครรับราชการทหารเป็นเวลากว่า 2 ปี ภายหลังที่ท่านใช้ชีวิตเยี่ยงฆราวาสมาอย่างโชกโชนแล้ว หลวงปู่ท่านจึงคิดจะบวชเพื่อแสวงหาสัจธรรม และตอบแทนพระคุณบุพการี ท่านจึงตัดสินใจเข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุในบวรพุทธศาสนา เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ.2489 ณ พัธสีมา วัดเนินสังข์สกฤษฏาราม ต.วัดหลวง อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี

โดยมีพระอุปัชฌาย์ คือ พระครูเจียม วัดหลวงพรหมาวาส พระกรรมวาจาจารย์ คือพระมหาเที่ยง วัดกลางทุมมาวาส พระอนุสาวนาจารย์ คือพระอธิการเอียง วัดไร่หลักทอง ได้รับฉายาว่า “ปัญญาทีโป” แปลว่า ผู้มีปัญญาดุจแสงสว่างแห่งดวงประทีป

Chonburi Sponsored
อำเภอ พนัสนิคม

สมัยเมืองพนัสนิคม ในปี พ.ศ. 2371 กำเนิดเมืองขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้กลุ่มลาวอาสาปากน้ำมาสร้างภูมิลำเนาขึ้นในพื้นที่รกร้างระหว่างเมืองชลบุรีกับเมืองฉะเชิงเทรา พระราชทานนามเมืองว่าพนัสนิคม (บางเอกสารเขียน“พนัศนิคม”) มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ขึ้นกับกรมท่า กรุงเทพมหานคร ให้ท้าวอินทิสาร (บางเอกสารเขียน”อินทพิศาล”) หรือ ท้าวทุม ปลัดลาว เมืองสมุทรปราการ บุตรชายคนโตของท้าวไชย (บางเอกสารเขียน”ศรีวิไชย”) อุปราชเมืองนครพนม ให้เป็นเจ้าเมืองพนัสนิคมคนแรกและพระราชทานราชทินนามและบรรดาศักดิ์ที่พระอินทอาษา (บางเอกสารเขียน“อินทรอาษา, อินทอาสา, อินทราษา“) มีข้อความในพระราชพงศาวดารว่า “พวกลาวอาสาปากน้ำ ตั้งขึ้นเมื่อครั้งในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ภายหลังเมื่อปีชวดสัมฤทธิศก พวกลาวไม่สบาย ขอไปตั้งอยู่ที่เมืองพระรถ จึงโปรดให้ตัดเอาแขวงเมืองชลบุรี เมืองฉะเชิงเทรา มาตั้งเป็นเมืองขึ้นชื่อเมืองพนัศนิคม เจ้าเมืองชื่อพระอินทอาษา” (พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 2 ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับคุรุสภา พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2504 หน้า 180) โดยลาวบุกเบิกเมืองพนัสนิคม เป็นลาวเมืองนครพนม อ้างถึงการอพยพมาสยามครั้งแรกนำโดยท้าวไชย อุปราชเมืองนครพนม เป็นโอรสในพระบรมราชา (ท้าวกู่แก้ว) เจ้าเมืองนครพนม (เมืองนครพนมในอดีต เป็นหัวเมืองในราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ประเทศราชของสยาม) ไม่สมัครใจอยู่ในปกครองของพระบรมราชา (มัง) เจ้าเมืองนครพนมคนใหม่ จึงอพยพพาสมัครพรรคพวก บุตรหลาน ท้าวเพี้ย ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2352 และโปรดเกล้าฯให้ตั้งบ้านเรือนอยู่คลองมหาวงษ์ เมืองสมุทรปราการ ยุคนั้นจึงเรียกคนกลุ่มนี้ว่าพวกลาวอาสาปากน้ำ แต่ทนสภาพแวดล้อมไม่ไหว เพราะเป็นชาวดอนน้ำจืด ถูกให้ไปอยู่เมืองลุ่มน้ำกร่อยและเค็ม เลยขอเปลี่ยนไปอยู่ที่อื่น ซึ่งสภาพใกล้เคียงที่ดอน ลาวนครพนมกลุ่มนี้ได้บุกเบิกสร้างเมืองพนัสนิคม