Chonburi Sponsored

ศูนย์การเรียนรู้แห่งใหม่ “สตรีทอาร์ต คิงภูมิพล” กองเรือยุทธการ – TOPNEWS

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored
  • เผยแพร่ : 19/11/2022 10:03

สตรีทอาร์ต คิงภูมิพล ณ กองเรือยุทธการ ได้รับความสนใจจากประชาชนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะน้องๆ นักเรียนที่ครูอาจารย์พามาศึกษาหาความรู้ทั้งในด้านศิลปะและประวัติศาสตร์ สร้างจิตสำนึกรักชาติศาสนาและพระมหากษัตริย์

ที่กำแพงอาคารแบดมินตัน ภายในกองเรือยุทธการ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรีสถานที่วาดภาพพระบรมสาทิสลักษณ์ สตรีทอาร์ต คิงภูมิพล ภาพวาดลำดับที่ 5 โดยมูลนิธิยังมีเราสำนักข่าว Top News ร่วมสนับสนุนศิลปิน สตรีทอาร์ต คิงภูมิพล

ประชาชนทุกเพศทุกวัย ข้าราชการกองเรือยุทธการ ต่างเดินทางมาชมศิลปินวาดภาพพระบรมสาทิสลักษณ์อย่างต่อเนื่อง แม้บางช่วงเวลาอากาศจะร้อน บางคนถ่ายรูปคู่กับภาพวาดทั้งภาพวาดบูรพกษัตริย์ไทยในอดีต ภาพหลวงปู่อี๋ เกจิอาจารย์ที่คนสัตหีบเคารพสักการะ เก็บไว้เป็นที่ระลึก ทั้งหมดล้วนภาคภูมิใจและตื้นตันใจที่อำเภอสัตหีบจะมีจุดเช็คอินและสถานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งเกิดขึ้น
และนอกจากการเยี่ยมชมการวาดภาพของศิลปินแล้วยังมีบรรดาน้องๆ นักเรียนจากโรงเรียนในอำเภอสัตหีบ แวะเวียนมาเยี่ยมชมการวาดภาพ ฟังการบรรยายของครูโป๊ป ถึงที่มาที่ไปในการวาดภาพ บูรพกษัตริย์ไทยในอดีต ภาพพระบรมสาทิสลักษณ์ในหลวงรัชกาลปัจจุบันและภาพบุคคลที่พี่น้องชาวสัตหีบและทัพเรือไทยให้ความเคารพและศรัทธาด้วย เรียกได้ว่า กำแพงอาคารลานกีฬาแห่งนี้กำลังจะกลายเป็นฉุดเช็คอินและศูนย์การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ไทยผ่านงานศิลปะ แห่งใหม่ของอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี

น้องๆ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนสัตหีบ เขตกองเรือยุทธการ กลุ่มนี้ ได้มาเยี่ยมชมการวาดภาพของกลุ่มศิลปินทั้ง 5 ท่านซึ่งมีครูโป๊ปให้การบรรยาย ซึ่งน้องๆ นักเรียนต่างภาคภูมิใจที่ได้เกิดมาเป็นลูกหลานชาวสัตหีบ ส่วนพี่ๆ กลุ่มนี้ ใช้ชื่อกลุ่มว่า “สุขนิยม” ที่อยู่ในอำเภอสัตหีบ ที่เดินทางมาเยี่ยมชมการวาดภาพ เป็นแฟนขาว Top News นอกจากมาเยี่ยมชมวาดภาพยังร้องเพลงสดุดีมหาราชา เบื้องหน้าภาพวาดพระบรมสาทิสลักษณ์ ซึ่งในวันพรุ่งนี้(19พ.ย.) กิจกรรมในช่วงเย็นพี่ๆกลุ่มสุขนิยมก็จะนำอาหารมาร่วมเลี้ยงกับผู้ร่วมงานด้วย

Chonburi Sponsored
อำเภอ สัตหีบ

ช่วงประมาณรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 สัตหีบเป็นเพียงหมู่บ้านชายทะเล ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา หาของป่า และประมง การคมนาคมจะใช้ทางน้ำโดยเรือเมล์หรือเรือใบ ส่วนทางบกมีแต่ทางเกวียน ถนนไปชลบุรียังไม่มี ภูมิประเทศส่วนใหญ่ยังเป็นป่ารกทึบ การเดินทางระหว่างเมืองจึงใช้เรือเป็นหลัก ในหมู่บ้านสัตหีบ มีผู้ที่ชาวบ้านนับหน้าถือตามากอยู่คนหนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า "ยายแจง" แกมีฐานะดีมี ที่ดิน เรือ สวน ไร่นามากมาย ตลาดสัตหีบ หนองตะเคียนและโรงเรียนสิงห์สมุทรรวมถึงบริเวณเขาแหลมเทียนอันเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือสัตหีบในปัจจุบันก็เคยเป็นของแก ต่อมา เมื่อกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ทรงฝึกภาคทะเลกับกองเรือและทรงพักที่อ่าวสัตหีบ ทรงเห็นว่าอ่าวสัตหีบเหมาะเป็นที่ตั้งหน่วยเรือ เพราะมีเกาะใหญ่น้อยช่วยกำบังคลื่นลม พระองค์จึงได้บอกถึงพระประสงค์ที่จะใช้บริเวณเขาแหลมเทียนเป็นที่ตั้งหน่วยทหารเรือ ยายแจงก็ยินดีที่จะถวายให้