Chonburi Sponsored

วัดแทบแตกชาวบ้าน แห่ร่วมงานเบิกเนตรท้าวเวสสุวรรณหน้าเทพบุตร 4 เทพจตุมหาราชิกาจตุโลกบาล – TOPNEWS

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored
  • เผยแพร่ : 17/11/2022 09:25

วัดแทบแตกชาวบ้านแห่ร่วมงานเบิกเนตรท้าวเวสสุวรรณหน้าเทพบุตร 4เทพจตุมหาราชิกาจตุโลกบาล และเทพพยาสุริสาท ณ วัดแสนสุข จ.ขลบุรี มีเกจิดังร่วมพิธี ลุ้นเลขปะทัดตรงหวยดังแม่น้ำหนึ่ง

เวลา 10.09 น.วันที่ 16 พ.ย.65 ที่วัดแสนสุข ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี นายสนธยา คุณปลื้ม อดีตรัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรมนายณรงค์ชัย คุณปลื้ม นายกเทศมนตรีเมืองแสนสุข นายวินัย พ้นภัยพาล นายก เทศมนตรีเมืองอ่างศิลา ประธานในพิธีผู้จัดทำสร้างท้าวเวสสุวรรณโดยมีนายภาสกร หอมหวล อดีต สท.เทศบาลเมืองแสนสุขและนางสาวสุภีพันธุ์ หอมหวล สจ.ชลบุรีให้การต้อนรับในพิธีบวงสรวงท้าวเวสสุวรรณและเทพพยาสุริสาท

โดยมีชาวบ้านต่างแห่มาร่วมพิธีและมาขอเลขเด็ดทั้งยังมาลุ้นเลขปะทัดจากการจุดเปิดพิธีเบิกเนตร ซึ่งท้าวเวสสุวรรณโณ วัดแสนสุขได้มีการจัดสร้างไว้ก่อนแล้ว 3 ตนซึ่งครั้งนี้ได้มีการจัดสร้างหน้าเทพบุตรขึ้นมาอีก 1 ตนเป็นท้าวมหาราชิกา เป็น 4 เทพ จตุโลกบาล ซึ่งเป็นเทพผู้ดูแลทั้ง 4 ทิศ โดยมีเกจิดังราวมพิธีหลายรูป หลวงพ่อรวย วัดมาบตาพุด จ.ระยอง หลวงปู่บุญมา สำนักสงฆ์เขาแก้วทอง จ.ปราจีนบุรี หลวงพ่อช้าง วัดจุกเกฌอ จ.ฉะเชิงเทรา พระอาจารย์ขวัญชัย วัดนามะตูม อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี ได้ร่วมพิธีนั่งปรกอธิฐานจิตปลุกเสกในครั้งนี้ ด้วย

จากการจุดประทัดเปิดงานบวงสรวงพิธีงานปลุกเสกชาวบ้านต่างพากันฮือไปดูเลขประทัดซึ่งได้มา แบบทั้ง 3 ตัวคือ 631 และเลข 2 ตัว คือ 75 ปรากฎว่าเลขไปตรงกับหวยดังของแม่น้ำหนึ่งที่ได้ให้ไว้ก่อนหน้านี้คือ 375 , 75 , 35 ,57 ซึ่งทำให้เป็นหวยดังในงวดประจำวันที่ 16 พ.ย.65 นี้อีกด้วย

วิศาล แสงเจริญ ผู้สื่อข่าว ประจำ จ.ชลบุรี

Chonburi Sponsored
อำเภอ พนัสนิคม

สมัยเมืองพนัสนิคม ในปี พ.ศ. 2371 กำเนิดเมืองขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้กลุ่มลาวอาสาปากน้ำมาสร้างภูมิลำเนาขึ้นในพื้นที่รกร้างระหว่างเมืองชลบุรีกับเมืองฉะเชิงเทรา พระราชทานนามเมืองว่าพนัสนิคม (บางเอกสารเขียน“พนัศนิคม”) มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ขึ้นกับกรมท่า กรุงเทพมหานคร ให้ท้าวอินทิสาร (บางเอกสารเขียน”อินทพิศาล”) หรือ ท้าวทุม ปลัดลาว เมืองสมุทรปราการ บุตรชายคนโตของท้าวไชย (บางเอกสารเขียน”ศรีวิไชย”) อุปราชเมืองนครพนม ให้เป็นเจ้าเมืองพนัสนิคมคนแรกและพระราชทานราชทินนามและบรรดาศักดิ์ที่พระอินทอาษา (บางเอกสารเขียน“อินทรอาษา, อินทอาสา, อินทราษา“) มีข้อความในพระราชพงศาวดารว่า “พวกลาวอาสาปากน้ำ ตั้งขึ้นเมื่อครั้งในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ภายหลังเมื่อปีชวดสัมฤทธิศก พวกลาวไม่สบาย ขอไปตั้งอยู่ที่เมืองพระรถ จึงโปรดให้ตัดเอาแขวงเมืองชลบุรี เมืองฉะเชิงเทรา มาตั้งเป็นเมืองขึ้นชื่อเมืองพนัศนิคม เจ้าเมืองชื่อพระอินทอาษา” (พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 2 ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับคุรุสภา พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2504 หน้า 180) โดยลาวบุกเบิกเมืองพนัสนิคม เป็นลาวเมืองนครพนม อ้างถึงการอพยพมาสยามครั้งแรกนำโดยท้าวไชย อุปราชเมืองนครพนม เป็นโอรสในพระบรมราชา (ท้าวกู่แก้ว) เจ้าเมืองนครพนม (เมืองนครพนมในอดีต เป็นหัวเมืองในราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ประเทศราชของสยาม) ไม่สมัครใจอยู่ในปกครองของพระบรมราชา (มัง) เจ้าเมืองนครพนมคนใหม่ จึงอพยพพาสมัครพรรคพวก บุตรหลาน ท้าวเพี้ย ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2352 และโปรดเกล้าฯให้ตั้งบ้านเรือนอยู่คลองมหาวงษ์ เมืองสมุทรปราการ ยุคนั้นจึงเรียกคนกลุ่มนี้ว่าพวกลาวอาสาปากน้ำ แต่ทนสภาพแวดล้อมไม่ไหว เพราะเป็นชาวดอนน้ำจืด ถูกให้ไปอยู่เมืองลุ่มน้ำกร่อยและเค็ม เลยขอเปลี่ยนไปอยู่ที่อื่น ซึ่งสภาพใกล้เคียงที่ดอน ลาวนครพนมกลุ่มนี้ได้บุกเบิกสร้างเมืองพนัสนิคม