Chonburi Sponsored

แน่นวัด ชาวบ้านแห่ร่วม เบิกเนตรท้าวเวสสุวรรณ คอหวยลุ้นเลขประทัด อึ้งตรงเลขดังแม่น้ำหนึ่ง

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

แน่นวัด ชาวบ้านแห่ร่วมงานเบิกเนตรท้าวเวสสุวรรณ รวมเป็น 4 เทพ จตุโลกบาล เกจิดัง ทำพิธีเพียบ คอหวยลุ้นเลขประทัด อึ้งตรงเลขดังแม่น้ำหนึ่ง

เมื่อเวลา 10.09 น. วันที่ 16 พ.ย.65 ที่วัดแสนสุข ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี นายสนธยา คุณปลื้ม อดีต รมว.วัฒนธรรม นายณรงค์ชัย คุณปลื้ม นายกเทศมนตรีเมืองแสนสุข นายวินัย พ้นภัยพาล นายก เทศมนตรีเมืองอ่างศิลา ประธานในพิธีผู้จัดทำสร้างท้าวเวสสุวรรณ โดยมีนายภาสกร หอมหวล อดีต สท.เทศบาลเมืองแสนสุข และ น.ส.สุภีพันธุ์ หอมหวล สจ.ชลบุรีให้การต้อนรับ ในพิธีบวงสรวงท้าวเวสสุวรรณและเทพพยาสุริสาท

โดยมีชาวบ้านต่างแห่มาร่วมพิธีและมาขอเลขเด็ดทั้งยังมาลุ้นเลขปะทัดจากการจุดเปิดพิธีเบิกเนตร ซึ่งท้าวเวสสุวรรณโณ วัดแสนสุข ได้จัดสร้างไว้ก่อนแล้ว 3 ตน ครั้งนี้จัดสร้างหน้าเทพบุตรขึ้นมาอีก 1 ตนเป็นท้าวมหาราชิกา เป็น 4 เทพ จตุโลกบาล ซึ่งเป็นเทพผู้ดูแลทั้ง 4 ทิศ โดยมีเกจิดังราวมพิธีหลายรูป หลวงพ่อรวย วัดมาบตาพุด จ.ระยอง หลวงปู่บุญมา สำนักสงฆ์เขาแก้วทอง จ.ปราจีนบุรี หลวงพ่อช้าง วัดจุกเกฌอ จ.ฉะเชิงเทรา พระอาจารย์ขวัญชัย วัดนามะตูม อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี ร่วมพิธีนั่งปรกอธิฐานจิตปลุกเสกในครั้งนี้ ด้วย

จากการจุดประทัดเปิดงานบวงสรวงพิธีงานปลุกเสกชาวบ้านต่างพากันฮือไปดูเลขประทัดซึ่งได้มา แบบทั้ง 3 ตัวคือ 631 และเลข 2 ตัว คือ 75 ปรากฏว่าเลขไปตรงกับหวยดังของแม่น้ำหนึ่งที่ได้ให้ไว้ก่อนหน้านี้คือ 375 , 75 , 35 ,57 ซึ่งทำให้เป็นหวยดังในงวดประจำวันที่ 16 พ.ย.65 นี้อีกด้วย

Chonburi Sponsored
อำเภอ พนัสนิคม

สมัยเมืองพนัสนิคม ในปี พ.ศ. 2371 กำเนิดเมืองขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้กลุ่มลาวอาสาปากน้ำมาสร้างภูมิลำเนาขึ้นในพื้นที่รกร้างระหว่างเมืองชลบุรีกับเมืองฉะเชิงเทรา พระราชทานนามเมืองว่าพนัสนิคม (บางเอกสารเขียน“พนัศนิคม”) มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ขึ้นกับกรมท่า กรุงเทพมหานคร ให้ท้าวอินทิสาร (บางเอกสารเขียน”อินทพิศาล”) หรือ ท้าวทุม ปลัดลาว เมืองสมุทรปราการ บุตรชายคนโตของท้าวไชย (บางเอกสารเขียน”ศรีวิไชย”) อุปราชเมืองนครพนม ให้เป็นเจ้าเมืองพนัสนิคมคนแรกและพระราชทานราชทินนามและบรรดาศักดิ์ที่พระอินทอาษา (บางเอกสารเขียน“อินทรอาษา, อินทอาสา, อินทราษา“) มีข้อความในพระราชพงศาวดารว่า “พวกลาวอาสาปากน้ำ ตั้งขึ้นเมื่อครั้งในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ภายหลังเมื่อปีชวดสัมฤทธิศก พวกลาวไม่สบาย ขอไปตั้งอยู่ที่เมืองพระรถ จึงโปรดให้ตัดเอาแขวงเมืองชลบุรี เมืองฉะเชิงเทรา มาตั้งเป็นเมืองขึ้นชื่อเมืองพนัศนิคม เจ้าเมืองชื่อพระอินทอาษา” (พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 2 ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับคุรุสภา พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2504 หน้า 180) โดยลาวบุกเบิกเมืองพนัสนิคม เป็นลาวเมืองนครพนม อ้างถึงการอพยพมาสยามครั้งแรกนำโดยท้าวไชย อุปราชเมืองนครพนม เป็นโอรสในพระบรมราชา (ท้าวกู่แก้ว) เจ้าเมืองนครพนม (เมืองนครพนมในอดีต เป็นหัวเมืองในราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ประเทศราชของสยาม) ไม่สมัครใจอยู่ในปกครองของพระบรมราชา (มัง) เจ้าเมืองนครพนมคนใหม่ จึงอพยพพาสมัครพรรคพวก บุตรหลาน ท้าวเพี้ย ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2352 และโปรดเกล้าฯให้ตั้งบ้านเรือนอยู่คลองมหาวงษ์ เมืองสมุทรปราการ ยุคนั้นจึงเรียกคนกลุ่มนี้ว่าพวกลาวอาสาปากน้ำ แต่ทนสภาพแวดล้อมไม่ไหว เพราะเป็นชาวดอนน้ำจืด ถูกให้ไปอยู่เมืองลุ่มน้ำกร่อยและเค็ม เลยขอเปลี่ยนไปอยู่ที่อื่น ซึ่งสภาพใกล้เคียงที่ดอน ลาวนครพนมกลุ่มนี้ได้บุกเบิกสร้างเมืองพนัสนิคม