Chonburi Sponsored

คนร้ายทำทีเป็นลูกค้า ก่อนก่อเหตุชิงทอง ได้ทองคำหนัก 3 บาท จำนวน 1 เส้น หนัก 2 บาท 2 เส้น มูลค่ากว่า 2 แสนบาท

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

2 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ชลบุรี  เมื่อเวลา  10.30  น. ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.พนัสนิคม รับแจ้งว่ามีคนร้ายเข้าไปวิ่งราวทรัพย์ภายในห้าง สาขาพนัสนิคม ที่เกิดเหตุพบพนักงานของร้านยืนด้วยอาการตกใจ และตรวจสอบพบว่า คนร้ายได้เข้ามาก่อเหตุเพียงคนเดียวเป็นผู้ชาย อายุ  30 – 35 ปี สูงประมาณ  165-170 เซนติเมตร สวมเสื้อยืดแขนสั้นสีเทาเข้ม สวมกางเกงยีนส์ ขี่รถจัรยานยนต์ยี่ห้อฮอนด้า เวฟ  สีดำ3 แดง  ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน มาจอดอยู่หน้าห้าง แล้วเดินเข้าไปทำทีขอซื้อสร้อยคอทองคำรูปพรรณกับพนักงานขาย ซึ่งได้เลือกสร้อยอยู่ครู่ใหญ่  เมื่อพนักงานเผลอ คนร้ายก็หยิบสร้อยคอทองคำหนัก 3 บาท จำนวน 1 เส้น หนัก  2 บาท อีก 2 เส้น  หลังจากนั้นก็วิ่งออกจากร้านไปขึ้นรถจักรยานยนต์ และขับหลบหนีเข้าไปทางตลาดพนัสนคม ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้วิทยุสกัดเส้นทางการหลบหนีของคนร้ายทุกจุดที่คาดว่าคนร้ายจะใช้เส้นทางหลบหนีแล้วขณะนี้

พนักงานขายเล่าว่า ก่อนเกิดเหตุคนร้ายมาคนเดี่ยวเข้ามาขอดูสร้อยคอ  2 บาท กับ 3 บาท แล้วก็หยิบให้ดู หลังจากที่ยืนดูอยู่พัก แล้วหยิบทองไปทั้งหมด 7 บาท  แล้วก็วิ่งออกไปทันที จึงเรียกให้คนช่วยแต่ก็ไม่ทัน

เบื้องต้นทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ตรวจสอบรูปพรรณสันฐานของคนร้าย  พร้อมกับส่งรูปไปยังโรงพักใกล้เคียงเพื่อติดตามคนร้ายรายนี้โดยเร็ว

Chonburi Sponsored
อำเภอ พนัสนิคม

สมัยเมืองพนัสนิคม ในปี พ.ศ. 2371 กำเนิดเมืองขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้กลุ่มลาวอาสาปากน้ำมาสร้างภูมิลำเนาขึ้นในพื้นที่รกร้างระหว่างเมืองชลบุรีกับเมืองฉะเชิงเทรา พระราชทานนามเมืองว่าพนัสนิคม (บางเอกสารเขียน“พนัศนิคม”) มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ขึ้นกับกรมท่า กรุงเทพมหานคร ให้ท้าวอินทิสาร (บางเอกสารเขียน”อินทพิศาล”) หรือ ท้าวทุม ปลัดลาว เมืองสมุทรปราการ บุตรชายคนโตของท้าวไชย (บางเอกสารเขียน”ศรีวิไชย”) อุปราชเมืองนครพนม ให้เป็นเจ้าเมืองพนัสนิคมคนแรกและพระราชทานราชทินนามและบรรดาศักดิ์ที่พระอินทอาษา (บางเอกสารเขียน“อินทรอาษา, อินทอาสา, อินทราษา“) มีข้อความในพระราชพงศาวดารว่า “พวกลาวอาสาปากน้ำ ตั้งขึ้นเมื่อครั้งในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ภายหลังเมื่อปีชวดสัมฤทธิศก พวกลาวไม่สบาย ขอไปตั้งอยู่ที่เมืองพระรถ จึงโปรดให้ตัดเอาแขวงเมืองชลบุรี เมืองฉะเชิงเทรา มาตั้งเป็นเมืองขึ้นชื่อเมืองพนัศนิคม เจ้าเมืองชื่อพระอินทอาษา” (พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 2 ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับคุรุสภา พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2504 หน้า 180) โดยลาวบุกเบิกเมืองพนัสนิคม เป็นลาวเมืองนครพนม อ้างถึงการอพยพมาสยามครั้งแรกนำโดยท้าวไชย อุปราชเมืองนครพนม เป็นโอรสในพระบรมราชา (ท้าวกู่แก้ว) เจ้าเมืองนครพนม (เมืองนครพนมในอดีต เป็นหัวเมืองในราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ประเทศราชของสยาม) ไม่สมัครใจอยู่ในปกครองของพระบรมราชา (มัง) เจ้าเมืองนครพนมคนใหม่ จึงอพยพพาสมัครพรรคพวก บุตรหลาน ท้าวเพี้ย ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2352 และโปรดเกล้าฯให้ตั้งบ้านเรือนอยู่คลองมหาวงษ์ เมืองสมุทรปราการ ยุคนั้นจึงเรียกคนกลุ่มนี้ว่าพวกลาวอาสาปากน้ำ แต่ทนสภาพแวดล้อมไม่ไหว เพราะเป็นชาวดอนน้ำจืด ถูกให้ไปอยู่เมืองลุ่มน้ำกร่อยและเค็ม เลยขอเปลี่ยนไปอยู่ที่อื่น ซึ่งสภาพใกล้เคียงที่ดอน ลาวนครพนมกลุ่มนี้ได้บุกเบิกสร้างเมืองพนัสนิคม