Chonburi Sponsored

บรรยากาศ ลอยกระทงฉะเชิงเทราคึกคัก คาดเงินสะพัดวันเดียวกว่าร้อยล้าน – TOPNEWS

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored
  • เผยแพร่ : 09/11/2022 12:12

บรรยากาศ ลอยกระทงฉะเชิงเทราคึกคัก คาดเงินสะพัดวันเดียวกว่าร้อยล้าน ประชาชนขอพรสุขภาพดี ราคาข้าว และเศรษฐกิจดี

หลายหน่วยงานในจังหวัดฉะเชิงเทรา จัดให้มีประเพณีลอยกระทง เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา ได้ตกแต่งถนนมรุพงษ์ ชายน้ำ ด้วยไฟระยิบระยับ มีการแสดงของเยาวชน บนเวที สร้างความสนุกสนานคึกครื้นให้กับผู้ปกครอง และนักท่องเที่ยว นายขจรเกียรติ รักพานิชมณี ผวจ.ฉะเชิงเทรา พร้อมด้วย นายกลยุทธ ฉายแสง นายกเทศมนตรีเมืองฉะเชิงเทรา ได้เดินทักทาย บรรดาพ่อค้าแม่ค้า ที่นำอาหารมาจำหน่าย โดยทางเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา ได้ขอความร่วมมือจำหน่ายอาหารในราคาที่เป็นธรรม ร่วมเป็นเจ้าบ้านที่ดีไม่เอารัดเอาเปรียบนักท่องเที่ยว

ที่วัดสมานรัตนาราม เป็นแลนด์มาร์คสำคัญของจังหวัดฉะเชิงเทรา คลาคล่ำไปด้วย ประชาชนและนักท่องเที่ยว โดยทางวัดได้สร้างสีสันด้วยการจัดกระทงยักษ์ สีชมพูสด เด่นตระหง่านริมแม่น้ำบางปะกง นายจุทิศ พุ่มพวง จากพนัสนิคม ชลบุรี เดินทางมาลอยกระทงที่วัดสมานรัตนาราม บอกว่า ลอยกระทงปีนี้อธิษฐานขอให้ครอบครัวสุขภาพดี เศรษฐกิจดี ราคาข้าวดีขึ้น เพราะครอบครัวเป็นชาวนา

ที่วัดไชยภูมิธาราม หรือวัดท่าอิฐ ต.บางพระ อ.เมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา นอกจากจัดงานประเพณีลอยกระทงแล้ว ยังส่งเสริมการท่องเที่ยวทางน้ำ มีบริการเรือนำเที่ยวจากวัดท่าอิฐ ไปวัดโสธรวราราม วรวิหาร และยังมีตลาด 3 อิ่ม ตลาดชุมชน ริมแม่น้ำบางปะกง ที่มีสินค้าชุมชน และอาหารมาจำหน่ายทุกวันเสาร์ อาทิตย์ อีกด้วย เป็นที่น่าสังเกตว่า งานลอยกระทงปีนี้ กระทงที่นำมาจำหน่าย ส่วนใหญ่ทำมาจากวัสดุธรรมชาติที่สามารถย่อยสลายง่าย และกระทงที่ทำมาจากอาหารปลาสีสันสดใส วันลอยกระทงปีนี้นอกจากสร้างรอยยิ้มและความสุขให้ประชาชนแล้ว วันนี้วันเดียวจังหวัดฉะเชิงเทรามีเงินสะพัดไม่ต่ำกว่าร้อยล้านบาท

บุญเสริม ตันวัฒนะ , สราวุฒิ บุญสร้าง ผู้สื่อข่าว ประจำ จ.ฉะเชิงเทรา

Chonburi Sponsored
อำเภอ พนัสนิคม

สมัยเมืองพนัสนิคม ในปี พ.ศ. 2371 กำเนิดเมืองขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้กลุ่มลาวอาสาปากน้ำมาสร้างภูมิลำเนาขึ้นในพื้นที่รกร้างระหว่างเมืองชลบุรีกับเมืองฉะเชิงเทรา พระราชทานนามเมืองว่าพนัสนิคม (บางเอกสารเขียน“พนัศนิคม”) มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ขึ้นกับกรมท่า กรุงเทพมหานคร ให้ท้าวอินทิสาร (บางเอกสารเขียน”อินทพิศาล”) หรือ ท้าวทุม ปลัดลาว เมืองสมุทรปราการ บุตรชายคนโตของท้าวไชย (บางเอกสารเขียน”ศรีวิไชย”) อุปราชเมืองนครพนม ให้เป็นเจ้าเมืองพนัสนิคมคนแรกและพระราชทานราชทินนามและบรรดาศักดิ์ที่พระอินทอาษา (บางเอกสารเขียน“อินทรอาษา, อินทอาสา, อินทราษา“) มีข้อความในพระราชพงศาวดารว่า “พวกลาวอาสาปากน้ำ ตั้งขึ้นเมื่อครั้งในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ภายหลังเมื่อปีชวดสัมฤทธิศก พวกลาวไม่สบาย ขอไปตั้งอยู่ที่เมืองพระรถ จึงโปรดให้ตัดเอาแขวงเมืองชลบุรี เมืองฉะเชิงเทรา มาตั้งเป็นเมืองขึ้นชื่อเมืองพนัศนิคม เจ้าเมืองชื่อพระอินทอาษา” (พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 2 ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับคุรุสภา พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2504 หน้า 180) โดยลาวบุกเบิกเมืองพนัสนิคม เป็นลาวเมืองนครพนม อ้างถึงการอพยพมาสยามครั้งแรกนำโดยท้าวไชย อุปราชเมืองนครพนม เป็นโอรสในพระบรมราชา (ท้าวกู่แก้ว) เจ้าเมืองนครพนม (เมืองนครพนมในอดีต เป็นหัวเมืองในราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ประเทศราชของสยาม) ไม่สมัครใจอยู่ในปกครองของพระบรมราชา (มัง) เจ้าเมืองนครพนมคนใหม่ จึงอพยพพาสมัครพรรคพวก บุตรหลาน ท้าวเพี้ย ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2352 และโปรดเกล้าฯให้ตั้งบ้านเรือนอยู่คลองมหาวงษ์ เมืองสมุทรปราการ ยุคนั้นจึงเรียกคนกลุ่มนี้ว่าพวกลาวอาสาปากน้ำ แต่ทนสภาพแวดล้อมไม่ไหว เพราะเป็นชาวดอนน้ำจืด ถูกให้ไปอยู่เมืองลุ่มน้ำกร่อยและเค็ม เลยขอเปลี่ยนไปอยู่ที่อื่น ซึ่งสภาพใกล้เคียงที่ดอน ลาวนครพนมกลุ่มนี้ได้บุกเบิกสร้างเมืองพนัสนิคม