Chonburi Sponsored

ฮือฮา! พบ “หญ้าทะเลน้ำลึก” ที่หมู่เกาะแสมสารครั้งแรก

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored


ทช.เผย สำรวจพบ “หญ้าทะเลน้ำลึก” บริเวณหมู่เกาะแสมสาร จ.ชลบุรี เป็นครั้งแรก ถือเป็นฐานข้อมูลใหม่ของ ทช.

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) รายงานว่า สืบเนื่องจากได้รับการแจ้งข่าวจากเครือข่ายนักดำน้ำ ว่าพบหญ้าทะเลน้ำลึกบริเวณหมู่เกาะแสมสาร วันที่ 7-9 พฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนบนฝั่งตะวันออก (ศวบอ.) ได้ร่วมกับนักดำน้ำอาสาสมัคร ศูนย์กิจกรรมวิทยาศาสตร์ทางทะเลและการอนุรักษ์ และพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเกาะและทะเลไทยแสมสาร จึงลงพื้นที่ดำน้ำสำรวจหญ้าทะเลบริเวณแนวน้ำลึกดังกล่าว


จากการดำน้ำสำรวจพื้นที่ประมาณ 10 ไร่ พบการปกคลุมหญ้าทะเลชนิดหญ้าเงาใส (Halophila decipiens) หนาแน่นแตกต่างกันระหว่างพื้นที่ ดังนี้ 5% บริเวณหาดโบราณ (เกาะจวง) 10-15% บริเวณอ่าวไข่ และหาดหน้าบ้านทหาร เกาะจาน โดยพบที่ระดับความลึก 12-20 เมตร ทั้งนี้พบว่ามีสาหร่ายสีน้ำตาล (Dictyota sp.) ปกคลุมทั่วบริเวณที่พบหญ้าทะเล

โดยพื้นที่หญ้าทะเลที่สำรวจพบในครั้งนี้ เป็นการรายงานการพบครั้งแรกและเป็นฐานข้อมูลใหม่ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง


สำหรับหญ้าทะเล เป็นหนึ่งในทรัพยากรที่มีความสำคัญมากในระบบนิเวศ เนื่องจากเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารอันอุดมสมบูรณ์ของสัตว์ทะเลและสัตว์น้ำ เศรษฐกิจต่าง ๆ

นอกจากนี้หญ้าทะเลยังเป็นอาหารสำคัญของพะยูนและเต่าทะเล เป็นแหล่งวางไข่ แหล่งอนุบาลตัวอ่อน และที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเลต่าง ๆ รวมถึงเป็นแหล่งอาหาร และแหล่งทำมาหากินที่สำคัญของชุมชนชายฝั่งทะเลอีกด้วย


ในท้องทะเลไทยปัจจุบันมีรายงานการ สำรวจพบหญ้าทะเล 12 ชนิดพันธุ์ จากประมาณ 58 ชนิดพันธุ์ที่พบทั่วโลก

สำหรับหมู่เกาะแสมสาร เป็นหมู่เกาะที่อยู่นอกสุดของอ่าวไทยตอนบน ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ประกอบด้วยเกาะต่าง ๆ รวม 9 เกาะ ได้แก่ เกาะแสมสาร เกาะแรด เกาะฉางเกลือ เกาะโรงโขน เกาะโรงหนัง เกาะจวง เกาะจาน เกาะขาม และเกาะปลาหมึก


Chonburi Sponsored
อำเภอ สัตหีบ

ช่วงประมาณรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 สัตหีบเป็นเพียงหมู่บ้านชายทะเล ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา หาของป่า และประมง การคมนาคมจะใช้ทางน้ำโดยเรือเมล์หรือเรือใบ ส่วนทางบกมีแต่ทางเกวียน ถนนไปชลบุรียังไม่มี ภูมิประเทศส่วนใหญ่ยังเป็นป่ารกทึบ การเดินทางระหว่างเมืองจึงใช้เรือเป็นหลัก ในหมู่บ้านสัตหีบ มีผู้ที่ชาวบ้านนับหน้าถือตามากอยู่คนหนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า "ยายแจง" แกมีฐานะดีมี ที่ดิน เรือ สวน ไร่นามากมาย ตลาดสัตหีบ หนองตะเคียนและโรงเรียนสิงห์สมุทรรวมถึงบริเวณเขาแหลมเทียนอันเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือสัตหีบในปัจจุบันก็เคยเป็นของแก ต่อมา เมื่อกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ทรงฝึกภาคทะเลกับกองเรือและทรงพักที่อ่าวสัตหีบ ทรงเห็นว่าอ่าวสัตหีบเหมาะเป็นที่ตั้งหน่วยเรือ เพราะมีเกาะใหญ่น้อยช่วยกำบังคลื่นลม พระองค์จึงได้บอกถึงพระประสงค์ที่จะใช้บริเวณเขาแหลมเทียนเป็นที่ตั้งหน่วยทหารเรือ ยายแจงก็ยินดีที่จะถวายให้