Chonburi Sponsored

มหา กฐิน เฮงดี หูฉลาม เยาวราช นำกัลยาณมิตร ทำบุญใหญ่ วัดนากระรอก ชลบุรี ร่วม 2 ล้าน ทำนุบำรุงพุทธศาสนา – TOPNEWS

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

วันที่ 6 พ.ย. ที่ศาลาการเปรียญ วัดนากระรอก ต.ทุ่งขวาง อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี ได้มีพิธีถวายผ้ากฐินและทอดผ้าป่าสามัคคี ประจำปี 2565 โดยมีคุณแม่ละมูล เกโส คุณเอมอร จินดาธนาวัฒน์ เจ้าของร้านเฮงดี หูฉลาม เยาวราช เป็นเจ้าภาพทอดกฐินสามัคคีมหากุศล พร้อมบุญอย่างคับคั่ง

โดยมี พระปลัด ดร.มิ่งขวัญ ฐิตสีโลเจ้าอาวาส วัดนากระรอก เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ นำคณะพระภิกษุสงฆ์-สามเณร เจริญพระพุทธมนต์ โดยบรรยากาศการแห่องค์กฐินสามัคคี เวียนรอบอุโบสถวัดนากระรอกจำนวน 3 รอบ จากนั้นเป็นพิธีถวายผ้ากฐิน ผ้าไตรจีวร ของบริวารผ้ากฐิน แด่พระสงฆ์

นอกจากนี้ ทางเจ้าภาพ และทางวัด ได้นำผลิตผลทางการเกษตร อาทิ ฟักทอง แตงโม น้อยหน่า กล้วยหอม มะพร้าว มะเขือเทศ แจกจ่ายให้กับผู้ที่มาร่วมงานบุญได้นำกลับไปรับประทาน เพื่อความเป็นศิริมงคล สำหรับยอดกฐินสามัคคี ประจำปี 2565 ของวัดนากระรอก ปีนี้ 1,689,689.25 บาท

สำหรับมหากฐิน แต่ละปีมีกำหนดระยะเวลาเพียง 1 เดือน คือตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 (วันเพ็ญเดือน 12) ปี 2565 การทอดกฐินเริ่มตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม 2565 – 8 พฤศจิกายน 2565 (ตรงกับวันลอยกระทง )

ปัจจุบันการถวายผ้ากฐิน จะให้ความสำคัญกับบริวารของกฐินทานแทน เช่น เงิน หรือวัตถุสิ่งของ เพื่อนำสิ่งเหล่านี้มาพัฒนาถาวรวัตถุและทำนุบำรุงพุทธศาสนา ซึ่งจัดเป็นสังฆทานรูปแบบหนึ่ง

สมชาย จรรยา ผู้สื่อข่าว

Chonburi Sponsored
อำเภอ พนัสนิคม

สมัยเมืองพนัสนิคม ในปี พ.ศ. 2371 กำเนิดเมืองขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้กลุ่มลาวอาสาปากน้ำมาสร้างภูมิลำเนาขึ้นในพื้นที่รกร้างระหว่างเมืองชลบุรีกับเมืองฉะเชิงเทรา พระราชทานนามเมืองว่าพนัสนิคม (บางเอกสารเขียน“พนัศนิคม”) มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ขึ้นกับกรมท่า กรุงเทพมหานคร ให้ท้าวอินทิสาร (บางเอกสารเขียน”อินทพิศาล”) หรือ ท้าวทุม ปลัดลาว เมืองสมุทรปราการ บุตรชายคนโตของท้าวไชย (บางเอกสารเขียน”ศรีวิไชย”) อุปราชเมืองนครพนม ให้เป็นเจ้าเมืองพนัสนิคมคนแรกและพระราชทานราชทินนามและบรรดาศักดิ์ที่พระอินทอาษา (บางเอกสารเขียน“อินทรอาษา, อินทอาสา, อินทราษา“) มีข้อความในพระราชพงศาวดารว่า “พวกลาวอาสาปากน้ำ ตั้งขึ้นเมื่อครั้งในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ภายหลังเมื่อปีชวดสัมฤทธิศก พวกลาวไม่สบาย ขอไปตั้งอยู่ที่เมืองพระรถ จึงโปรดให้ตัดเอาแขวงเมืองชลบุรี เมืองฉะเชิงเทรา มาตั้งเป็นเมืองขึ้นชื่อเมืองพนัศนิคม เจ้าเมืองชื่อพระอินทอาษา” (พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 2 ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับคุรุสภา พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2504 หน้า 180) โดยลาวบุกเบิกเมืองพนัสนิคม เป็นลาวเมืองนครพนม อ้างถึงการอพยพมาสยามครั้งแรกนำโดยท้าวไชย อุปราชเมืองนครพนม เป็นโอรสในพระบรมราชา (ท้าวกู่แก้ว) เจ้าเมืองนครพนม (เมืองนครพนมในอดีต เป็นหัวเมืองในราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ประเทศราชของสยาม) ไม่สมัครใจอยู่ในปกครองของพระบรมราชา (มัง) เจ้าเมืองนครพนมคนใหม่ จึงอพยพพาสมัครพรรคพวก บุตรหลาน ท้าวเพี้ย ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2352 และโปรดเกล้าฯให้ตั้งบ้านเรือนอยู่คลองมหาวงษ์ เมืองสมุทรปราการ ยุคนั้นจึงเรียกคนกลุ่มนี้ว่าพวกลาวอาสาปากน้ำ แต่ทนสภาพแวดล้อมไม่ไหว เพราะเป็นชาวดอนน้ำจืด ถูกให้ไปอยู่เมืองลุ่มน้ำกร่อยและเค็ม เลยขอเปลี่ยนไปอยู่ที่อื่น ซึ่งสภาพใกล้เคียงที่ดอน ลาวนครพนมกลุ่มนี้ได้บุกเบิกสร้างเมืองพนัสนิคม