Chonburi Sponsored

“รองโฆษกรบ.” ชวนเยาวชนร่วมเป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปค ทำกิจกรรมเรียนรู้สาน “ชะลอม”สัญลักษณ์งาน

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored
สยามรัฐออนไลน์ 4 พฤศจิกายน 2565 20:49 น. การเมือง

รองโฆษกรบ.” ชวนเยาวชนคนรุ่นใหม่ร่วมเป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปค2022 ทำกิจกรรมเรียนรู้สาน “ชะลอม”สัญลักษณ์เอเปค ที่ศูนย์ส่งเสริมฝีมือจักสานด้วยไม้ไผ่ ภายใต้การขับเคลื่อนเศรษฐกิจBCG
 
วันที่ 4 พ.ย.65 น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ได้จัดกิจกรรมส่งเสริมเยาวชนไทยเป็นเจ้าบ้านที่ดี APEC 2022 เพื่อให้น้องๆยาวชนได้ตระหนัก เข้าใจ มีส่วนร่วมและภาคภูมิใจ ในโอกาสสำคัญที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพงานประชุมผู้นำความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิค (APEC 2022) โดยได้นำเยาวชนเครือข่ายพัฒนาเยาวชนแห่งกรุงเทพมหานคร ไปทำกิจกรรมที่ศูนย์ส่งเสริมฝีมือจักสานด้วยไม้ไผ่ ซึ่งเป็นศูนย์จักสานใหญ่ที่สุดในโลก ในตำบลพนัสนิคม อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี ได้ เรียนรู้และฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับงานจักสานชะลอม ที่เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านนำวัตถุดิบในท้องถิ่นมาจัดทำเป็นอุปกรณ์ใส่สิ่งของ และมีบทบาทสำคัญในการการค้าของไทย ซึ่งเป็นตราสัญลักษณ์ของการประชุมเอเปค โดยกิจกรรมดังกล่าว เป็นการส่งเสริมการรับรู้และเข้าใจถึง ตราสัญลักษณ์ APEC กับกลุ่มเยาวชน  ที่สะท้อนถึงความเป็นไทยและตัวตนของเอเปค

ทั้งนี้ เนื่องจาก “ชะลอม” สื่อถึงหัวข้อหลักของการประชุมเอเปคในปี 2565 คือ OPEN: ชะลอมมีลักษณะปลายเปิดไว้ใช้ใส่สิ่งของต่าง ๆ จึงเสมือนว่าเป็นการสื่อการค้าลงทุนที่เปิดกว้าง CONNECT: เพราะชะลอมมีไว้ใส่สิ่งของเพื่อขนส่ง จึงเปรียบได้กับความเชื่อมโยงระหว่างกันในภูมิภาค และBALANCE: ชะลอมทำจากวัสดุธรรมชาติ จึงถือว่าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสอดคล้องกับรูปแบบเศรษฐกิจ BCG ที่เป็นวาระสำคัญของไทยและกำลังผลักดันในเวทีเอเปค 2565 นี้ด้วย

น.ส.ทิพานัน กล่าวว่า ที่สำคัญคือ “ไผ่” เป็นพืชสารพัดประโยชน์ใช้ได้ทุกส่วน ตั้งแต่เหง้า กอ หน่อ ใบ กาบ เมล็ด กิ่ง แขนง และลำต้น ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค อยู่ในอุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งก่อสร้างที่อยู่อาศัย เฟอร์นิเจอร์ อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์  เยื่อกระดาษ กระทั่ง ยาและ เวชสำอาง สามารรถนำมาขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG ได้อย่างดี

“ถือเป็นจุดเริ่มต้น สร้างการรับรู้ให้กับน้องๆเยาวชน ที่จะเป็นกำลังสำคัญในการช่วยสร้างการรับรู้ และความเข้าใจอันดีต่อการประชุมเอเปค 2022 จากเพื่อนถึงเพื่อนเยาวชนด้วยกัน ไปสู่สถาบันครอบครัว และชุมชน เพื่อช่วยกันสร้างภาพลักษณ์ที่ดีและความประทับใจให้กับผู้มาเยือน อันจะส่งผลดีในการสร้างโอกาสให้กับประชาชนและประเทศชาติในหลายมิติ” รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ระบุ

Chonburi Sponsored
อำเภอ พนัสนิคม

สมัยเมืองพนัสนิคม ในปี พ.ศ. 2371 กำเนิดเมืองขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้กลุ่มลาวอาสาปากน้ำมาสร้างภูมิลำเนาขึ้นในพื้นที่รกร้างระหว่างเมืองชลบุรีกับเมืองฉะเชิงเทรา พระราชทานนามเมืองว่าพนัสนิคม (บางเอกสารเขียน“พนัศนิคม”) มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ขึ้นกับกรมท่า กรุงเทพมหานคร ให้ท้าวอินทิสาร (บางเอกสารเขียน”อินทพิศาล”) หรือ ท้าวทุม ปลัดลาว เมืองสมุทรปราการ บุตรชายคนโตของท้าวไชย (บางเอกสารเขียน”ศรีวิไชย”) อุปราชเมืองนครพนม ให้เป็นเจ้าเมืองพนัสนิคมคนแรกและพระราชทานราชทินนามและบรรดาศักดิ์ที่พระอินทอาษา (บางเอกสารเขียน“อินทรอาษา, อินทอาสา, อินทราษา“) มีข้อความในพระราชพงศาวดารว่า “พวกลาวอาสาปากน้ำ ตั้งขึ้นเมื่อครั้งในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ภายหลังเมื่อปีชวดสัมฤทธิศก พวกลาวไม่สบาย ขอไปตั้งอยู่ที่เมืองพระรถ จึงโปรดให้ตัดเอาแขวงเมืองชลบุรี เมืองฉะเชิงเทรา มาตั้งเป็นเมืองขึ้นชื่อเมืองพนัศนิคม เจ้าเมืองชื่อพระอินทอาษา” (พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 2 ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับคุรุสภา พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2504 หน้า 180) โดยลาวบุกเบิกเมืองพนัสนิคม เป็นลาวเมืองนครพนม อ้างถึงการอพยพมาสยามครั้งแรกนำโดยท้าวไชย อุปราชเมืองนครพนม เป็นโอรสในพระบรมราชา (ท้าวกู่แก้ว) เจ้าเมืองนครพนม (เมืองนครพนมในอดีต เป็นหัวเมืองในราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ประเทศราชของสยาม) ไม่สมัครใจอยู่ในปกครองของพระบรมราชา (มัง) เจ้าเมืองนครพนมคนใหม่ จึงอพยพพาสมัครพรรคพวก บุตรหลาน ท้าวเพี้ย ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2352 และโปรดเกล้าฯให้ตั้งบ้านเรือนอยู่คลองมหาวงษ์ เมืองสมุทรปราการ ยุคนั้นจึงเรียกคนกลุ่มนี้ว่าพวกลาวอาสาปากน้ำ แต่ทนสภาพแวดล้อมไม่ไหว เพราะเป็นชาวดอนน้ำจืด ถูกให้ไปอยู่เมืองลุ่มน้ำกร่อยและเค็ม เลยขอเปลี่ยนไปอยู่ที่อื่น ซึ่งสภาพใกล้เคียงที่ดอน ลาวนครพนมกลุ่มนี้ได้บุกเบิกสร้างเมืองพนัสนิคม