Chonburi Sponsored

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

วันอังคารที่ 01 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

นสพ.สยามธุรกิจ เดินหน้าสู่ปีที่ 29 เปิดโครงการเพื่อสังคม “เกษตร BCG วิถีใหม่ คืนลมหายใจให้แผ่นดิน” จับมือ อบต.แสมสาร ส่งเสริมการทำประมงด้วยความใส่ใจสิ่งแวดล้อม อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ดิน น้ำ ป่าให้อุดมสมบูรณ์ ตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG

นายจตุรงค์ กอบแก้ว บรรณาธิการบริหาร นสพ.สยามธุรกิจ กล่าวว่า ในโอกาสก้าวสู่ปีที่ 29  นสพ.สยามธุรกิจ ซึ่งเป็นสื่อที่นำเสนอข่าวด้านเศรษฐกิจและการเกษตรมาอย่างต่อเนื่อง ด้วยหวังให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อเศรษฐกิจระดับฐานราก สนับสนุนการทำเกษตรปลอดภัย สร้างความตระหนักในการยกระดับวิถีชีวิตที่ต้องเปลี่ยนแปลง มีทัศนคติใหม่ในการดำเนินชีวิตด้วยความใส่ใจสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ประชาชนทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนประเทศมุ่งสู่หมุดมาย “เน็ต ซีโร่” อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดิน น้ำ ป่าให้อุดมสมบูรณ์ ตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG (Bio-Circular-Green Economic Model)

“โครงการ ‘เกษตร BCG วิถีใหม่ คืนลมหายใจให้แผ่นดิน’ ต้องการสื่อถึงความเป็นเกษตรยุคใหม่ เป็นผู้นำรุ่นใหม่ในด้านการเกษตรของชุมชน ร่วมกันสร้างการรับรู้และส่งเสริมเรื่องการผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัย ตรงตามความต้องการของตลาดผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ ช่วยทำให้สิ่งแวดล้อมโดยรวมดีขึ้น ส่งเสริมให้ผู้คนได้มีสุขภาพที่ดี รวมถึงช่วยสนับสนุนตลาดการท่องเที่ยวชุมชนในเชิงวิถีการเกษตร” นายจตุรงค์ กล่าว

สำหรับการจับมือกับ องค์การบริหารส่วนตำบลแสมสาร เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม สนับสนุนการใช้พลังงานทดแทน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์  พลังงานลม ซึ่งเป็นพลังงานธรรมชาติ ตั้งเป้าเป็นตำบลปลอดมลพิษ ตามนโยบายซีโร่คาร์บอนของรัฐบาล เป็นแหล่งอาหารทะเลสำคัญของประเทศ สร้างความตระหนักในการทำประมงสะอาดและปอดภัย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจ BCG

“ภาคการประมงของไทยมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ การผลิตสินค้าประมงที่ปลอดภัยและได้มาตรฐาน จะสร้างความภาคภูมิใจและความมั่นคงในการประกอบอาชีพประมงยุคใหม่ให้กับเกษตรกรชาวประมงของไทย”

ด้าน นายอัครเศรษฐ์ รักษ์สกุลสงสัย รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลแสมสาร เล่าถึงแนวทางการพัฒนา  “แสมสาร” ว่า ในอดีตชาวแสมสารดำรงชีวิตด้วยการทำประมงเป็นหลัก แต่เนื่องจากโลเกชั่นที่ถูกโอบล้อมด้วยทะเล บรรยากาศเงียบสงบ วิถีชีวิตเปี่ยมล้นด้วยมนต์เสน่ห์ ทำให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมทั้งจากชาวไทยชาวและต่างชาติ ซึ่ง อบต.แสมสาร ตั้งเป้าพัฒนาพลังงานทดแทน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์  พลังงานลม นำพลังงานธรรมชาติมาชดเชยพลังานฟอสซิล ซึ่งนอกจากจะทำให้ชาวบ้านมีไฟฟ้าใช้อย่างเพียงพอแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่อีกด้วย นำไปสู่การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ หรือ เวลเนส เป็นกรีนเอนเนอร์จี ท่องเที่ยวแบบรักสุขภาพด้วย รักโลกด้วย

“ปัจจุบันชาวแสมสารมีทัศนคติเปลี่ยนไป จากเดิมสมัยก่อนเน้นการทำประมงเป็นหลัก ก็สนใจแต่เรื่องจับกุ้ง หอย ปู ปลา ไม่สนใจสภาพแวดล้อม เพราะคิดว่าจับปลาขายอย่างเดียว ไม่ได้ขายภาพลักษณ์ กระทั่งสังคมเปลี่ยน เริ่มมีการท่องเที่ยว สะพานปลามีโฮมสเตย์ ถ้าไม่สะอาดก็ไม่มีลูกค้า เขาจึงเริ่มรักพื้นที่ของตัวเอง คอยดูแลไม่ให้ใครมาทำสกปรก จากจุดเล็กๆขยายกลายเป็นทำทั้งตำบล เป็นการปรับตัวรับบริบทโลกที่เปลี่ยนแปลง เพื่อก้าวไปสู่เป้าหมายตำบลเน็ตซีโร่” รองนายก อบต.แสมสาร กล่าว

รองนายก อบต.แสมสาร กล่าวอีกว่า มีความยินดีที่จะได้ร่วมทำกิจกรรมดีๆกับ นสพ.สยามธุรกิจ ซึ่งเรามีกลุ่มประมง กลุ่มสตรี ผู้นำชุมชน ที่ต้องการองค์ความรู้ด้านเกษตรกรรมที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ ซึ่งนอกจากต้องการผลิตที่มีคุณภาพปลอดภัยแล้ว ยังต้องการสนับสนุนสินค้าที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย โดยงานดังกล่าวจะจัดขึ้นในวันอังคารที่ 22 พ.ย.2565 ณ อบต.แสมสาร อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี

Chonburi Sponsored
อำเภอ สัตหีบ

ช่วงประมาณรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 สัตหีบเป็นเพียงหมู่บ้านชายทะเล ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา หาของป่า และประมง การคมนาคมจะใช้ทางน้ำโดยเรือเมล์หรือเรือใบ ส่วนทางบกมีแต่ทางเกวียน ถนนไปชลบุรียังไม่มี ภูมิประเทศส่วนใหญ่ยังเป็นป่ารกทึบ การเดินทางระหว่างเมืองจึงใช้เรือเป็นหลัก ในหมู่บ้านสัตหีบ มีผู้ที่ชาวบ้านนับหน้าถือตามากอยู่คนหนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า "ยายแจง" แกมีฐานะดีมี ที่ดิน เรือ สวน ไร่นามากมาย ตลาดสัตหีบ หนองตะเคียนและโรงเรียนสิงห์สมุทรรวมถึงบริเวณเขาแหลมเทียนอันเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือสัตหีบในปัจจุบันก็เคยเป็นของแก ต่อมา เมื่อกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ทรงฝึกภาคทะเลกับกองเรือและทรงพักที่อ่าวสัตหีบ ทรงเห็นว่าอ่าวสัตหีบเหมาะเป็นที่ตั้งหน่วยเรือ เพราะมีเกาะใหญ่น้อยช่วยกำบังคลื่นลม พระองค์จึงได้บอกถึงพระประสงค์ที่จะใช้บริเวณเขาแหลมเทียนเป็นที่ตั้งหน่วยทหารเรือ ยายแจงก็ยินดีที่จะถวายให้