Chonburi Sponsored

ในหลวงโปรดเกล้าฯ พระราชทานผ้าพระกฐิน ณ วัดนาจอมเทียน

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

เผยแพร่:   ปรับปรุง: โดย: ผู้จัดการออนไลน์


ศูนย์ข่าวศรีราชา – “ฉวีวรรณกรุ๊ป” ร่วมกับ ผู้ว่าฯชลบุรี และข้าราชการ พร้อมด้วยชาวบ้าน นาจอมเทียน จ.ชลบุรี จัดพิธีทอดถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน

วันนี้ (1 พ.ย.) ดร.ฉวีวรรณ คำพา นายกสมาคมส่งเสริมการเลี้ยงไก่แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมถ์ และประธานกรรมการบริหาร บริษัทในเครือฉวีวรรณ กรุ๊ป พร้อมด้วยนายธวัชชัย สีทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี นางสาวฐิติลักษณ์ คำพา รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ข้าราชการ พนักงานในเครือฉวีวรรณกรุ๊ป และ ชาวบ้านนาจอมเทียน อ.สัตหีบ จังหวัดชลบุรี จัดพิธีทอดถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานผ้าพระกฐินให้ นายมนัส เสือเปลี่ยว รองอธิบดีกรมมหาดเล็ก ๙๐๔ (1) และ ดร.ฉวีวรรณ คำพา เพื่ออัญเชิญขึ้นทอดถวายแด่พระสงฆ์ที่จำพรรษา ณ วัดนาจอมเทียน ตำบลนาจอมเทียน อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี โดยมียอดกฐินทั้งสิ้นประมาณ เกือบ 2 ล้านบาท

ดร. ฉวีวรรณ เผยว่า บริษัทในเครือฉวีวรรณกรุ๊ป และสมาคมส่งเสริมการเลี้ยงไก่ฯ รู้สึกสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ยังความปลาบปลื้มปีติมาสู่พสกนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่า ซึ่งการอัญเชิญผ้าพระกฐินพระราชทานไปทอดถวายพระสงฆ์ ณ ที่ชุมนุมสงฆ์ต่างๆ ก็เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

“ในการอัญเชิญองค์พระกฐินพระราชทานมาทอดถวาย ณ.วัดนาจอมเทียน ได้รับความสนใจจากประชาชนเข้าร่วมงานบุญใหญ่เป็นจำนวนมาก เพราะองค์กฐินที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถือเป็นสิ่งมงคล ที่ทำให้ประชาชนที่เข้าร่วมงานเกิดความปลื้มปีติ ซึ่งในแต่ละปี ฉวีวรรณกรุ๊ป จะร่วมถวายปัจจัยไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาทต่อที่ชุมนุมสงฆ์หนึ่งแห่ง นอกนั้นก็จะเป็นการร่วมอนุโมทนาบุญของประชาชนในพื้นที่ อีกด้วย ” นางฉวีวรรณ กล่าว

Chonburi Sponsored
อำเภอ สัตหีบ

ช่วงประมาณรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 สัตหีบเป็นเพียงหมู่บ้านชายทะเล ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา หาของป่า และประมง การคมนาคมจะใช้ทางน้ำโดยเรือเมล์หรือเรือใบ ส่วนทางบกมีแต่ทางเกวียน ถนนไปชลบุรียังไม่มี ภูมิประเทศส่วนใหญ่ยังเป็นป่ารกทึบ การเดินทางระหว่างเมืองจึงใช้เรือเป็นหลัก ในหมู่บ้านสัตหีบ มีผู้ที่ชาวบ้านนับหน้าถือตามากอยู่คนหนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า "ยายแจง" แกมีฐานะดีมี ที่ดิน เรือ สวน ไร่นามากมาย ตลาดสัตหีบ หนองตะเคียนและโรงเรียนสิงห์สมุทรรวมถึงบริเวณเขาแหลมเทียนอันเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือสัตหีบในปัจจุบันก็เคยเป็นของแก ต่อมา เมื่อกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ทรงฝึกภาคทะเลกับกองเรือและทรงพักที่อ่าวสัตหีบ ทรงเห็นว่าอ่าวสัตหีบเหมาะเป็นที่ตั้งหน่วยเรือ เพราะมีเกาะใหญ่น้อยช่วยกำบังคลื่นลม พระองค์จึงได้บอกถึงพระประสงค์ที่จะใช้บริเวณเขาแหลมเทียนเป็นที่ตั้งหน่วยทหารเรือ ยายแจงก็ยินดีที่จะถวายให้