Chonburi Sponsored

ปัญหาสะพานลอย กับความไร้อำนาจในการจัดการพื้นที่เมืองและชนบท

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

คุณสามารถอ่านได้อีก

5

บทความ

Summary
  • ปัญหาของการสร้างสะพานลอยในเมือง หากสร้างโดยเอกชนก็เป็นการออกแบบเพื่อดึงดูดให้คนเข้าไปยังพื้นที่การค้า หรือหากเป็นแบบมาตรฐานของรัฐ ก็มักวางพาดทับเส้นทางสัญจรผู้คน เบียดทางเท้า มีสายไฟทะลุขึ้นมา จนเริ่มมีการถกเถียงว่า สะพานลอยยังมีความจำเป็นหรือไม่สำหรับเมือง
  • จำนวนสะพานลอยในกรุงเทพฯ มีจำนวน 915 แห่ง อยู่ในความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานคร 723 แห่ง และกรมทางหลวง 192 แห่ง
  • สังคมไทยยังให้ความสำคัญกับการเดินเท้าน้อยเกินไป การเดินทางจากจุดหนึ่งไปจุดหนึ่งถูกกำหนดด้วยวิธีคิดไม่กี่แบบ และออกมาจากส่วนกลางที่รู้จักรถยนต์ รถบรรทุก มากกว่าการเดินทางของชาวบ้าน

Author

ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์

พลเมืองนอกกรุงเทพฯ ผู้สนใจและกระหายรู้ในประเด็นประวัติศาสตร์สังคม space เมือง และการกระจายอำนาจ

Follow

RELATED

+

Chonburi Sponsored
อำเภอ สัตหีบ

ช่วงประมาณรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 สัตหีบเป็นเพียงหมู่บ้านชายทะเล ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา หาของป่า และประมง การคมนาคมจะใช้ทางน้ำโดยเรือเมล์หรือเรือใบ ส่วนทางบกมีแต่ทางเกวียน ถนนไปชลบุรียังไม่มี ภูมิประเทศส่วนใหญ่ยังเป็นป่ารกทึบ การเดินทางระหว่างเมืองจึงใช้เรือเป็นหลัก ในหมู่บ้านสัตหีบ มีผู้ที่ชาวบ้านนับหน้าถือตามากอยู่คนหนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า "ยายแจง" แกมีฐานะดีมี ที่ดิน เรือ สวน ไร่นามากมาย ตลาดสัตหีบ หนองตะเคียนและโรงเรียนสิงห์สมุทรรวมถึงบริเวณเขาแหลมเทียนอันเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือสัตหีบในปัจจุบันก็เคยเป็นของแก ต่อมา เมื่อกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ทรงฝึกภาคทะเลกับกองเรือและทรงพักที่อ่าวสัตหีบ ทรงเห็นว่าอ่าวสัตหีบเหมาะเป็นที่ตั้งหน่วยเรือ เพราะมีเกาะใหญ่น้อยช่วยกำบังคลื่นลม พระองค์จึงได้บอกถึงพระประสงค์ที่จะใช้บริเวณเขาแหลมเทียนเป็นที่ตั้งหน่วยทหารเรือ ยายแจงก็ยินดีที่จะถวายให้