Chonburi Sponsored

'วิทยา' ปธ.ชลบุรี พา 'วรวุฒิ' กราบขอขมาศพผู้เสียชีวิต

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

ประธานสโมสรชลบุรี เอฟซี “วิทยา คุณปลื้ม” เดินทางเยียวยาช่วยเหลือญาติผู้เสียชีวิตตลอดจนช่วยเหลือการจัดพิธีศพ เดินทางประสานงานรักษา-เข้าเยี่ยมผู้ประสบเหตุที่มีอาการสาหัส และนำคณะนักเตะ-ทีมงานสโมสรแสดงความไว้อาลัยแก่ผู้เสียชีวิตในพิธีศพที่วัดเนินตามาก อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี

ตั้งแต่ช่วงเย็นวันเกิดเหตุ พุธที่ 26 ตุลาคม ประธานสโมสรชลบุรี เอฟซี ได้เดินทางด้วยตนเองเพื่อรับผิดชอบเยียวยาช่วยเหลือญาติผู้เสียชีวิตทันทีที่เสร็จสิ้นภารกิจราชการส่วนตัว “ทางผมและสโมสรชลบุรี เอฟซี พร้อมที่จะแสดงความรับผิดชอบเยียวยาต่อครอบครัวผู้เสียชีวิต คุณกัญญา พงษ์หัสส์บรรณ โดยในเบื้องต้นผมได้ช่วยค่าทำศพจำนวน 100,000 บาท และจะเข้าไปดูแลค่าใช้จ่ายเบื้องต้นของผู้ได้รับบาดเจ็บ สำหรับผู้เสียชีวิตนั้นผมได้มีความสนิทสนมกับครอบครัวนี้มานานจึงมีความเสียใจเป็นอย่างมากที่เกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น”

และในช่วงบ่ายวันที่ 27 ตุลาคม 2565 วิทยา คุณปลื้ม ประธานสโมสร และอรรณพ สิงห์โตทอง รองประธานสโมสร ได้มีการเดินทางประสานงานรักษา-เข้าเยี่ยม นายพงษ์ มาลาสุวรรณ ที่ประสบอุบัติเหตุจากเหตุการณ์เมาแล้วขับของอดีตนักฟุตบอล สโมสรชลบุรี เอฟซี มีอาการสาหัส ซึ่งอาการตอนนี้หลังทำการรักษาพ้นขีดอันตรายแล้ว

“ผมได้คุยกับคุณหมอผู้รักษาให้ช่วยดูแลรักษาให้ดีที่สุด โดยทางผมและสโมสรจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรักษา และในเบื้องต้นผมได้มอบค่าใช้จ่ายระหว่างการรักษา จำนวน 50,000 บาท ไม่รวมค่ารักษาพยาบาล เพื่อให้ญาติไว้เป็นค่าใช้จ่ายในระหว่างช่วงการรักษา” ซึ่ง คุณวิทยา คุณปลื้ม ยืนยันจะดูแล คุณพงษ์ ผู้ได้รับบาดเจ็บให้มีผลการรักษา และฟื้นฟูสภาพร่างกายกลับมาให้ได้ดีที่สุด

สุดท้ายในช่วงค่ำวันนี้ คุณวิทยา คุณปลื้ม และคุณอรรณพ สิงห์โตทอง ทั้ง 2 ท่านพร้อม ตัวแทนทีมงานนักเตะ-สต๊าฟโค้ช สโมสรชลบุรี เอฟซี ได้เดินทางเพื่อร่วมแสดงความไว้อาลัย พร้อมกับได้ประสานขออนุญาตกับครอบครัวผู้ประสบอุบัติเหตุ เพื่อให้นาย วรวุฒิ สุขุนา ที่มีความตั้งใจเข้าขอขมาต่อ กัญญา พงษ์หัสส์บรรณ ผู้เสียชีวิต และครอบครัวผู้ประสบอุบัติเหตุ ในพิธีศพที่วัดเนินตามาก ต.โคกเพลาะ อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี

โดยในวันพรุ่งนี้ ศุกร์ที่ 28 ต.ค. 2565 สโมสรชลบุรี เอฟซี และทีมงานนักเตะทุกคน หลังเสร็จสิ้นการฝึกซ้อมจะมีการเดินทางเข้ามาไว้อาลัยในพิธีศพอีกครั้ง

และในพิธีฌาปนกิจ วันเสาร์ที่ 29 ต.ค 2565 นาย วรวุฒิ สุขุนา จะเข้าพิธีบรรพชาสามเณร(บวชหน้าไฟ) เพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้กับ กัญญา พงษ์หัสส์บรรณ ผู้เสียชีวิต ก่อนจะมีการส่งตัวเข้าสู่กระบวนการและขั้นตอนทางกฎหมายต่อไป ตามแถลงการณ์สโมสรเพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมกับเหตุการณ์อันน่าสลดใจที่เกิดขึ้น

ซึ่งหลังจากวันนี้ไป วิทยา คุณปลื้ม จะยังคงติดตามและคอยประสานงานช่วยเหลือจนเสร็จสิ้นพิธีฌาปนกิจ และเยียวยาสภาพจิตใจครอบครัวผู้เสียชีวิตเพื่อแสดงความรับผิดชอบให้ดีที่สุดทั้งในฐานะประธานและตัวแทนสโมสรชลบุรี เอฟซี

Chonburi Sponsored
อำเภอ พนัสนิคม

สมัยเมืองพนัสนิคม ในปี พ.ศ. 2371 กำเนิดเมืองขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้กลุ่มลาวอาสาปากน้ำมาสร้างภูมิลำเนาขึ้นในพื้นที่รกร้างระหว่างเมืองชลบุรีกับเมืองฉะเชิงเทรา พระราชทานนามเมืองว่าพนัสนิคม (บางเอกสารเขียน“พนัศนิคม”) มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ขึ้นกับกรมท่า กรุงเทพมหานคร ให้ท้าวอินทิสาร (บางเอกสารเขียน”อินทพิศาล”) หรือ ท้าวทุม ปลัดลาว เมืองสมุทรปราการ บุตรชายคนโตของท้าวไชย (บางเอกสารเขียน”ศรีวิไชย”) อุปราชเมืองนครพนม ให้เป็นเจ้าเมืองพนัสนิคมคนแรกและพระราชทานราชทินนามและบรรดาศักดิ์ที่พระอินทอาษา (บางเอกสารเขียน“อินทรอาษา, อินทอาสา, อินทราษา“) มีข้อความในพระราชพงศาวดารว่า “พวกลาวอาสาปากน้ำ ตั้งขึ้นเมื่อครั้งในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ภายหลังเมื่อปีชวดสัมฤทธิศก พวกลาวไม่สบาย ขอไปตั้งอยู่ที่เมืองพระรถ จึงโปรดให้ตัดเอาแขวงเมืองชลบุรี เมืองฉะเชิงเทรา มาตั้งเป็นเมืองขึ้นชื่อเมืองพนัศนิคม เจ้าเมืองชื่อพระอินทอาษา” (พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 2 ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับคุรุสภา พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2504 หน้า 180) โดยลาวบุกเบิกเมืองพนัสนิคม เป็นลาวเมืองนครพนม อ้างถึงการอพยพมาสยามครั้งแรกนำโดยท้าวไชย อุปราชเมืองนครพนม เป็นโอรสในพระบรมราชา (ท้าวกู่แก้ว) เจ้าเมืองนครพนม (เมืองนครพนมในอดีต เป็นหัวเมืองในราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ประเทศราชของสยาม) ไม่สมัครใจอยู่ในปกครองของพระบรมราชา (มัง) เจ้าเมืองนครพนมคนใหม่ จึงอพยพพาสมัครพรรคพวก บุตรหลาน ท้าวเพี้ย ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2352 และโปรดเกล้าฯให้ตั้งบ้านเรือนอยู่คลองมหาวงษ์ เมืองสมุทรปราการ ยุคนั้นจึงเรียกคนกลุ่มนี้ว่าพวกลาวอาสาปากน้ำ แต่ทนสภาพแวดล้อมไม่ไหว เพราะเป็นชาวดอนน้ำจืด ถูกให้ไปอยู่เมืองลุ่มน้ำกร่อยและเค็ม เลยขอเปลี่ยนไปอยู่ที่อื่น ซึ่งสภาพใกล้เคียงที่ดอน ลาวนครพนมกลุ่มนี้ได้บุกเบิกสร้างเมืองพนัสนิคม