20 กว่าปี ไม่ขึ้นราคา ขนมปัง 1 บาท ขายในตลาดนัด 3 ชั่วโมง 2,000 ชิ้น

20 กว่าปี ไม่ขึ้นราคา ขนมปัง 1 บาท ขายในตลาดนัด 3 ชั่วโมง 2,000 ชิ้น 

ในยุคค่าครองชีพสูง สินค้าหลายอย่างปรับขึ้นราคาตามต้นทุน แต่ถึงอย่างนั้น ยังมีร้านที่ยึดมั่นขายราคาเดิมมาตั้งแต่ปี 2544 นั่นคือ ร้านขนมปังหนึ่งบาท จากรุ่นพ่อแม่ ปัจจุบันได้ลูกสาวคนเก่งของบ้าน มารับช่วงต่อ นำขนมออกขายตามตลาดนัดแทนคุณแม่วันละ 2,000 ชิ้น และทำการตลาดออนไลน์ จนได้ออร์เดอร์รับเหมาเพิ่ม ราวๆ 4,000 ชิ้นต่อวัน

© Matichon Public Co.,Ltd.

คุณถุงถิง-สิริฤทัย กิมทอง อายุ 24 เล่าให้ เส้นทางเศรษฐีออนไลน์ ฟังว่า พ่อและแม่ของเธอ เปิดร้านขายขนมปังตั้งแต่เธอยังไม่เกิด ขายราคาชิ้นละ 5 บาท แต่ขายไม่ค่อยดี เพราะถือว่าราคาสูงมากในสมัยนั้น คุณแม่จึงเสนอไอเดียปรับราคาลงเหลือชิ้นละ 1 บาท ตั้งแต่ปี 2544 ถึงปัจจุบันยังขายราคาเดิม

© Matichon Public Co.,Ltd.

ส่วนเธอเอง เมื่อเรียนจบจากมหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯ ก็กลับจังหวัดชลบุรีมาช่วยงานพ่อแม่ทันที “เราเรียนจบด้านสาธารณสุข มศว. มาค่ะ ไม่ได้สมัครงานที่ไหนเพราะตรงกับช่วงโควิดหนักๆ พอดี จึงกลับมาช่วยพ่อแม่ขายขนมปังตามตลาดนัด และทำการตลาดโซเชียลค่ะ” คุณถุงถิง เล่า 

ก่อนบอกต่อถึงกระบวนการทำ พ่อกับแม่ ยังเป็นสองกำลังหลักในการผลิตขนมปัง ส่วนเธอเองช่วยใส่ไส้ขนม “เปิดเตาประมาณตี 5 ผลิตขนมปังวันละ 2,000 ชิ้น เพื่อนำไปตั้งร้านและเริ่มขายประมาณ บ่าย 3 โมง มีขนมหลายอย่างเลยค่ะ ไม่ว่าจะเป็น โดนัทชุบหน้าช็อกโกแลต โดนัทชุบหน้าสตรอว์เบอร์รี่ ขนมปังไส้แยมต่างๆ ขนมปังเนยสด เบอร์เกอร์จิ๋ว ฯลฯ ขายชิ้นละ 1 บาท และพิซซ่าสามเหลี่ยมชิ้นละ 10 บาท ขนาดกำลังพอดีคำ ไม่เล็กจนน่าเกลียดค่ะ” เจ้าของร้าน บอกย้ำ

© Matichon Public Co.,Ltd.

และกล่าวเสริมว่า แม้จะขายราคาถูก แต่ไม่เคยลดคุณภาพ เพราะวัตถุดิบที่นำมาใช้ ดีเทียบเท่าร้านทั่วไป แม้ต้นทุนจะสูง กำไรลดลง 60:40 ก็ยังยืนหยัด ขายราคาเดิม

“เราขายมานานตั้งแต่ลูกค้าตัวเล็กๆ จนเรียนจบ มีลูกเข้าโรงเรียนแล้ว เขายังมาอุดหนุน มันกลายเป็นครอบครัวกันไปแล้วค่ะ ถึงเราเป็นแม่ค้าในอีกมุมเราก็เป็นลูกค้า เวลาไปซื้อวัตถุดิบมาทำ ราคาสูงเรายังรู้สึกไม่โอเค

© Matichon Public Co.,Ltd.

อีกทั้ง กลุ่มลูกค้าเรามีกำลังทรัพย์ไม่มาก เป็นเด็กน้อย กำเงิน 5 บาท มาซื้อหลังเลิกเรียนก็ได้กินหลายรสชาติแล้ว ผู้ปกครองก็สบายใจที่จะซื้อ และครอบครัวเราไม่มีภาระ ลูกเรียนจบแล้ว บ้าน รถ ไม่ต้องผ่อน อยู่ชนบทค่าครองชีพไม่สูงเท่าเมืองใหญ่ ขายได้เท่าไหร่ก็เก็บ เน้นขายปริมาณเยอะๆ เลยยังไหวอยู่ค่ะ มีลูกค้าประจำมาอุดหนุนกันทุกวัน”

© Matichon Public Co.,Ltd.

คุณถุงถิง เล่าต่อว่า “ทุกวันนี้เป็นลูกจ้างแม่ค่ะ ได้วันละ 200-300 บาท แล้วแต่วัน ตระเวนไปหลายตลาดนัด วันจันทร์ ตลาดนัดห้าแยก, วันอังคาร ขายหน้าร้านอยู่ตรงข้าม CJ หัวถนน, วันพุธ ตลาดนัดคลองถมเกาะโพธิ์, วันพฤหัสบดี ตลาดนัดวัดหัวถนน, วันศุกร์ ตลาดนัดหน้าอำเภอแปรงยาว, วันเสาร์ ขายหน้าร้านอยู่ตรงข้าม CJ หัวถนน และวันอาทิตย์ ตลาดนัดวัดหัวถนน เริ่มขายตั้งแต่บ่าย 3 โมง หมดราว 6 โมงเย็นถึง 1 ทุ่ม

© Matichon Public Co.,Ltd.

ส่วนถ้ามีออร์เดอร์เหมาไปเลี้ยงแขก เลี้ยงเด็ก หรืองานกฐิน ช่วงนี้คนสั่งไปงานกฐินเยอะมาก รวมๆ วันละ 4,000 ชิ้น จะได้ค่านายหน้าร้อยละ 10 แม่ก็ให้เรา เพราะช่วยทำการตลาดออนไลน์ ถ่ายคลิป ทำคอนเทนต์ลง TikTok มีคลิปหนึ่งเป็นไวรัล ยอดวิวหลักล้านแล้วค่ะ ทำให้มีลูกค้านอก ออร์เดอร์เข้ามา ทุกวันนี้เราพยายามเสิร์ฟคอนเทนต์ อาทิตย์ละ 2 ครั้ง ถ้าหมดมุกจริงๆ ก็นำคำถามลูกค้ามาตอบข้อสงสัย” คุณถุงถิง แชร์ให้ฟัง 

© Matichon Public Co.,Ltd.

และทิ้งท้ายด้วยเทคนิคขายดีของเธอ คือการบริการที่ดี “พูดจาไพเราะ คุยอย่างเป็นกันเอง ถามไถ่ ให้รู้สึกเหมือนคุยกับเพื่อน พี่น้อง เขาจะกลับมาซื้อซ้ำแน่นอนค่ะ ส่วนเราเองก็มีความสุขค่ะ ได้พูดคุยกับลูกค้า ได้บริการ และเป็นนายตัวเอง”

ติดตามได้ที่เพจ ขนมปังหนึ่งบาท

© Matichon Public Co.,Ltd.

Microsoft และคู่ค้าอาจได้รับค่าคอมมิชชันหากคุณซื้อบางสิ่งผ่านลิงก์ที่แนะนำในบทความนี้

อำเภอ เกาะจันทร์

อำเภอ เกาะจันทร์

พ.ศ. 2371 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้กลุ่มชาวลาวอาสาปากน้ำ บุกเบิกสร้างเมืองพนัสนิคม เป็นเมืองชั้นจัตวา สังกัดกรมท่า โดยบริเวณท่าบุญมี เป็นท่าน้ำและท่าเกวียน ขนส่งสินค้าป่าสู่เมืองพนัสนิคม ตั้งอยู่อยู่ในอาณาเขตเมืองพนัสนิคม พ.ศ. 2441 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีการปฏิรูปการปกครองประเทศและจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาล ให้เมืองพนัสนิคมเป็นอำเภอพนัสนิคม ยกฐานะเป็นตำบลท่าบุญมี ในอดีตมีสภาพเป็นป่าอุดมสมบูรณ์ ปรากฏหลักฐานบันทึกชื่อดงในตำบลท่าบุญมี เช่น ดงดอกไม้ ดงรากไม้ เป็นต้น โดยอาจมีต้นจันทน์มาก จึงเรียกว่า "เกาะจันทร์"

ข่าว ที่เกี่ยวข้อง

Recommended

Welcome Back!

Login to your account below

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.