Chonburi Sponsored

ชลบุรี ฝนตกกระหน่ำ ทำคลองส่งน้ำพัง น้ำทะลักท่วมบ้านเรือน ปชช.

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored
สยามรัฐออนไลน์ 30 กันยายน 2565 09:17 น. ภูมิภาค

   เมื่อเวลา 18.00 น.วันที่ 29 ก.ย.65 ตามที่ฝนตกอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงเย็นวันที่ 28 กันยายน 2565 ตลอดทั้งคืนถึงรุ่งเช้า ส่งผลให้ชาวบ้าน หมู่ 7 ตำบลหมอนนาง หมู่ 1 ตำบลนาเริก อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี จำนวนหลายสิบหลังคาเรือนได้รับผลกระทบ จากพายุโนรู ปริมาณน้ำฝนที่ไหลมาตามคลองส่งน้ำ ที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง มีปริมาณมากส่งผลทำให้คลองส่งน้ำคอนกรีตที่สร้างยังไม่แล้วเสร็จพังน้ำเอ่อล้นเข้าท่วม ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อน ร้องขอให้ช่วยขนย้ายข้าวของออกจากบ้านที่จมน้ำในระดับที่ลึก 1.30 – 1.50 เมตร นำเอาทรัพย์สินที่มีค้าขึ้นหนีน้ำมาหลบฝนที่เต๊นท์ชั่งคราว นอกจากนี้ยังมีผู้ป่วยติดเตียงที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ทางเจ้าหน้ากู้ภัย ทหาร ตำรวจ และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นยังให้การช่วยเหลือเตรียมน้ำดื่ม ข้าวของเครื่องใช้เครื่องอุปโภคบริโภคแจกจ่ายเพื่อบรรเทาความร้อนชองประชาชนในเบื้องต้น 
 

 ทางด้าน นายอนุรัตน์ จักรเจริญพรชัย รองนายกเทศมนตรีตำบลหมอนนาง เปิดเผยว่าในเบื้องต้นทางเทศบาลตำบลหมอนนาง ได้เข้าช่วยเหลือโดยการนำเต๊นท์มาเตรียมไว้เป็นที่พักให้ชาวบ้านได้พักอาศัย ขนย้ายทรัพย์สินมีค่าที่บ้านเรือนถูกน้ำเอ่อล้นเข้าท่วมมาไว้ในที่ปลอดภัยก่อน ในส่วนของทางเทศบาลหมอนนางเองได้จัดส่งฝ่ายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเข้าช่วยเหลือ สำรวจความเสียหายทั้งหมดว่ามีอะไรบ้าง เพื่อหาทางช่วยเหลือประชาชนจำนวน30 ชีวิต กว่า 10 ครัวเรือน มีการจัดเตรียมอาหารปรุงสุก เพื่อแจกจ่ายอันเนื่องจากพื้นที่น้ำท่วมได้มีการตัดไฟทำให้เกิดความลำบากในการหุงหาอาหาร  และได้รับการช่วยเหลือจากทหารจาก กองบัญชาการช่วยรบที่ 1 เกาะจันทร์ เจ้าหน้าที่ตำรวจ กู้ภัยสว่างเหตุทุ่งเหียง และทางฝ่ายปกครองอำเภอพนัสนิคม  ส่วนสาเหตุนั้นเกิดจากคลองส่งน้ำพัง ได้แจ้งประสานไปยังกรมชลประทานที่รับผิดชอบดูแลคลองส่งน้ำให้เร่งแก้ไขช่วยเหลือเป็นการด่วน  ส่วนความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นต้องมีการตรวจสอบอย่างละเอียด และเร่งเยียวยาให้กับประชาชน โดยจะรายงานให้ทางอำเภอพนัสนิคมให้ทราบต่อไป 


     ด้านนายสรรเสริญ มาดา เจ้าหน้าที่กู้ภัยได้กล่าวว่าได้รับการร้องขอจากชาวบ้านให้ช่วยเคลื่อนย้ายผู้ป่วยติดเตียง กับขนย้ายสิ่งของไปไว้ในที่สูงก็จัดกำลังเข้าช่วยเหลือ  คาดว่าชาวบ้านอีกหลายๆหลังคาเรือนคงต้องได้รับผลกระทบอีก หากประชาชนร้องขอก็พร้อมที่จะช่วยเหลือในทันที   


                        

Chonburi Sponsored
อำเภอ พนัสนิคม

สมัยเมืองพนัสนิคม ในปี พ.ศ. 2371 กำเนิดเมืองขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้กลุ่มลาวอาสาปากน้ำมาสร้างภูมิลำเนาขึ้นในพื้นที่รกร้างระหว่างเมืองชลบุรีกับเมืองฉะเชิงเทรา พระราชทานนามเมืองว่าพนัสนิคม (บางเอกสารเขียน“พนัศนิคม”) มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ขึ้นกับกรมท่า กรุงเทพมหานคร ให้ท้าวอินทิสาร (บางเอกสารเขียน”อินทพิศาล”) หรือ ท้าวทุม ปลัดลาว เมืองสมุทรปราการ บุตรชายคนโตของท้าวไชย (บางเอกสารเขียน”ศรีวิไชย”) อุปราชเมืองนครพนม ให้เป็นเจ้าเมืองพนัสนิคมคนแรกและพระราชทานราชทินนามและบรรดาศักดิ์ที่พระอินทอาษา (บางเอกสารเขียน“อินทรอาษา, อินทอาสา, อินทราษา“) มีข้อความในพระราชพงศาวดารว่า “พวกลาวอาสาปากน้ำ ตั้งขึ้นเมื่อครั้งในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ภายหลังเมื่อปีชวดสัมฤทธิศก พวกลาวไม่สบาย ขอไปตั้งอยู่ที่เมืองพระรถ จึงโปรดให้ตัดเอาแขวงเมืองชลบุรี เมืองฉะเชิงเทรา มาตั้งเป็นเมืองขึ้นชื่อเมืองพนัศนิคม เจ้าเมืองชื่อพระอินทอาษา” (พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 2 ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับคุรุสภา พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2504 หน้า 180) โดยลาวบุกเบิกเมืองพนัสนิคม เป็นลาวเมืองนครพนม อ้างถึงการอพยพมาสยามครั้งแรกนำโดยท้าวไชย อุปราชเมืองนครพนม เป็นโอรสในพระบรมราชา (ท้าวกู่แก้ว) เจ้าเมืองนครพนม (เมืองนครพนมในอดีต เป็นหัวเมืองในราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ประเทศราชของสยาม) ไม่สมัครใจอยู่ในปกครองของพระบรมราชา (มัง) เจ้าเมืองนครพนมคนใหม่ จึงอพยพพาสมัครพรรคพวก บุตรหลาน ท้าวเพี้ย ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2352 และโปรดเกล้าฯให้ตั้งบ้านเรือนอยู่คลองมหาวงษ์ เมืองสมุทรปราการ ยุคนั้นจึงเรียกคนกลุ่มนี้ว่าพวกลาวอาสาปากน้ำ แต่ทนสภาพแวดล้อมไม่ไหว เพราะเป็นชาวดอนน้ำจืด ถูกให้ไปอยู่เมืองลุ่มน้ำกร่อยและเค็ม เลยขอเปลี่ยนไปอยู่ที่อื่น ซึ่งสภาพใกล้เคียงที่ดอน ลาวนครพนมกลุ่มนี้ได้บุกเบิกสร้างเมืองพนัสนิคม