Chonburi Sponsored

“อนุทิน” พร้อมผู้บริหารสธ.ร่วมชื่นชมความสวยงามภาพ “สตรีทอาร์ต คิงภูมิพล” จ.นครพนม โดย “มูลนิธิยังมีเรา” – TOPNEWS

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored
  • เผยแพร่ : 23/10/2022 16:43

วันที่ 23 ต.ค. 65 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่เฟซบุ๊ก “อนุทิน ชาญวีรกูล” ซึ่งเป็นช่องทางเผยแพร่กิจกรรมของนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ซึ่งได้มีการโพสต์ภาพถ่าย ที่มีนายอนุทิน พร้อมคณะผู้บริหารจากกระทรวงสาธารณสุข ที่บริเวณ จุดวาดภาพ พระบรมสาทิสลักษณ์ในหลวงรัชกาลที่ 9 และในหลวงรัชกาลที่10 ลานพญาศรีสัตตนาคราช ริมแม่น้ำโขง จุดแลนด์มาร์คประจำจังหวัดนครพนม พร้อมด้วยข้อความว่า

หนึ่งภาพ ล้านความภักดี

วานนี้ ที่จังหวัดนคร พนม หลังจากที่ท่านรองฯ ได้ร่วมแสดงความยินดีกับความสำเร็จของคุณโตโน่ ก็ได้มาที่บริเวณแลนด์มาร์ค พญาศรีสัตตนาคราชริมฝั่งโขง ก่อนจะมาชื่นชมความสวยงาม ของภาพวาดพระบรมสาทิสลักษณ์ในหลวงรัชกาลที่ 9 และในหลวงรัชกาลที่10 ซึ่งเป็นศิลปะแนวสตรีทอาร์ต โดยกลุ่ม “สตรีทอาร์ต คิงภูมิพล” ซึ่งนำโดยครูอะไหล่ ชรัส จำปาแสน ซึ่งปัจจุบัน ภาพนี้ เป็นหนึ่งในแลนด์มาร์คด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดนครพนมไปแล้ว สะท้อนความภักดีของคนไทย ต่อสถาบันหลักของชาติ #ทีมแอดมิน

สำหรับโครงการ “สตรีทอาร์ต คิงภูมิพล” เป็นโครงการที่ดำเนินการ โดย “มูลนิธิยังมีเรา” สถานีข่าวท็อปนิวส์ ร่วมกับศิลปินจิตอาสาสตรีทอาร์ต คิงภูมิพล ที่นำโดยนายชวัส จำปาแสน หรือ ครูอะไหล่ พร้อมกลุ่มศิลปินจิตอาสา ซึ่งโครงการนี้ได้รับการสนับสนุน การบริจาคเงินเพื่อเป็นทุนสนับสนุนในการวาดภาพ ตามเป้าหมายของคณะผู้ดำเนินการที่ 77 ภาพ 77 จังหวัดทั่วประเทศ

จากเดิมที่ นายชวัส จำปาแสน หรือ “ครูอะไหล่” ครูสอนศิลปะ ผู้ริเริ่มโครงการ Street Art King Bhumibol ทีมศิลปินและนักเรียน นักศึกษาศิลปะหลากหลายสถาบันที่ได้ร่วมกันสร้างสรรค์ผลงาน ตั้งแต่ปี 2561 รวมภาพวาดมาแล้วจำนวน 10 ภาพ 10 จังหวัด แต่ด้วยงบประมาณที่ค่อนข้างจำกัด จึงทำให้การวาดภาพตามเป้าหมาย 77 จังหวัดเป็นไปอย่างลำบาก จนกระทั่ง ได้มาร่วมกับ มูลนิธิยังมีเรา สถานีข่าวท็อปนิวส์ ซึ่งได้ร่วมมือกันเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ เชิญชวนประชาชนได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการวาดภาพสตรีทอาร์ต ให้ครบทั้ง 77 จังหวัด ภายใต้แนวคิดที่ว่า พระองค์ยังคงอยู่ทุกที่กับพสกนิกรปวงชนชาวไทย

ซึ่งภาพวาดพระบรมสาทิสลักษณ์ในหลวงรัชกาลที่ 9 และในหลวงรัชกาลที่10 ศิลปะแห่งรักและศรัทธา มหาราชาภูมิพล ที่ลานพญาศรีสัตตนาคราช จุดนี้ถือเป็นภาพแรกชื่อภาพ “สานต่อที่พ่อทำ” ที่โครงการสตรีทอาร์ต คิงภูมิพล โดยมูลนิธิยังมีเรา สถานีข่าวท็อปนิวส์ และกลุ่มศิลปินจิตอาสา ได้เริ่มวาดตั้งแต่วันที่ 22 กรกฎาคม 2565 จนแล้วเสร็จส่งมอบให้กับทางจังหวัดนครพนม ผ่านนายชาธิป รุจนเสรี ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2565

ภาพที่ 2 ได้ดำเนินการจัดวาดภาพพระบรมสาทิสลักษณ์ “ต้นน้ำ ต้นไม้” อยู่ที่ผนังโรงแรมเชียงใหม่วโรรส บูติคโฮเต็ล สี่แยกถนนท้ายวัง ตำบลช้างม่อย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ส่งมอบให้กับทางจังหวัดเชียงใหม่ในวันที่ 12 สิงหาคม 2565

ภาพที่ 3 ดำเนินการจัดวาดภาพพระบรมสาทิสลักษณ์ “รักษ์วัฒนธรรม” อยู่ที่ผนังอาคารภายในตลาดเกษตรสุวพันธุ์ เมืองทอง ถนนอ่างทอง-สิงห์บุรี ตำบลตลาดหลวง อ.เมือง จ.อ่างทอง ส่งมอบให้กับจังหวัดอ่างทอง วันที่ 28 กันยายน 2565

ภาพที่ 4 ทางโครงการได้จัดวาดภาพพระบรมสาทิสลักษณ์ “ความสุขประโยชน์ส่วนรวม” อยู่ที่ผนังอาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา โรงพยาบาลหัวหิน อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ส่งมอบให้กับจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2565 สำหรับภาพวาดสตรีทอาร์ต พระบรมสาทิสลักษณ์ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ภาพที่ 4 นี้ ถือว่าเป็นภาพวาดที่ใหญ่ที่สุดและสูงที่สุดในประเทศไทยอีกด้วย

ซึ่งทาง “มูลนิธิยังมีเรา” และกลุ่มศิลปินจิตอาสา สตรีทอาร์ต คิงภูมิพล ยังได้มีแผนที่จะไปวาดภาพพระบรมสาทิสลักษณ์ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ในอีก 2 จุดภายในปี 2565 นี้ คือที่อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี และที่ จ.สงขลา

Chonburi Sponsored
อำเภอ สัตหีบ

ช่วงประมาณรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 สัตหีบเป็นเพียงหมู่บ้านชายทะเล ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา หาของป่า และประมง การคมนาคมจะใช้ทางน้ำโดยเรือเมล์หรือเรือใบ ส่วนทางบกมีแต่ทางเกวียน ถนนไปชลบุรียังไม่มี ภูมิประเทศส่วนใหญ่ยังเป็นป่ารกทึบ การเดินทางระหว่างเมืองจึงใช้เรือเป็นหลัก ในหมู่บ้านสัตหีบ มีผู้ที่ชาวบ้านนับหน้าถือตามากอยู่คนหนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า "ยายแจง" แกมีฐานะดีมี ที่ดิน เรือ สวน ไร่นามากมาย ตลาดสัตหีบ หนองตะเคียนและโรงเรียนสิงห์สมุทรรวมถึงบริเวณเขาแหลมเทียนอันเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือสัตหีบในปัจจุบันก็เคยเป็นของแก ต่อมา เมื่อกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ทรงฝึกภาคทะเลกับกองเรือและทรงพักที่อ่าวสัตหีบ ทรงเห็นว่าอ่าวสัตหีบเหมาะเป็นที่ตั้งหน่วยเรือ เพราะมีเกาะใหญ่น้อยช่วยกำบังคลื่นลม พระองค์จึงได้บอกถึงพระประสงค์ที่จะใช้บริเวณเขาแหลมเทียนเป็นที่ตั้งหน่วยทหารเรือ ยายแจงก็ยินดีที่จะถวายให้