Chonburi Sponsored

ผู้นำหน่วยรบ สอ.รฝ. ปิดประตูค่ายลุยตรวจยาเสพติด พบใครยุ่งเกี่ยวคือบ่อนทำลายชาติ – TOPNEWS

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored
  • เผยแพร่ : 21/10/2022 15:47

ผบ.สอ.รฝ. ประกาศสงครามยาเสพติด ปิดประตูค่าย ลุยตรวจปัสสาวะกำลังพล หากพบผู้ใดพัวพัน ฟันวินัย-อาญา ขั้นเด็ดขาด ถือเป็นบ่อนทำลายชาติ ไม่สมควรเป็นทหารอีกต่อไป

วันที่ 21 ต.ค.65 กองทัพเรือ โดย พลเรือตรี สราวุท ชวนะ ผู้บัญชาการ หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง (ผบ.สอ.รฝ.) เป็นประธานปล่อยแถวเปิดปฏิบัติการ สอ.รฝ. รวมใจ ห่างไกล ยาเสพติด โดยมี คณะทำงาน ผู้บังคับการหน่วยขึ้นตรง ชุดปฏิบัติการพิเศษปราบปรามยาเสพติด ชุดการข่าว ชุดรักษาความปลอดภัย ชุดแพทย์เคลื่อนที่ ชุดสุนัขทหาร และกำลังพลส่วนเกี่ยวข้อง เข้าร่วมในภารกิจปล่อยแถวกวาดล้าง ณ หน้ากองบัญชาการ หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี

ในภารกิจครั้งนี้ นับเป็นการเปิดสงครามกับยาเสพติด ซึ่งถือเป็นภัยร้ายแรงของสังคมไทยมาอย่างยาวนาน ที่กำลังแพร่ระบาดอยู่ในสังคมทุกระดับชั้น ซึ่งเป็นบ่อเกิดของปัญหาสังคม และอาชญากรรมมากมาย ที่ล้วนเป็นบ่อนทำลาย นำพาหายนะมาสู่สังคมไทย ทำให้รัฐบาลได้ยกปัญหายาเสพติดให้เป็นวาระแห่งชาติ โดยได้มีการสร้างชุมชนสีขาว และรั้วของชาติให้เกิดความเข้มแข็ง กำลังพล และครอบครัว ต้องปลอดจากยาเสพติด มีการนำสุนัขทหาร พร้อมชุดตรวจปัสสาวะ หาสารเสพติดจากกำลังพล ตลอดจน มีการตรวจกราบพักทหาร สำนักงาน และพื้นที่ปฏิบัติงาน เพื่อให้แน่ใจว่า กำลังพล และสถานที่ จะต้องปลอดจากยาเสพติด

พลเรือตรี สรวุท ชวนะ กล่าวว่า ทหาร คือ ผู้ที่ได้รับการฝึกฝน ให้เป็นผู้ที่แข็งแกร่ง ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และเป็นผู้มีระเบียบวินัย เพื่อเป็นรั้วของชาติที่เข้มแข็ง พร้อมทำหน้าที่ปกป้องและรักษาอธิปไตยของชาติ ให้เกิดความมั่นคง และพร้อมให้การช่วยเหลือพี่น้องประชาชน ที่ได้รับความเดือดร้อน ด้วยภารกิจที่สำคัญเหล่านี้ ทหาร จึงต้องดำรงตนด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต เสียสละ กล้าหาญ ที่สำคัญจะต้องไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดเป็นอันขาด ซึ่งหากผู้ใดที่เข้าไปข้องเกี่ยวกับยาเสพติด ถือว่า ผู้นั้น คือ บ่อนทำลายชาติ ไม่มีเกียรติและศักดิ์ศรี ที่จะต้องเป็นทหารอีกต่อไป ซึ่งหน่วยจะดำเนินการทุกวิถีทาง ทั้งทางวินัย และทางกฎหมาย ขั้นเด็ดขาด อย่างไม่มีข้อยกเว้น

ณัฐภูมินทร์ – พัชรพล ปานรักษ์

Chonburi Sponsored
อำเภอ สัตหีบ

ช่วงประมาณรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 สัตหีบเป็นเพียงหมู่บ้านชายทะเล ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา หาของป่า และประมง การคมนาคมจะใช้ทางน้ำโดยเรือเมล์หรือเรือใบ ส่วนทางบกมีแต่ทางเกวียน ถนนไปชลบุรียังไม่มี ภูมิประเทศส่วนใหญ่ยังเป็นป่ารกทึบ การเดินทางระหว่างเมืองจึงใช้เรือเป็นหลัก ในหมู่บ้านสัตหีบ มีผู้ที่ชาวบ้านนับหน้าถือตามากอยู่คนหนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า "ยายแจง" แกมีฐานะดีมี ที่ดิน เรือ สวน ไร่นามากมาย ตลาดสัตหีบ หนองตะเคียนและโรงเรียนสิงห์สมุทรรวมถึงบริเวณเขาแหลมเทียนอันเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือสัตหีบในปัจจุบันก็เคยเป็นของแก ต่อมา เมื่อกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ทรงฝึกภาคทะเลกับกองเรือและทรงพักที่อ่าวสัตหีบ ทรงเห็นว่าอ่าวสัตหีบเหมาะเป็นที่ตั้งหน่วยเรือ เพราะมีเกาะใหญ่น้อยช่วยกำบังคลื่นลม พระองค์จึงได้บอกถึงพระประสงค์ที่จะใช้บริเวณเขาแหลมเทียนเป็นที่ตั้งหน่วยทหารเรือ ยายแจงก็ยินดีที่จะถวายให้