Chonburi Sponsored

ทูตออสเตรีย ชื่นชมวิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ ในโอกาสนำคณะเข้าเยี่ยมชม – TOPNEWS

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

ดร.อรทัย โยธินรุ่งเรือง สุดสงวน ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ และคณะผู้บริหาร หัวหน้าแผนกวิชา พร้อมด้วยคณะครูและบุคลากรทางการศึกษา รวมถึงนักเรียนและนักศึกษาของ วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ ร่วมให้การต้อนรับ คณะทูตออสเตรีย (Austria) H.E. Mr. Wilhelm Donko, the Austrian Ambassador และคณะ Mr. Michael Schemeiser, First Secretary and Deputy Head of Mission และ Dr.Georg Weingartner, the Commercial Councellor ประจำประเทศไทย ณ ห้องประชุมเวียนนา อาคารปฏิบัติการเวียนนา พาราไดซ์ วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี เมื่อวันที่ 18 ต.ค.65 ที่ผ่านมา

โดยทูตออสเตรีย (Austria) ประจำประเทศไทย และคณะ

ได้เข้าเยี่ยมชม นิทรรศการจากชมรมวิชาชีพ ประกอบด้วย 4 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ กลุ่มที่ 1 แผนกช่างไฟฟ้า แมคคาทรอนิกส์ อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องมือวัด กลุ่มที่ 2 ได้แก่ แผนกสารสนเทศ เทคนิค

คอม และคอมพิวเตอร์ กลุ่มที่ 3 ได้แก่ บัญชี โลจิสติกซ์ และค้าปลีก และกลุ่มที่ 4 ได้แก่ การโรงแรม การท่อง

เที่ยว และธุรกิจการบิน

นอกจากนี้แล้ว ยังได้มีการเข้าเยี่ยมชมที่ แผนกวิชาช่างเชื่อม ช่างก่อสร้าง เทคนิคพื้นฐาน ระบบราง ช่างยนต์และพลังงาน ช่างกลและเขียนแบบ และช่างอากาศยาน ในโอกาสเดียวกันนี้ด้วย

หลังจาก ได้เยี่ยมชมนิทรรศการและแผนกวิชาต่างๆ ของวิทยาลัยเทคนิคสัตหีบแล้ว ทูตออสเตรีย (Austria) ประจำประเทศไทย

และคณะ ได้กล่าวชื่นชมการจัดการเรียนการสอน และผลการปฏิบัติงานของนักเรียน/นักศึกษา วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบว่า มีความน่าสนใจและสามารถพัฒนาได้ตรงตามความต้องการของ

ตลาดแรงงานที่แท้จริง และยังได้มีการให้ข้อแนะนำ และข้อเสนอแนะเพิ่มเติมแก่ ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ คณะผู้บริหาร และคณะครูและบุคลากรทางการศึกษา ของวิทยาลัยเทคนิคสัตหีย  เพื่อนำไปพัฒนาให้เกิด

ประโยชน์สูงสุด ต่อนักเรียนและนักศึกษาของ วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ ต่อไปด้วย

ศูนย์ข่าว TOPNEWS ภาคตะวันออก

Chonburi Sponsored
อำเภอ สัตหีบ

ช่วงประมาณรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 สัตหีบเป็นเพียงหมู่บ้านชายทะเล ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา หาของป่า และประมง การคมนาคมจะใช้ทางน้ำโดยเรือเมล์หรือเรือใบ ส่วนทางบกมีแต่ทางเกวียน ถนนไปชลบุรียังไม่มี ภูมิประเทศส่วนใหญ่ยังเป็นป่ารกทึบ การเดินทางระหว่างเมืองจึงใช้เรือเป็นหลัก ในหมู่บ้านสัตหีบ มีผู้ที่ชาวบ้านนับหน้าถือตามากอยู่คนหนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า "ยายแจง" แกมีฐานะดีมี ที่ดิน เรือ สวน ไร่นามากมาย ตลาดสัตหีบ หนองตะเคียนและโรงเรียนสิงห์สมุทรรวมถึงบริเวณเขาแหลมเทียนอันเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือสัตหีบในปัจจุบันก็เคยเป็นของแก ต่อมา เมื่อกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ทรงฝึกภาคทะเลกับกองเรือและทรงพักที่อ่าวสัตหีบ ทรงเห็นว่าอ่าวสัตหีบเหมาะเป็นที่ตั้งหน่วยเรือ เพราะมีเกาะใหญ่น้อยช่วยกำบังคลื่นลม พระองค์จึงได้บอกถึงพระประสงค์ที่จะใช้บริเวณเขาแหลมเทียนเป็นที่ตั้งหน่วยทหารเรือ ยายแจงก็ยินดีที่จะถวายให้