Chonburi Sponsored

ผู้เสียหาย “Mountain B” ร้อง ปปป. เอาผิดเจ้าหน้าที่รัฐ

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

ผู้เสียหายจากเหตุการณ์ ไฟไหม้ผับเมาน์เทน บี เข้ายื่นหนังสือถึง ผู้บังคับการ ตำรวจ ปปป. ให้ตรวจสอบและดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่รัฐ หวั่นไม่ได้รับความยุติธรรม

วันนี้ (18 ต.ค.2565) ผู้เสียหายจากเหตุการณ์ไฟไหม้ ผับเมาน์เทน บี ในพื้นที่ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี รวมตัวมาที่ กองบังคับการปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ หรือ ปปป. เพื่อยื่นหนังสือถึง พล.ต.ต.จรูญเกียรติ ปานแก้ว ผู้บังคับการ ปปป. ขอให้ตรวจสอบและดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่รัฐ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุไฟไหม้ ผับ เมาน์เทน บี ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิต 25 คน

นายรณณรงค์ แก้วเพ็ชร์ ประธานเครือข่ายรณรงค์ทวงคืนความยุติธรรมในสังคม เปิดเผยว่า จากการหารือกับผู้เสียหาย ต้องการเรียกร้องให้ ตำรวจ ปปป. ดำเนินคดี กับเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ ประกอบด้วย 4 หน่วยงาน คือ เทศบาลสัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ เนื่องจาก ตั้งแต่เกิดเหตุ ไม่มีการสอบสวนผู้เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะ เจ้าหน้าที่รัฐ ที่เข้าข่ายกระทำผิด ซึ่งหากยังไม่มีการชี้ชัดว่าจะดำเนินคดี ก็ทำให้ยังไม่สามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย จากเจ้าของกิจการได้

ขณะเดียวกัน หนึ่งในผู้เสียหาย ได้แสดงรอยแผลจากเหตุการณ์ โดยบอกว่า ขณะนี้แผลยังไม่หายดี และได้รับการเยียวยาจากเจ้าของร้านประมาณ 1 แสนบาท เท่านั้น ซึ่งไม่เพียงพอ เพราะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลต่อเนื่อง ประกอบกับช่วง 3-4 เดือนที่ผ่านมา ไม่สามารถทำงาน หาเงินเลี้ยงครอบครัว จึงขอให้ตำรวจ ปปป. เร่งตรวจสอบ และดำเนินคดีกับผู้เกี่ยวข้อง

ทั้งนี้ จากการประเมินความเสียหาย ทั้ง 31 ครอบครัว มีมูลค่าประมาณ 253 ล้านบาท แต่ได้เงินเยียวยาเพียงครอบครัวละ 1 แสนบาทเท่านั้น ส่วนประเด็นที่มีการรื้อโครงสร้าง ผับเมาท์เทน บี ตั้งข้อสังเกตว่า ได้รับคำสั่งจากใคร เพราะการสอบสวนคดียังไม่สิ้นเสร็จสิ้นกระบวนการสอบสวน เพราะ จะต้องมีข้าราชการรับผิดชอบในฐานะผู้ดูแลพื้นที่

Chonburi Sponsored
อำเภอ สัตหีบ

ช่วงประมาณรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 สัตหีบเป็นเพียงหมู่บ้านชายทะเล ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา หาของป่า และประมง การคมนาคมจะใช้ทางน้ำโดยเรือเมล์หรือเรือใบ ส่วนทางบกมีแต่ทางเกวียน ถนนไปชลบุรียังไม่มี ภูมิประเทศส่วนใหญ่ยังเป็นป่ารกทึบ การเดินทางระหว่างเมืองจึงใช้เรือเป็นหลัก ในหมู่บ้านสัตหีบ มีผู้ที่ชาวบ้านนับหน้าถือตามากอยู่คนหนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า "ยายแจง" แกมีฐานะดีมี ที่ดิน เรือ สวน ไร่นามากมาย ตลาดสัตหีบ หนองตะเคียนและโรงเรียนสิงห์สมุทรรวมถึงบริเวณเขาแหลมเทียนอันเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือสัตหีบในปัจจุบันก็เคยเป็นของแก ต่อมา เมื่อกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ทรงฝึกภาคทะเลกับกองเรือและทรงพักที่อ่าวสัตหีบ ทรงเห็นว่าอ่าวสัตหีบเหมาะเป็นที่ตั้งหน่วยเรือ เพราะมีเกาะใหญ่น้อยช่วยกำบังคลื่นลม พระองค์จึงได้บอกถึงพระประสงค์ที่จะใช้บริเวณเขาแหลมเทียนเป็นที่ตั้งหน่วยทหารเรือ ยายแจงก็ยินดีที่จะถวายให้