Chonburi Sponsored

พิษพายุโนรู! ฝนถล่มชลบุรี อ.พนัสนิคมจมบาดาล ชาวบ้านกว่า 100 หลังคาเรือนเดือดร้อน

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

ภูมิภาค

พิษพายุโนรู! ฝนถล่มชลบุรี อ.พนัสนิคมจมบาดาล ชาวบ้านกว่า 100 หลังคาเรือนเดือดร้อน

วันพฤหัสบดี ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2565, 14.30 น.

ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่

ตั้งแต่คืนที่ผ่านมา จนถึงเที่ยงวันที่ 29 ก.ย.65 เกิดพายุโนรู ทำให้ฝนตกหนัก ใน อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี อย่างต่อเนื่อง นานนับ 10 ชั่วโมง ทำให้หลายหมู่บ้าน ของ ต.นาเริก ต.หมอนนาง ต.บ้านช้าง และ ต.บ้านเชิด ระบายน้ำไม่ทัน  ท่วมบ้านเรือนประชาชนสูงกว่า 1 เมตร กว่า 100 หลังคาเรือน ถนนหลายเส้นทาง ทำให้การสัญจรลำบาก

นายประสิทธิ  อินทชิต นายอำเภอพนัสนิคม ระดม ฝ่ายปกครองอำเภอ ทหารจาก ค่ายกองบัญชาการช่วยรบที่ 1 ค่ายพนัสบดีศรีอุทัย อ.เกาะจันทร์ จ.ชลบุรี และผู้นำท้องถิ่นกว่า 100 นาย ช่วยขนย้ายทรัพย์สินและประชาชน ออกมาอย่างเร่งด่วน   

ฝ่ายปกครองอำเภอ ทหารและผู้นำท้องถิ่น ต้องระดมกำลังพร้อมชาวบ้าน ช่วยกันนำทราบมาใส่กระสอบมากั้น เพื่อไม่ให้นำเข้าบ้านเรือนประชาชนจำนวนหลายพันกระสอบ และนำเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่จำนวนหลายเครื่อง เร่งสูบน้ำระบายลงฝ่ายน้ำ และลำคลองพานทอง เพื่อลงสู่แม่น้ำบางปะกง คาดว่า หากฝนไม่หยุด ก็อาจจะทำให้น้ำท่วมขังต่อไปอีก แต่หากฝนไม่ตกลงมาเติม น้ำก็จะแห้งกลับสู่ปกติ ภายในวันเดียว

นายอำเภอพนัสนิคม กล่าวว่า หลังจากพายุ โนรู ทำให้ฝนตกลงหนัก มีน้ำท่วมสูงเข้าบ้านเรือนประชาชน ในหลายหม่บ้าน ของ ต.นาเริก ต.หมอนนาง ต.บ้านช้าง และ ต.บ้านเชิด  จึงออกร่วมกับ ฝ่ายปกครอง ทหาร และผู้นำท้องถิ่น กำนันผู้ใหญ่ นำทรายใส่กระสอบมาวางกั้น ไม่ให้เข้าบ้านเรือนประชาชน และเอารถแบ็คโฮขุด ลอกระบายน้ำ พร้อมทั้งนำเครื่องสูบน้ำไปเร่งของ แหล่งน้ำธรรมชาติ คาดว่าหากฝนไม่ตกลงมาเติมกว่านี้ น้ำก็จะแห้งกลับสู่ปกติ ภายในวันเดียว

ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่

Chonburi Sponsored
อำเภอ พนัสนิคม

สมัยเมืองพนัสนิคม ในปี พ.ศ. 2371 กำเนิดเมืองขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้กลุ่มลาวอาสาปากน้ำมาสร้างภูมิลำเนาขึ้นในพื้นที่รกร้างระหว่างเมืองชลบุรีกับเมืองฉะเชิงเทรา พระราชทานนามเมืองว่าพนัสนิคม (บางเอกสารเขียน“พนัศนิคม”) มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ขึ้นกับกรมท่า กรุงเทพมหานคร ให้ท้าวอินทิสาร (บางเอกสารเขียน”อินทพิศาล”) หรือ ท้าวทุม ปลัดลาว เมืองสมุทรปราการ บุตรชายคนโตของท้าวไชย (บางเอกสารเขียน”ศรีวิไชย”) อุปราชเมืองนครพนม ให้เป็นเจ้าเมืองพนัสนิคมคนแรกและพระราชทานราชทินนามและบรรดาศักดิ์ที่พระอินทอาษา (บางเอกสารเขียน“อินทรอาษา, อินทอาสา, อินทราษา“) มีข้อความในพระราชพงศาวดารว่า “พวกลาวอาสาปากน้ำ ตั้งขึ้นเมื่อครั้งในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ภายหลังเมื่อปีชวดสัมฤทธิศก พวกลาวไม่สบาย ขอไปตั้งอยู่ที่เมืองพระรถ จึงโปรดให้ตัดเอาแขวงเมืองชลบุรี เมืองฉะเชิงเทรา มาตั้งเป็นเมืองขึ้นชื่อเมืองพนัศนิคม เจ้าเมืองชื่อพระอินทอาษา” (พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 2 ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับคุรุสภา พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2504 หน้า 180) โดยลาวบุกเบิกเมืองพนัสนิคม เป็นลาวเมืองนครพนม อ้างถึงการอพยพมาสยามครั้งแรกนำโดยท้าวไชย อุปราชเมืองนครพนม เป็นโอรสในพระบรมราชา (ท้าวกู่แก้ว) เจ้าเมืองนครพนม (เมืองนครพนมในอดีต เป็นหัวเมืองในราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ประเทศราชของสยาม) ไม่สมัครใจอยู่ในปกครองของพระบรมราชา (มัง) เจ้าเมืองนครพนมคนใหม่ จึงอพยพพาสมัครพรรคพวก บุตรหลาน ท้าวเพี้ย ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2352 และโปรดเกล้าฯให้ตั้งบ้านเรือนอยู่คลองมหาวงษ์ เมืองสมุทรปราการ ยุคนั้นจึงเรียกคนกลุ่มนี้ว่าพวกลาวอาสาปากน้ำ แต่ทนสภาพแวดล้อมไม่ไหว เพราะเป็นชาวดอนน้ำจืด ถูกให้ไปอยู่เมืองลุ่มน้ำกร่อยและเค็ม เลยขอเปลี่ยนไปอยู่ที่อื่น ซึ่งสภาพใกล้เคียงที่ดอน ลาวนครพนมกลุ่มนี้ได้บุกเบิกสร้างเมืองพนัสนิคม