Chonburi Sponsored

ผู้ว่าชลบุรี หลัง รับตำแหน่งวันที่สอง ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ พื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม – TOPNEWS

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี หลังรับตำแหน่งวันที่สอง เข้าไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในศาลากลางจังหวัดและเข้าเซ็นแฟ้มงานที่ห้องปฏิบัติงาน ก่อนลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำคลองหลวง รัชชโลทร และพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมอำเภอพนัสนิคมหลังจากฝนตกอย่างต่อเนื่อง

นายธวัชชัย ศรีทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี หลังจากเข้ารับตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีเป็นวันที่สอง ได้เข้าไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในศาลากลางจังหวัด และอัญเชิญพระพุทธมุนีศรีประชานาถไว้ในที่ห้องปฏิบัติงานเพื่อเป็นสิริมงคล และเซ็นแฟ้มงานเป็นการเริ่มปฏิบัติหน้าที่ด้วย

จากนั้นได้ลงพื้นที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาคลองหลวง รัชชโลทร ตำบลท่าบุญมี อำเภอเกาะจันทร์ และการระบายน้ำอ่างเก็บน้ำคลองหลวงรัชชโลทรฯ ตำบลท่าบุญมี อำเภอเกาะจันทร์ ท่ามกลางสายฝนโปรยปราย พร้อมด้วย นางสาวประภัสรา ศรีทอง นายกเหล่ากาชาดจังหวัดชลบุรี นายนริศ นิรามัยวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี นายอำนาจ เจริญศรี ปลัดจังหวัดชลบุรี นายอำเภอเกาะจันทร์ นายอำเภอพานทอง หัวหน้าส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รับฟังบรรยายสรุปสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาคลองหลวง รัชชโลทร สถานการณ์น้ำในพื้นที่อำเภอพนัสนิคม อำเภอพานทอง และติดตามสถานการณ์น้ำ การระบายน้ำอ่างเก็บน้ำคลองหลวง รัชชโลทรบริเวณสันเขื่อนอ่างเก็บน้ำและได้เดินทางไปยังชุมชนหน้าวัดเนินสังข์สฤษฏาราม หมู่ที่ 1 ตำบลไร่หลักทอง อำเภอพนัสนิคม และ ศาลาประชามคมหมู่บ้านตำบลวัดหลวง อำเภอพนัสนิคม ซึ่งเป็นพื้นที่ได้รับผลกระทบน้ำท่วมขัง เพื่อตรวจเยี่ยมให้กำลังใจ และมอบถุงยังชีพให้แก่ผู้ประสบภัย

เนื่องจากอิทธิพลของพายุโนรู ส่งผลให้หลายพื้นที่ของจังหวัดชลบุรี มีฝนตกหนักในพื้นที่ ประกอบกับปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำหลายแห่งเกินร้อยละ 80 ทำให้จำเป็นต้องระบายน้ำ โดยเฉพาะอ่างเก็บน้ำคลองหลวงรัชชโลทรฯ ระบายน้ำที่ปริมาณ 11.974 ลบ.ม./วินาที หรือคิดเป็นวันละ 1.03 ล้าน ลบ.ม./วัน ส่งผลกระทบให้น้ำในพื้นที่มีปริมาณมาก เกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่อำเภอพนัสนิคม อำเภอพานทอง อำเภอบ้านบึง และอำเภอเมืองชลบุรี ปัจจุบันหลายพื้นที่สถานการณ์เริ่มคลี่คลาย คงเหลือพื้นที่ตำบลบ้านช้าง ตำบลหนองขยาด ตำบลหัวถนน ตำบลนามะตูม ตำบลทุ่งขวาง ตำบลวัดโบสถ์ และตำบลไร่หลักทอง อำเภอพนัสนิคมที่ยังคงมีน้ำท่วมขังบ้านเรือนประชาชน และพื้นที่การเกษตร

โดยมวลน้ำหลักอยู่ที่ตำบลไร่หลักทอง เบื้องต้น อำเภอพนัสนิคม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการสูบน้ำ แจกจ่ายอาหารและน้ำดื่มตามรอบอย่างต่อเนื่อง แจกกระสอบทราย แจกถุงยังชีพ ขุดลอกคลองและกำจัดวัชพืช รวมทั้ง มีกำลังทหารจากกองบัญชาการช่วยรบที่ 1 เข้าช่วยเหลือประชาชนยกสิ่งข้องขึ้นที่สูงด้วย ทั้งนี้หากไม่มีฝนตกเพิ่มเติมในพื้นที่คาดว่าสถานการณ์จะคลี่คลายภายในระยะเวลา 4-7 วัน แยกเสียงสัมภาษณ์นายธวัชชัย ศรีทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี

วิศาล แสงเจริญ ผู้สื่อข่าวTOPNEWS ประจำ จ.ชลบุรี

Chonburi Sponsored
อำเภอ พนัสนิคม

สมัยเมืองพนัสนิคม ในปี พ.ศ. 2371 กำเนิดเมืองขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้กลุ่มลาวอาสาปากน้ำมาสร้างภูมิลำเนาขึ้นในพื้นที่รกร้างระหว่างเมืองชลบุรีกับเมืองฉะเชิงเทรา พระราชทานนามเมืองว่าพนัสนิคม (บางเอกสารเขียน“พนัศนิคม”) มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ขึ้นกับกรมท่า กรุงเทพมหานคร ให้ท้าวอินทิสาร (บางเอกสารเขียน”อินทพิศาล”) หรือ ท้าวทุม ปลัดลาว เมืองสมุทรปราการ บุตรชายคนโตของท้าวไชย (บางเอกสารเขียน”ศรีวิไชย”) อุปราชเมืองนครพนม ให้เป็นเจ้าเมืองพนัสนิคมคนแรกและพระราชทานราชทินนามและบรรดาศักดิ์ที่พระอินทอาษา (บางเอกสารเขียน“อินทรอาษา, อินทอาสา, อินทราษา“) มีข้อความในพระราชพงศาวดารว่า “พวกลาวอาสาปากน้ำ ตั้งขึ้นเมื่อครั้งในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ภายหลังเมื่อปีชวดสัมฤทธิศก พวกลาวไม่สบาย ขอไปตั้งอยู่ที่เมืองพระรถ จึงโปรดให้ตัดเอาแขวงเมืองชลบุรี เมืองฉะเชิงเทรา มาตั้งเป็นเมืองขึ้นชื่อเมืองพนัศนิคม เจ้าเมืองชื่อพระอินทอาษา” (พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 2 ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับคุรุสภา พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2504 หน้า 180) โดยลาวบุกเบิกเมืองพนัสนิคม เป็นลาวเมืองนครพนม อ้างถึงการอพยพมาสยามครั้งแรกนำโดยท้าวไชย อุปราชเมืองนครพนม เป็นโอรสในพระบรมราชา (ท้าวกู่แก้ว) เจ้าเมืองนครพนม (เมืองนครพนมในอดีต เป็นหัวเมืองในราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ประเทศราชของสยาม) ไม่สมัครใจอยู่ในปกครองของพระบรมราชา (มัง) เจ้าเมืองนครพนมคนใหม่ จึงอพยพพาสมัครพรรคพวก บุตรหลาน ท้าวเพี้ย ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2352 และโปรดเกล้าฯให้ตั้งบ้านเรือนอยู่คลองมหาวงษ์ เมืองสมุทรปราการ ยุคนั้นจึงเรียกคนกลุ่มนี้ว่าพวกลาวอาสาปากน้ำ แต่ทนสภาพแวดล้อมไม่ไหว เพราะเป็นชาวดอนน้ำจืด ถูกให้ไปอยู่เมืองลุ่มน้ำกร่อยและเค็ม เลยขอเปลี่ยนไปอยู่ที่อื่น ซึ่งสภาพใกล้เคียงที่ดอน ลาวนครพนมกลุ่มนี้ได้บุกเบิกสร้างเมืองพนัสนิคม