Chonburi Sponsored

กระบะหลุดโค้ง พุ่งชนป้อมตรวจ รถ จยย.จอดติดไฟแดง เจ็บ 2 ราย

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored
สยามรัฐออนไลน์ 14 ตุลาคม 2565 11:58 น. ภูมิภาค

หนุ่มซิ่งกระบะหลุดโค้ง พุ่งชนป้อมตำรวจพังยับเยิน  กระเด็นไปชนรถ จยย.2 ผัวเมียที่จอดติดไฟแดงได้รับบาดเจ็บ 2 ราย
       

เมื่อเวลา 05.30 น.วันที่ 14 ตุลาคม 2565  พันตำรวจตรีชาติคณิน อินสอน สว.(สอบสวน) สภ.พานทอง  ได้รับแจ้ง มีรถกระบะพุ่งชนป้อมกดสัญญาณไฟจราจรบริเวณสี่แยกไฟแดงมาบโป่ง หมู่ 8 ตำบลมาบโป่ง อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี หลังได้รับแจ้งจึงออกไปตรวจสอบพร้อมหน่วยกู้ภัยมูลนิธิกู้ไตรคุณธรรม ในที่เกิดเหตุพบผู้บาดเจ็บ 2 ราย คือนายจิราวัตร โพตะกาง กับนางสาวกิติยา จำปาศิริ  ซึ่งเป็นผู้ได้รับบาดเจ็บที่ขี่รถจักรยานยนต์ ยี่ห้อฮอนด้าซีพีเอ็กซ์ สีแดง หมายเลขทะเบียน 2 กถ 3238 ชลบุรี   สภาพมีรอยชน ได้รับความเสียหาย เจ้าหน้าที่กู้ภัยฯ ได้ปฐมพยาบาลทั้ง 2 คน ในเบื้องต้น ก่อนจะนำตัวทั้งคู่ส่งโรงพยาบาลพานทอง จากการตรวจสอบในที่เกิดเหตุพบรถกระบะยี่ห้อ อีซูซุ ดีแม็กซ์ สีขาวหมายเลขทะเบียน ผห 7697 ชลบุรี สภาพด้านหน้าที่ชนกับตู้จราจรนั้นพังยับเยิน รวมทั้งล้อแม็กหลังแตกหักเสียหาย และตู้จราจรได้รับความเสียหายเช่นเดียวกัน ซึ่งมีทั้งตู้เย็น ตู้ควบคุมไฟจราจรคอมพิวเตอร์ แอร์กระเด็นหลุดออกมาพังเสียหาย คิดเป็นมูลค่าของหลวงที่เสียหายก็หลายแสนบาท  
     

จากการสอบถาม นายเจนณรงค์ ปรมสันติ อายุ 33 ปี    ชาวจังหวัดน่าน  คนขับรถกระบะ ได้เล่าให้ฟังว่าได้ขับรถออกมาจากทางอำเภอพานทอง จะเลี้ยวไปทางพนัสนิคม แต่เบรกไม่อยู่ทำให้รถเสียหลักหมุนพุ่งไปชนกับตู้จราจรดังกล่าว
     

ด้านนายจิราวัตร โพตะกาง คนเจ็บที่ขี่รถ จยย.ก็ได้เล่าว่า  ตอนเกิดเหตุตนกับแฟนสาวขี่รถจักรยานยนต์มาจากทางฝั่งเมืองชลบุรี มุ่งหน้าไปพนัสนิคม ซึ่งกำลังจะข้ามไปทางแยก ได้ถูกรถกระบะพุ่งชนตู้จราจรแล้วก็มาชนกับรถตนเอง ซึ่งตนกับแฟนสาวนั้นก็ได้รับบาดเจ็บตามร่างกายส่วนแฟนสาวได้รับบาดเจ็บบริเวณขา
     

ทางเจ้าหน้าที่จึงควบคุมตัวนายนายเจนณรงค์  ซึ่งเป็นคนขับรถกระบะนำตัวไปสอบสวนเพิ่มเติมที่โรงพักและทำการเป่าแอลกอฮอล์เพื่อดำเนินการกฎหมายต่อไป    
              

Chonburi Sponsored
อำเภอ พนัสนิคม

สมัยเมืองพนัสนิคม ในปี พ.ศ. 2371 กำเนิดเมืองขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้กลุ่มลาวอาสาปากน้ำมาสร้างภูมิลำเนาขึ้นในพื้นที่รกร้างระหว่างเมืองชลบุรีกับเมืองฉะเชิงเทรา พระราชทานนามเมืองว่าพนัสนิคม (บางเอกสารเขียน“พนัศนิคม”) มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ขึ้นกับกรมท่า กรุงเทพมหานคร ให้ท้าวอินทิสาร (บางเอกสารเขียน”อินทพิศาล”) หรือ ท้าวทุม ปลัดลาว เมืองสมุทรปราการ บุตรชายคนโตของท้าวไชย (บางเอกสารเขียน”ศรีวิไชย”) อุปราชเมืองนครพนม ให้เป็นเจ้าเมืองพนัสนิคมคนแรกและพระราชทานราชทินนามและบรรดาศักดิ์ที่พระอินทอาษา (บางเอกสารเขียน“อินทรอาษา, อินทอาสา, อินทราษา“) มีข้อความในพระราชพงศาวดารว่า “พวกลาวอาสาปากน้ำ ตั้งขึ้นเมื่อครั้งในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ภายหลังเมื่อปีชวดสัมฤทธิศก พวกลาวไม่สบาย ขอไปตั้งอยู่ที่เมืองพระรถ จึงโปรดให้ตัดเอาแขวงเมืองชลบุรี เมืองฉะเชิงเทรา มาตั้งเป็นเมืองขึ้นชื่อเมืองพนัศนิคม เจ้าเมืองชื่อพระอินทอาษา” (พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 2 ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับคุรุสภา พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2504 หน้า 180) โดยลาวบุกเบิกเมืองพนัสนิคม เป็นลาวเมืองนครพนม อ้างถึงการอพยพมาสยามครั้งแรกนำโดยท้าวไชย อุปราชเมืองนครพนม เป็นโอรสในพระบรมราชา (ท้าวกู่แก้ว) เจ้าเมืองนครพนม (เมืองนครพนมในอดีต เป็นหัวเมืองในราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ประเทศราชของสยาม) ไม่สมัครใจอยู่ในปกครองของพระบรมราชา (มัง) เจ้าเมืองนครพนมคนใหม่ จึงอพยพพาสมัครพรรคพวก บุตรหลาน ท้าวเพี้ย ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2352 และโปรดเกล้าฯให้ตั้งบ้านเรือนอยู่คลองมหาวงษ์ เมืองสมุทรปราการ ยุคนั้นจึงเรียกคนกลุ่มนี้ว่าพวกลาวอาสาปากน้ำ แต่ทนสภาพแวดล้อมไม่ไหว เพราะเป็นชาวดอนน้ำจืด ถูกให้ไปอยู่เมืองลุ่มน้ำกร่อยและเค็ม เลยขอเปลี่ยนไปอยู่ที่อื่น ซึ่งสภาพใกล้เคียงที่ดอน ลาวนครพนมกลุ่มนี้ได้บุกเบิกสร้างเมืองพนัสนิคม