Chonburi Sponsored

“เมาน์เทน บี” รื้อแล้ว ทนายรณรงค์ วอนรัฐ ควรจริงใจช่วยเหยื่อ – TOPNEWS

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored
  • เผยแพร่ : 16/10/2022 15:07

ความคืบหน้ากรณีเหตุไฟไหม้ผับเมาท์เทน บี อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม มีผู้เสียชีวิตรวม 24 คน และบาดเจ็บ 33 คน ผ่านมากว่า 2 เดือน ล่าสุด พบว่า มีการเข้ารื้อถอนอาคาร ผับเมาท์เทน บี ขณะที่ญาติผู้เสียหายไม่สบายใจและได้ถ่ายคลิปภาพแจ้งไปยังนายรณณรงค์ แก้วเพ็ชร์ ประธานเครือข่ายรณรงค์ทวงคืนความยุติธรรมในสังคม โดยมีการถ่ายคลิปภาพที่คาดว่าน่าจะเป็นญาติของผู้เสียชีวิตหรือผู้บาดเจ็บถ่ายคลิปไว้พร้อมตั้งคำถามว่ารื้อถอนไปได้อย่างไรทั้งที่คดีความยังไปไม่ถึงไหน

ทีมข่าวสอบถามไปที่ทนายรณรงค์แก้วเพชร ทนายความที่ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือญาติผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตให้ได้รับความเป็นธรรม โดยทนายรณรงค์บอกว่า ญาติของผู้เสียหายที่ทราบข่าวการรื้อถอนอาคาร ผับเมาท์เทน บี ได้ถ่ายคลิปไว้เพื่อส่งมาให้ตนเองรับทราบด้วยความกังวลใจ

สำหรับคดีดังกล่าวอยู่ระหว่างการตรวจสอบ คนเองเห็นว่า ไม่ควรมีการรื้อถอน เพราะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ยังไม่ได้แจ้งความคืบหน้าการตรวจสอบคดีให้ญาติรับทราบ ต้องพิจารณาว่า หน่วยงานใดเป็นหน่วยงานที่สั่งให้รื้อถอน แต่ก็ตั้งข้อสังเกตว่า ผับเมาท์เทน บี ไม่ได้ขออนุญาตเปิดอย่างถูกต้อง ทำให้ญาติไปกล่าวโทษเทศบาล ทางเทศบาลกลัวว่าจะมีปัญหาจึงสั่งให้มีการรื้อหรือไม่ แต่ตามหลัก ถ้าคดียังไม่จบต้องมีการแจ้งให้ญาติผู้เสียหายทราบก่อน

ทนายรณรงค์ยังบอกอีกว่า ส่วนตัวไม่เชื่อว่าเจ้าของผับเมาเท่นบีเป็นผู้สั่งให้หรือถอน เพราะตอนนี้เจ้าของผับก็ไม่อยากยุ่งกับผู้เสียหายและผู้เสียชีวิตแล้ว ถ้าตนเองรู้ว่าเจ้าของเมาเท่นบี มีส่วนในการสั่งรื้อถอน ตนเองจะไปยื่นเรื่องขอถอนประกันตัวที่ศาลทันที

ทนายรณรงค์ยังฝากวอนไปถึงรัฐบาลว่า หลังเกิดเหตุไม่กี่วันมีรัฐบาลเข้ามาพูดคุยกับผู้บาดเจ็บและญาติผู้เสียชีวิตว่า รัฐบาลมีกองทุนจากสำนักนายกรัฐมนตรี ช่วยเหลือผู้ประสบเหตุ รายละ 80,000 บาท แต่ล่าสุดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ปฏิเสธการเยียวยาช่วยเหลือเงินจำนวนดังกล่าวแล้ว โดยให้เหตุผลว่าไม่เข้าหลักเกณฑ์ จึงอยากฝากสำนักข่าว Top News เป็นสื่อกลางทวงถามไปยังรัฐบาลด้วย

Chonburi Sponsored
อำเภอ สัตหีบ

ช่วงประมาณรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 สัตหีบเป็นเพียงหมู่บ้านชายทะเล ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา หาของป่า และประมง การคมนาคมจะใช้ทางน้ำโดยเรือเมล์หรือเรือใบ ส่วนทางบกมีแต่ทางเกวียน ถนนไปชลบุรียังไม่มี ภูมิประเทศส่วนใหญ่ยังเป็นป่ารกทึบ การเดินทางระหว่างเมืองจึงใช้เรือเป็นหลัก ในหมู่บ้านสัตหีบ มีผู้ที่ชาวบ้านนับหน้าถือตามากอยู่คนหนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า "ยายแจง" แกมีฐานะดีมี ที่ดิน เรือ สวน ไร่นามากมาย ตลาดสัตหีบ หนองตะเคียนและโรงเรียนสิงห์สมุทรรวมถึงบริเวณเขาแหลมเทียนอันเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือสัตหีบในปัจจุบันก็เคยเป็นของแก ต่อมา เมื่อกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ทรงฝึกภาคทะเลกับกองเรือและทรงพักที่อ่าวสัตหีบ ทรงเห็นว่าอ่าวสัตหีบเหมาะเป็นที่ตั้งหน่วยเรือ เพราะมีเกาะใหญ่น้อยช่วยกำบังคลื่นลม พระองค์จึงได้บอกถึงพระประสงค์ที่จะใช้บริเวณเขาแหลมเทียนเป็นที่ตั้งหน่วยทหารเรือ ยายแจงก็ยินดีที่จะถวายให้