Chonburi Sponsored

รมต.เฮ้ง อนุรักษ์ประเพณีไทย ร่วมงานทอดกฐินสามัคคี หาเงินสมทบทุนสร้างศาลาวัด – TOPNEWS

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored
  • เผยแพร่ : 16/10/2022 12:31

เวลา 09.00 น.วันที่ 16 ต.ค.65 ที่วัดโกมุทรัตนาราม ต.อ่างศิลา อ.เมือง จ.ชลบุรี “รมต.เฮ้ง” นายสุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงาน น.ส.สุวิมล อรินทมะพงษ์ ภรรยา พร้อมด้วย น.ส.วิโลลักษณ์ อรินทมพะพงษ์ สมาชิกวุฒิสภา น.ส.ณภัสนันท์ อรินทมะพงษ์ รองนายกเทศมนตรีเทศบาลต.เสม็ด นายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นายธวัชชัย ศรีทอง ผวจ.ชลบุรี พล.ต.ต.กิตติ์ธเนศ ธนนันท์ทวีสิน ผบก.ชลบุรี นายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน นายนิยม สองแก้ว อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง ผช.รมว.แรงงาน  ดร.สุเทพ ชิตวงษ์ เลขานุการรมว.แรงงาน นายชัยวัฒน์ เป้าเปี่ยมทรัพย์ ส.ส.ฉะเชิงเทรา พล.ต.ต.นันทชาติ ศุภมงคล อดีตผบก.ชลบุรี พล.ต.ต.บัณฑิต คุณจักร์ อดีต ผบก.ชลบุรี นายสุรพงศ์ นำชัยรุจิพงศ์ สจ.เมืองชล  นายพรชัย ด้วงเงิน ส.จ.พนัสนิคม นายเสรี เรืองเดช ส.จ.พานทอง นายยศสิงห์ เหลี่ยมเลิศ ว่าที่ พ.ต.อ.ชาตรี สุขศิริ รอง.ผบก.ฉะเชิงเทรา พ.ต.อ.สุขทัศน์ พุ่มพันธุ์ม่วง รอง.ผบก.ตราด น.ส.วัชรรี อาจวารินทร์ หัวหน้าทะเบียนขนส่งชลบุรี ฯลฯ ได้ร่วมเดินทางมาร่วมงานทอดกฐินสามัคคี โดยในปีนี้ คุณแม่กนกรัตน์ กนกกาญจนรัตน์ เจ้าของร้านเพชรทอง99 กระรัต เป็นเจ้าภาพทอดกฐิน โดยครอบครัว “ชมกลิ่น”คุณพ่อวิเชียร คุณแม่สำเภา ชมกลิ่น พ่อแม่ของ “รมต.เฮ้ง”ได้ออกโรงทานพวกกันสำคัญเสมอ

โดยนำเบอเกอรี่มาแจกจ่ายให้ประชาชนที่มาร่วมทอดกฐินอย่างมีความสุข สำหรับบรรยากาศภายในบริเวณลานวัด เจ้าภาพได้มีการจัดคณะอังกอร์ มาจัดแสดงให้การต้อนรับผู้ใจบุญที่เดินทางมาร่วมอนุโมทนางานทอดกฐิน นอกจากนี้ได้มีพุทธศาสนิกชนจำนวนมากร่วมเป็นเจ้าภาพในการออกร้านโรงทาน

โดยนำอาหารคาวหวานมาออกร้านค้าบริการประชาชนจำนวนกว่า 30-40 ร้านค้าอาทิร้านค้า “กำนันจิ้ม”นายเกษม อินทโชติ ที่ปรึกษารมว.แรงงาน “กำนันสันต์”นายรังสรรค์ อินทโชติ กำนันต.บ้านปึก นายประสิทธิ์ อินทโชติ นายอำเภอพนัสนิคม  โดยมีชาวบ้านในต.อ่างศิลา ต.บ้านปึก ต.เสม็ด และในระแวกใกล้เคียงได้เดินทางมาร่วมงานบุญกันอย่างเนืองแน่น  เนื่องจากทางวัดโกมุทรัตนาราม ได้มีความประสงค์จะนำเงินทำบุญกฐินไปสมทบสร้างศาลาวัด โดยมียอดเงินทำบุญจำนวน 2,239,999 บาท

ธนา ธรรมวาจา / เจียรพรรณ สุรนันท์ ผู้สื่อข่าว ประจำ จ.ชลบุรี

Chonburi Sponsored
อำเภอ พนัสนิคม

สมัยเมืองพนัสนิคม ในปี พ.ศ. 2371 กำเนิดเมืองขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้กลุ่มลาวอาสาปากน้ำมาสร้างภูมิลำเนาขึ้นในพื้นที่รกร้างระหว่างเมืองชลบุรีกับเมืองฉะเชิงเทรา พระราชทานนามเมืองว่าพนัสนิคม (บางเอกสารเขียน“พนัศนิคม”) มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ขึ้นกับกรมท่า กรุงเทพมหานคร ให้ท้าวอินทิสาร (บางเอกสารเขียน”อินทพิศาล”) หรือ ท้าวทุม ปลัดลาว เมืองสมุทรปราการ บุตรชายคนโตของท้าวไชย (บางเอกสารเขียน”ศรีวิไชย”) อุปราชเมืองนครพนม ให้เป็นเจ้าเมืองพนัสนิคมคนแรกและพระราชทานราชทินนามและบรรดาศักดิ์ที่พระอินทอาษา (บางเอกสารเขียน“อินทรอาษา, อินทอาสา, อินทราษา“) มีข้อความในพระราชพงศาวดารว่า “พวกลาวอาสาปากน้ำ ตั้งขึ้นเมื่อครั้งในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ภายหลังเมื่อปีชวดสัมฤทธิศก พวกลาวไม่สบาย ขอไปตั้งอยู่ที่เมืองพระรถ จึงโปรดให้ตัดเอาแขวงเมืองชลบุรี เมืองฉะเชิงเทรา มาตั้งเป็นเมืองขึ้นชื่อเมืองพนัศนิคม เจ้าเมืองชื่อพระอินทอาษา” (พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 2 ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับคุรุสภา พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2504 หน้า 180) โดยลาวบุกเบิกเมืองพนัสนิคม เป็นลาวเมืองนครพนม อ้างถึงการอพยพมาสยามครั้งแรกนำโดยท้าวไชย อุปราชเมืองนครพนม เป็นโอรสในพระบรมราชา (ท้าวกู่แก้ว) เจ้าเมืองนครพนม (เมืองนครพนมในอดีต เป็นหัวเมืองในราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ประเทศราชของสยาม) ไม่สมัครใจอยู่ในปกครองของพระบรมราชา (มัง) เจ้าเมืองนครพนมคนใหม่ จึงอพยพพาสมัครพรรคพวก บุตรหลาน ท้าวเพี้ย ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2352 และโปรดเกล้าฯให้ตั้งบ้านเรือนอยู่คลองมหาวงษ์ เมืองสมุทรปราการ ยุคนั้นจึงเรียกคนกลุ่มนี้ว่าพวกลาวอาสาปากน้ำ แต่ทนสภาพแวดล้อมไม่ไหว เพราะเป็นชาวดอนน้ำจืด ถูกให้ไปอยู่เมืองลุ่มน้ำกร่อยและเค็ม เลยขอเปลี่ยนไปอยู่ที่อื่น ซึ่งสภาพใกล้เคียงที่ดอน ลาวนครพนมกลุ่มนี้ได้บุกเบิกสร้างเมืองพนัสนิคม