วันที่ 29 ม.ค. 2565 เวลา 13:52 น.
เมืองพัทยา- กทท.จัดประชาพิจารณ์นัดแรก ผลกระทบสิ่งแวดล้อม แผนพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 รับการขยายตัวทางเศรษฐกิจพื้นที่ EEC
เมื่อวันที่ 29 ม.ค.65 ที่อาคารอเนกประสงค์ โรงเรียนบ้านบางละมุง ต.บางละมุง อ.บางละมุง จ.ชลบุรี การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) จัดให้มีการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 1 ต่อโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังในระยะที่ 3 ในส่วนของท่าเทียบเรือเอฟ โดยเฉพาะการนำเสนอผลการศึกษาและจัด ทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม สำหรับโครงการ กิจการ หรือการดำเนินการที่อาจมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัย คุณภาพชีวิต ของประชาชนในชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งนี้ได้มีตัวแทนจาก บริษัท จีพีซี อินเตอร์เนชั่นแนล เทอร์มินอล จำกัด ซึ่งได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบในการ ศึกษาเข้าร่วมบรรยายสรุป โดยมีนายจรัญ ประกอบธรรม นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลตะเคียนเตี้ย ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงาน ท่ามกลางประชาชน ผู้มีส่วนได้เสีย และกลุ่มประมง รวมทั้งตัวแทน NGO เข้าร่วม
นางรังษิยา กมลพนัส ผู้ชำนาญการด้านสิ่งแวดล้อม บริษัท เอเชีย แล็ป แอนด์ คอนซัลแตนท์ จำกัด กล่าวว่าโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 เป็นโครงการที่ดำเนินการโดยการท่าเรือแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0 เพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานท่าเรือและระบบโครงข่ายขนส่งต่อเนื่องที่จะต่อเชื่อมกับภายนอกให้เพียงพอต่อการรอง รับการขยายตัวของปริมาณสินค้างเรือ และการขนส่งสินค้าประเภทต่างๆได้อย่างทันท่วงที ไม่ให้ประสบปัญหาด้านความแออัดและกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
ทั้งนี้สำหรับโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ในส่วนของท่าเรือเอฟนั้น เป็นโครงการที่ กทท.ได้เปิดโอกาสให้เอกชนเข้าร่วมในการพัฒนาในรูปแบบการร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชนหรือ PPP ซึ่งมีระยะเวลาสัมปทาน 35 ปี สำหรับพัฒนาท่าเทียบเรือขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ บนพื้นที่ประมาณ 690 ไร่ โดยมีความยาวหน้าท่าเทียบเรือ 1,000 เมตร มีพื้นที่หน้าท่ากว้าง 34.5 เมตร ซึ่งจจะสามารถรองรับการขนถ่ายตู้สิน ค้าได้กว่า 4 ล้านทีอียูต่อปี และสามารถรองรับเรือขนส่งสินค้าขนาด 1.7 แสนเดเวทตัน หรือบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ได้ 15,000 ตู้
อย่างไรโครงการดังกล่าวอาจมีผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมของชุมชนโดยรอบ ซึ่งได้กำหนดพื้นที่การศึกษาของโครงการครอบคลุมรัศมี 5 กม. โดยจะครอบคลุมพื้นที่ 22 ชุมชน จาก 4 ตำบลใน 2 อำเภอของหวัดชลบุรี ได้แก่ ศรีราชา และบางละมุง จึงได้ทำการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นดังกล่าวขึ้นเพื่อให้ข้อมูลกับผู้ได้รับผลกระทบในพื้นที่ศึกษา รวมทั้งหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องได้รับทราบถึงรายละเอียดของโครงการ ผลการสำรวจและศึกษาแนวทาง การประเมินผลกระทบสิ่ง แวดล้อมในด้านต่างๆทั้งทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัย คุณภาพชีวิตของประชาชน ก่อนจะรับฟังข้อเสนอแนะเพื่อรวบรวมนำไปแก้ไขปรับ ปรุง ก่อนกำหนดเป็นมาตร การเพื่อนำกลับมาจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นในครั้งที่ 2 และ 3 ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จเป็นร่างที่สมบูรณ์ภาย ในเดือนพฤศจิกายนนี้ จากนั้นจะได้นำเสนอต่อสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวด ล้อมแห่งชาติ (สผ.) เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ และเสนอเรื่องต่อรัฐบาลเพื่อจัดทำโครงการต่อไป.