Chonburi Sponsored

สังคมออนไลน์ภาคกลาง… ผู้ว่าฯอยุธยา ตรวจความพร้อมหลังเขื่อนเจ้าพระยา-ป่าสัก ระบายน้ำเพิ่ม | เดลินิวส์

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

ตรวจสอบความแข็งแรง

วันที่ 4 ตุลาคม 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายนิวัฒน์ รุ่งสาคร ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เดินทางเข้ากราบนมัสการ พระเทพรัตนมงคล เจ้าคณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา/เจ้าอาวาสวัดพนัญเชิงวรวิหาร ในโอกาสเดินทางมารับตำแหน่งใหม่ โดย ผู้ว่าราชการจังหวัดฯ ได้เสวนาธรรมกับ เจ้าคณะจังหวัดฯ ถึงความต้องการให้ทางจังหวัดสนับสนุนการเตรียมการป้องกันและช่วยเหลือวัดและพระภิกษุสงฆ์ ที่ไม่สามารถออกมารับบิณฑบาต หรือทำกิจของสงฆ์ได้ในพื้นที่ประสบอุทกภัย ซึ่งมีจำนวน 45 วัด จึงมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงไปมอบถุงยังชีพ หรือ อาหารปรุงสุก ให้การช่วยเหลือแก่วัดดังกล่าวโดยทันที โดยมี นายประทีป การมิตรี และ นายไพรัตน์ เพชรยวน รองผู้ว่าราชการจังหวัด พร้อมด้วย หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมลงพื้นที่

จากนั้น ได้เดินทางไปตรวจสอบความแข็งแรงของพนังกั้นน้ำ บริเวณท่าน้ำวัดพนัญเชิงวรวิหาร ที่ทางวัดได้ยกแผงป้องกันขึ้นเมื่อวานนี้ ซึ่งพบว่ายังมีรอยรั่วและแนวฟันหลอ ถ้าน้ำมีปริมาณสูงขึ้น จะทำให้น้ำเข้าท่วมวัดได้ จึงมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดกระสอบทราบและปั้นคันดิน เร่งเสริมแนวป้องกันให้แข็งแรงมั่นคงมากยิ่งขึ้น เพื่อเตรียมพร้อมรับมือมวลน้ำจากเขื่อนเจ้าพระยา และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จะไหลมารวมกันที่ บริเวณสามแยกวัดพนัญเชิงฯ แห่งนี้ (เผอิญ วุฒิภัทร ไทยสม / อยุธยา)

ต้อนรับ ผู้ว่าฯ สระบุรี

ช่วงเช้าของวันที่ 1 ตุลาคม 2565 นายผล ดำธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี พร้อมด้วย นางวันทนา ดำธรรม นายกเหล่ากาชาดจังหวัดสระบุรี เดินทางมาปฏิบัติราชการที่จังหวัดสระบุรี ในตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีคนใหม่ โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี นายสมภพ สมิตะสิริ พร้อมด้วย หัวหน้าส่วนราชการ นายอำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พี่น้องประชาชน ภาคเอกชน และสื่อมวลชน ให้การต้อนรับ ณ จวนผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี

โดยเมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีเดินทางมาถึงได้เข้าได้สักการะพระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ ที่วัดศาลาแดง อ.เมือง จ.สระบุรี จากนั้นเข้าสักการะศาลเจ้าพ่อหลักเมืองจังหวัดสระบุรี พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเหล้า เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอเมืองสระบุรี และเดินทางเข้าที่พักจวนผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี พร้อมสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และเปิดโอกาสให้ นายสมภพ สมิตะสิริ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี นำหัวหน้าส่วนราชการ นายอำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พี่น้องประชาชน ภาคเอกชน และสื่อมวลชน เข้าร่วมแสดงความยินดี

สำหรับ นายผล ดำธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี จบการศึกษา ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ) (รัฐศาสาตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต (รป.ม) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เข้าหลักสูตรโรงเรียนนายอำเภอ รุ่นที่ 49 หลักสูตรนักปกครองระดับสูง วิทยาลัยการปกครอง รุ่นที่ 55 ผ่านตำแหน่งสำคัญ อาทิ พ.ศ. 2550 นายอำเภอวังเจ้า จ.ตาก พ.ศ. 2552 นายอำเภอไพรบึง จ.ศรีษะเกษ พ.ศ. 2553 นายอำเภอลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี พ.ศ. 2554 นายอำเภอคลองหลวง จ.ปทุมธานี พ.ศ. 2555 นายอำเภอชุมพวง จ.นครราชสีมา พ.ศ. 2556 นายอำเภอพระพุทธบาท จ.สระบุรี พ.ศ. 2557 ปลัดจังหวัดนนทบุรี 10 ตุลาคม 2559 รองผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี 1 ตุลาคม 2560 รองผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี 23 ธันวาคม 2562 รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี 1 ตุลาคม 2563 ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ และ 1 ตุลาคม 2565 ดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี คนที่ 51 (สมนึก สุขีรัตน์ / สระบุรี)

รับตำแหน่งวันแรก

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายสุพจน์ ยศสิงห์คำ ผู้ว่าราชการจังหวัดสิงห์บุรีคนใหม่ เดินทางมารับตำแหน่งใหม่ ก่อนเข้าห้องปฏิบัติงานราชการวันแรก วันที่ 1 ตุลาคม 2565 ได้เข้าสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ พระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 5 ณ ศาลากลางจังหวัดสิงห์บุรี และไหว้พระพุทธนวราชบพิตรในห้องปฏิบัติงานราชการ ก่อนปฏิบัติงานห้องทำงาน และพบปะพูดคุยกับส่วนราชการที่มาให้การต้อนรับ โดยมี นายสัมฤทธิ์ กองเงิน พร้อม นายสมชาย ลีหล้าน้อย รองผู้ว่าราชการจังหวัดสิงห์บุรี หัวหน้าส่วนราชการ ภาครัฐและ กอรมน.จังหวัดสิงห์บุรี รายงานตัวต่อผู้ว่าราชการจังหวัดสิงห์บุรี

นายสุพจน์ ได้กล่าวกับ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสิงห์บุรี หัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่างๆ ว่าต้องเร่งกันช่วยกันแก้ปัญหาอุทกภัยหน่วยงานไหนมีปัญหาอะไรให้รายงานกับผู้ว่าราชการจังหวัดสิงห์บุรีโดยตรง เราต้องช่วยกันร่วมมือกันทุกภาคส่วนแล้วเราจะผ่านไปด้วยกัน พร้อมกับให้ผู้ประสบอุทกภัยได้รับความสะดวกและปลอดภัย (อำนาจ สุขเย็น / สิงห์บุรี)

ระดมวางบิ๊กแบ็ก

วันที่ 29 กันยายน ที่ผ่านมา ผู้สื่อข่าวรายงาน ว่าที่ร้อยตรี สมทรง สรรพโกศลกุล นายกเทศมนตรีเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา มอบหมายให้ ดต.สุรินทร์ ผดุงเพียร รองนายกเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา พร้อมด้วย นายศุภฤกษ์ พดุงเพียร สท.เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา นำกำลังเจ้าหน้าที่เทศบาลฯ พร้อมเครื่องจักรกล เร่งวางบิ๊กแบ็กกั้นน้ำที่บริเวณวัดศาลาปูนวรวิหาร ต.ท่าวาสุกรี อ.พระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หลังจากระดับน้ำในคลองเมืองที่รับน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา เพิ่มสูงขึ้นกว่า 40 เซนติเมตร เพื่อป้องกันน้ำเข้าท่วมบริเวณชุมชนด้านท้ายวัด กว่า 650 หลังเรือน

โดย พระครูอนุกูลศาสนกิจ เจ้าคณะอำเภอพระนครศรีอยุธยา เจ้าอาวาสวัดศาลาปูนวรวิหาร ได้ใช้พื้นที่เป็นศูนย์บัญชาการป้องกันน้ำท่วมเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา สำหรับสถานการณ์น้ำในจังหวัด ปัจจุบัน มีประชาชนได้รับผลกระทบน้ำล้นตลิ่งไหลเข้าท่วมบ้านเรือน รวม 9 อำเภอ 88 ตำบล 547 หมู่บ้าน 26,853 ครัวเรือน รวมพื้นที่การเกษตรได้รับผลกระทบ รวม 2,285.25 ไร่ โดย จังหวัดฯ ได้ประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัย และประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยฯ แล้ว จำนวน 6 อำเภอ 82 ตำบล 475 หมู่บ้าน 4 ชุมชน (เผอิญ วุฒิภัทร ไทยสม / อยุธยา)

เร่งสูบระบายน้ำ

เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2565 ที่ผ่านมา นางอมรรัตน์ กรึงไกร นายอำเภอเสนา ได้มอบหมายให้ นายวรงค์กรณ์ ไวพ่อค้า ปลัดอำเภอฝ่ายความมั่นคง พร้อมด้วยสมาชิก อส.ร้อย อส.อ.เสนา ที่ 13 ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีถนนทางหลวงชนบทเกิดการชำรุด กระแสน้ำไหลตัดผ่านถนน บริเวณเส้นเลียบคลองชลประทาน หมู่ 3 ตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอเสนา (แถวบริษัท โฮมมาร์ท หัวเวียง จำกัด) โดยผลการตรวจสอบ พบว่า จากการที่ฝนตกหนักติดต่อกัน 3 วัน ทำให้ถนนบริเวณดังกล่าวเกิดการชำรุด น้ำที่ท่วมบริเวณนั้นไหลเข้ามาท่วมขังบนถนนจริง แต่รถยังสามารถสัญจรผ่านเส้นทางดังกล่าวได้

ทั้งนี้ ทางหลวงชนบท อำเภอเสนา ได้นำรถสูบน้ำมาประจำบริเวณดังกล่าว เพื่อเร่งสูบระบายน้ำออกจากบริเวณพื้นผิวจราจรให้เร็วที่สุด อย่างไรก็ตาม อำเภอเสนา ได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด หากถนนเกิดการชำรุด ทรุดตัว หรือมีกระแสน้ำไหลผ่าน จะได้เร่งประสานงานกับทางหมวดทางหลวงชนบท ทันที

สำหรับสถานการณ์น้ำ วันนี้ เมื่อเวลา 06.00 น. ปริมาณการระบายน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยา (C13) ที่ 2,300 ลบ.ม/วินาที เพิ่มขึ้นจากค่ำเมื่อวาน 200 ลบ.ม/วินาที ในส่วนระดับน้ำ (C35) ที่ บ้านป้อม อ.พระนครศรีอยุธยา ระดับตลิ่ง 4.35 ม. ระดับน้ำ 4.79 ม. ระดับน้ำสูงขึ้น 17 ซม.

ส่วนปริมาณน้ำระบายท้ายเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ระดับการระบายน้ำท้ายเขื่อนพระรามหก อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรียุธยา ที่ 510 ลบ.ม/วินาที ระดับตลิ่ง 8 ม. ระดับน้ำ 5.95 ม. ระดับน้ำสูงขึ้น 21 ซม. และจุดวัดน้ำที่สถานี S.5 (สะพานปรีดี-ธำรง) อ.พระนครศรีอยุธยา ระดับตลิ่ง 4.70 ม. ระดับน้ำ 3.70 ม. ระดับน้ำสูงขึ้น 9 ซม.

ทั้งนี้ มีประชาชนได้รับผลกระทบน้ำล้นตลิ่งไหลเข้าท่วมบ้านเรือน รวม 9 อำเภอ 88 ตำบล 547 หมู่บ้าน 26,853 ครัวเรือน รวมพื้นที่การเกษตรได้รับผลกระทบ รวม 2,285.25 ไร่ โดย จังหวัดฯ ได้ประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัย และประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยฯ แล้ว จำนวน 6 อำเภอ 82 ตำบล 475 หมู่บ้าน 4 ชุมชน จังหวัดฯ ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กร สถาบันฯ ให้การสนับสนุนช่วยเหลือมอบถุงยังชีพให้กับผู้ประสบภัยน้ำท่วมแล้วกว่า 20,000 ชุด สิ่งของจำเป็น และยาป้องกันโรคที่มากับน้ำ เป็นต้น (วุฒิภัทร ไทยสม / อยุธยา)

ป่อเต็กตึ๊ง ช่วยน้ำท่วม

ในวันที่ 30 กันยายน 65 มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง กรุงเทพมหานคร ร่วมกับ มูลนิธิเชี่ยงเต็กตึ๊ง พระนครศรีอยุธยา นำเครื่องอุปโภค บริโภค ประกอบด้วยบะหมี่สำเร็จรูป ปลากระป๋อง น้ำปลา น้ำมันพืช มาแจกจ่ายแก่ผู้ประสบภัยน้ำท่วม ในโครงการ ฟื้นฟูหลังน้ำลด ณ บริเวณ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโพ อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 500 ชุด รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 175,000 บาท

นายวิเชียร เตชะไพบูลย์ ประธานมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ได้สั่งการให้แผนกบรรเทาสาธารณภัย จัดทีม กู้ชีพ กู้ภัย พร้อมเรือท้องแบน รวมทั้งกำลังอาสาสมัครกู้ภัยของมูลนิธิฯ ร่วมกับทาง มูลนิธิเชี่ยงเต็กตึ๊ง พระนครศรีอยุธยา ออกช่วยเหลืออพยพประชาชนออกจากพื้นที่น้ำท่วม และจัดตั้งโรงครัว แจกอาหารกล่อง น้ำดื่ม ถุงยังชีพ และยาเวชภัณฑ์ แก่ผู้ประสบภัย ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ศูนย์ข่าวภาคกลาง)

ตลาดราชมงคล

นายธีรพล ขุนเมือง อดีตอธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ (มทรส.)ในฐานะประธานคณะกรรมการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ เปิดเผยว่า จากการที่ มทรส. ปรับ “ตลาดราชมงคล” เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน ควบคู่กับการส่งเสริมการเรียนการสอนนักศึกษาให้เป็นผู้ประกอบการสู่มืออาชีพ โดยจัดตั้ง บริเวณริมถนนสายเอเชีย ข้างตลาดกกลางกุ้ง ขาเข้ากรุงเทพฯ ตำบลหันตรา อำเภอพระนครศรีอยุธยา ได้เปิดอย่างเป็นทางการในวันนี้ วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป

โดยเชิญชวนชุมชนต่างๆที่ มทรส.ไปสนับสนุนส่งเสริมบริการทางวิชาการนำผลิตภัณฑ์มาจำหน่ายอาทิ น้ำปลาหวานออเจ้า หมี่กรอบโบราณแม่บุญชู/น้ำพริกผักสด จากกลุ่มสตรีบางปะหัน และมีคณะต่างๆของ มทรส.นำผลิตภัณฑ์ที่ส่งเสริมในชุมชนมาจำหน่ายด้วยได้แก่ คณะเทคโนโลยีการเกษตรฯ มีปลาส้ม ซอสมะขามสามรส ซอสเห็ดตับเต่า ข้าวหอมแม่ลา น้ำอินทผาลัม ผลิตภัณฑ์จากผ้าขาวม้า เป็นต้น คณะบริหารธุรกิจฯได้แก่ น้ำพริกและข้าวหมากโพธิ์สามต้น กระเป๋าผักตบชวา คณะวิศวกรรมศาสตร์ฯ มีน้ำมันนวดคลายเส้นสมุนไพรจันทร์โสม คณะวิทยาศาสตร์ฯ นำสเปรย์บรรเทาปวดกระหม่อม น้ำมันเหลือง และยาดมสมุนไพร นอกจากนั้นบริเวณตลาดยังมีกุ้งแม่น้ำ ปลาแม่น้ำสดๆ คุณภาพดี มาจำหน่ายในราคาย่อมเยา ควบคู่กับมีร้านอาหารบรรยากาศดี รสชาติเยี่ยม ราคาถูก รอรับผู้มาเยือนที่ตลาดด้วย

นายสุวุฒิ ตุ้มทอง รองอธิการ มทรส.กล่าวเพิ่มเติมว่าตลาดราชมงคลจะเปิดจำหน่ายทุกวันและโดยเฉพาะ เสาร์-อาทิตย์จะเชิญชวนชุมชนต่างๆที่ มทรส.เข้าไปส่งเสริม นำผลิตภัณฑ์มาจำหน่ายเพิ่มเติม เพื่อเปิดช่องทางการตลาดให้ชุมชนได้จำหน่ายสินค้า เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและสร้างรายได้ให้ชุมชนในพื้นที่อีกทางหนึ่ง และให้นักศึกษาคณะต่างๆมาฝึกปฏิบัติจริงสู่การเป็นผู้ประกอบการมืออาชีพด้วย ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของ สภามหาวิทยาลัยฯ ในการพัฒนาขีดความสามารถให้บุคลากร นักศึกษารวมทั้งชุมชนในท้องถิ่นได้ประโยชน์สูงสุดจากการเรียนการสอน เป็นการให้บริการแก่ชุมชน สังคม บนพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ศูนย์ข่าวภาคกลาง)

มอบถุงยังชีพ

วันที่ 2 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมาผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายนิพนธ์ สีตะระโส นายกเทศมนตรีตำบลทับยา มอบถุงยังชีพให้กับประชาชนที่ประสบอุทักภัยในเขตเทศบาลตำบลทับยา หมู่ 3 ซึ่งนายกนิพนธ์ ได้ประสานไปยัง นางสาวชาลิตาญาดา พูนมา จาก บริษัท พี.เอ.โมบาย จำกัด กรุงเทพฯ และประสานไปยัง นายศุภวัฒน์ เทียนถาวร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสิงห์บุรี และสมาชิกสภาฯ นำน้ำดื่มมามอบให้ผู้ประสบภัยกว่า 400 แพ็คโดยก่อนหน้านี้ อบจ.สิงห์บุรี ได้ลงพื้นช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ที่ตำบลอินทร์บุรี

โดยในเขตเทศบาลตำบลทับยา ได้ลงพื้นที่ร่วมกันเพื่อมอบถุงยังชีพ อาทิ ข้าวสาร อาหารแห้ง และน้ำดื่มแบบแพ็ก ให้แก่ประชาชนที่ประสบอุทกภัยที่ หมู่ 1, 5, 7 ตำบลทับยา อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี จำนวน 252 ครัวเรือน เพื่อบรรเทาทุกข์ให้กับประชาชนในเบื้องต้น โดย นายนิพนธ์ สีตะระโส นายกเทศมนตรีตำบลทับยาพร้อมคณะร่วมให้การต้อนรับ และอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนผู้ประสบอุทกภัยที่มาร่วมรอรับถุงยังชีพวันนี้ (อำนาจ สุขเย็น / สิงห์บุรี)

อยุธยาไม่ทอดทิ้งกัน

ศูนย์การค้าอยุธยาซิตี้พาร์ค ร่วมกับ สมาคมผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ พระนครศรีอยุธยา นำโดยผู้บริหารศูนย์การค้าฯ คุณปพน ด่านชัยวิโรจน์ คุณปภาวี ด่านชัยวิโรจน์ ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ดร.สมพล รัชตพิมลชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการตลาด คณะผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ศูนย์การค้าอยุธยาซิตี้พาร์ค พร้อมด้วย คุณสัมฤทธิ์ เจียมเจริญพรกุล อุปนายกสมาคมผู้สื่อข่าวฯ คุณเดชา อุ่นขาว เลขาธิการสมาคมฯ และสื่อมวลชนสมาชิกสมาคมผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ พระนครศรีอยุธยา เดินทางลงพื้นที่หมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 3 ต.บ้านพลับ อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อมอบถุงยังชีพจากโครงการเปิดรับบริจาคช่วยเหลือน้ำท่วม “ชาวอยุธยา ไม่ทอดทิ้งกัน ร่วมปันน้ำใจ ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม” แก่ประชาชนที่ประสบอุทกภัยจำนวน 130 ชุด โดยมี คุณวัชระ กระแสร์ฉัตร์ นายอำเภอบางปะอิน คุณเอนกพงศ์ รื่นพิทักษ์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 2 และคุณนฤชา รื่นพิทักษ์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 3 ตำบลบ้านพลับ อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ให้การต้อนรับ โดยหมู่บ้านดังกล่าว เป็นชุมชนริมเจ้าพระยาที่ถูกน้ำท่วมนานกว่า 2 เดือน ซึ่งขณะนี้น้ำท่วมเต็มพื้นที่แล้ว (ศูนย์ข่าวภาคกลาง)

ตักบาตรพระสงฆ์ทางเรือ

วันที่ 4 ตุลาคม 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ริมเขื่อนท่าน้ำวัดสนามเหนือ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี นายวิชัย บรรดาศักดิ์ นายกเทศมนตรีนครปากเกร็ด พร้อมด้วยผู้บริหารคณะเทศบาล ร่วมกันแถลงข่าวจัดงานทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ทางเรือ และรับชมเรือรับบิณฑบาตตกแต่งสวยงามจากชุมชนในอำเภอปากเกร็ด, ขบวนแห่อัญเชิญพระพุทธรูป, การแสดงนิทรรศการประวัติความเป็นมาของงานประเพณีตักบาตรพระสงฆ์ทางเรือ, สาธิตการทำอาหารพื้นบ้าน, การออกร้าน จำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน อาหารพื้นบ้าน รวมถึงการแสดงศิลปวัฒนธรรมไทย-รามัญ, การแสดงลิเกจากคณะพรเทพ พรทวี ณ บริเวณท่าน้ำ หัวถนน ปากเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

โดยงานประเพณีตักบาตรพระสงฆ์ทางเรือ หรือการตักบาตรทางน้ำ เป็นการทำบุญปวารณาออกพรรษาในวัน แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ในสมัยอดีต ถือว่าเป็นการทำบุญที่สำคัญรองลงมาจากการทำบุญสงกรานต์ โดยชาวรามัญหรือชาวมอญ เชื่อว่าวันนี้เป็นวันที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ลงมายังโลกมนุษย์ จึงมีการตักบาตรที่ริมน้ำหน้าวัดสำคัญของชุมชนชาวมอญ เรียกว่า “ตักบาตรพระร้อย” หรือ “ตักบาตรทางเรือ” เนื่องจากวันนี้จะมีพระสงฆ์จากวัดต่าง ๆ มารับบิณฑบาตตั้งแต่เช้าจากชาวบ้านที่รอเตรียมใส่บาตรอยู่ทั้งสองฟากฝั่งแม่น้ำ โดยเรือแต่ละลำจะตกแต่งสวยงาม และจะมีเหล่าฝีพายร้องลำทำเพลงสนุกสนานครึกครื้น ทำให้การ ตักบาตรทางน้ำมีสีสัน สนุกสนาน มีการให้จังหวะประกอบในการกำกับการพายเรือตามแบบมอญดั้งเดิม ซึ่งประเพณีดังกล่าวจะหาชมได้ยากยิ่งในปัจจุบัน ทั้งนี้งานจะจัดขึ้นในวันที่ 8- 9 ต.ค.65 ณ.หัวถนนท่าน้ำปากเกร็ด จึงขอเชิญชวนพี่น้องชาวปากเกร็ด และใกล้เคียงมาร่วมงานสืบสานประเพณีของชาวไทยเชื้อสายมอญในครั้งนี้กันอย่างพร้อมเพียงในวันและเวลาดังกล่าวด้วย (สมคิด-สมนึก ลือประดิษฐ / นนทบุรี)

กองทัพอากาศเคียงข้างประชาชน

ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กองบิน 4 นำกำลังพล ยานพาหนะ และอุปกรณ์ ช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากเหตุอุทกภัยในพื้นที่อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท

นาวาอากาศเอก เนาวมรัตน์ ประพัฒน์ทอง ผู้บังคับการกองบิน 4 ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กองบิน 4 สั่งการศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กองบิน 4 นำกำลังพล ยานพาหนะ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากเหตุอุทกภัยในพื้นที่ อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท โดยปฏิบัติภารกิจบรรจุกระสอบทราย ทำแนวพนังกั้นน้ำ เพื่อป้องกันน้ำไหลท่วมบ้านเรือนของประชาชน รวมถึงยกสิ่งของและขนย้ายสิ่งของขึ้นพื้นที่ปลอดภัย เพื่อลดความเสียหายและช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนอย่างเต็มกำลัง ณ ตำบลตลุก ตำบลหาดอาษา ตำบลโพดำนางออก และตำบลบางหลวง อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท เมื่อ 29 กันยายน 2565 (อุทัย นิ่มสิทธิกุล / นครสวรรค์)

ระดมทีมช่วยเหลือประชาชน

นายมานพ จันทร์ปิยวงศ์ นายอำเภอชัยบาดาล จ.ลพบุรี นำปลัดอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มูลนิธิอาสาสมัครกู้ภัย ทหารกองบิน 2 ทหารหน่วยค่ายเอราวัณ ทหารศูนย์ฝึกทางยุทธวิธีกองทัพบก พร้อมอุปกรณ์ เข้าช่วยอพยพประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำไหลหลาก รวมทั้งน้ำในแม่น้ำป่าสักที่มีระดับสูงขึ้น จนล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนในพื้นที่ ต.หนองยายโต๊ะ ต.บัวชุม ต.นาโสม ต.ท่ามะนาว ต.ลำนารายณ์ ต.นิคมลำนารายณ์ และ ต.เกาะรัง รวม 7 ตำบล 32 หมู่บ้าน เพื่อเคลื่อนย้ายสิ่งของรวมทั้งประชาชและสัตว์เลี้ยงไปที่ปลอดภัย

สำหรับการเปิดศูนย์อพยพ/พักพิง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้เปิดศูนย์อพยพ/พักพิง จำนวน 3 แห่ง ประกอบด้วย ศูนย์พักพิง อบต.ลำนารายณ์ มีผู้อพยพเข้าพักอาศัย ศูนย์อพยพ วิทยาลัยการอาชีพชัยบาดาล ต.บัวชุม และศูนย์อพยพโรงเรียนบ้านนาโสม และศูนย์เรียนรู้ อบต.นาโสม (กฤษณพงศ์ อยู่รอด-ธนพล อาภรณ์พงษ์ / ลพบุรี)

เชิญสิ่งของพระราชทานให้แก่ผู้ประสบอุทกภัย

นายอำพล อังคภากรณ์กุล ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี ประธานคณะกรรมการมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำจังหวัดลพบุรี เชิญสิ่งของพระราชทานจำนวน 1,000 ชุด มอบแก่กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และตัวแทนผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่อำเภอลำสนธิ พร้อมทั้งให้กำลังใจแก่ผู้ประสบอุทกภัย ผู้นำชุมชน

ทั้งนี้ สืบเนื่องจากได้เกิดฝนตกหนักในพื้นที่อำเภอลำสนธิ ปริมาณน้ำฝนสูงสุด 200 มิลลิเมตร ที่สถานีวัดน้ำฝนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา ตำบลกุดตาเพชร ส่งผลให้อำเภอลำสนธิ ได้รับความเสียหาย จำนวน 5 ตำบล 44 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 8,218 ครัวเรือน พื้นที่การเกษตรเสียหาย 2,832 ไร่ ถนนเสียหาย 20 สาย ฝาย 2 แห่ง

ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี ประธานคณะกรรมการมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำจังหวัดลพบุรี พร้อมด้วยนายกเหล่ากาชาดจังหวัดลพบุรีและคณะ ได้เดินทางไปมอบสิ่งของพระราชทาน ให้แก่ ผู้พิการ ซึ่งเป็นผู้ประสบภัยพิบัติในหมู่ที่ 7 ตำบลหนองรี จำนวน 2 ราย ได้แก่ นางสาวจุฑามาศ คูนา และนายพงษ์สิทธิ์ คูนา ผู้พิการทางด้านการเคลื่อนไหว และสติปัญญา (กฤษณพงศ์ อยู่รอด ธนพล อาภรณ์พงษ์ / ลพบุรี)

Chonburi Sponsored
อำเภอ เกาะจันทร์

พ.ศ. 2371 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้กลุ่มชาวลาวอาสาปากน้ำ บุกเบิกสร้างเมืองพนัสนิคม เป็นเมืองชั้นจัตวา สังกัดกรมท่า โดยบริเวณท่าบุญมี เป็นท่าน้ำและท่าเกวียน ขนส่งสินค้าป่าสู่เมืองพนัสนิคม ตั้งอยู่อยู่ในอาณาเขตเมืองพนัสนิคม พ.ศ. 2441 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีการปฏิรูปการปกครองประเทศและจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาล ให้เมืองพนัสนิคมเป็นอำเภอพนัสนิคม ยกฐานะเป็นตำบลท่าบุญมี ในอดีตมีสภาพเป็นป่าอุดมสมบูรณ์ ปรากฏหลักฐานบันทึกชื่อดงในตำบลท่าบุญมี เช่น ดงดอกไม้ ดงรากไม้ เป็นต้น โดยอาจมีต้นจันทน์มาก จึงเรียกว่า "เกาะจันทร์"