Chonburi Sponsored

ชลบุรียังเอาอยู่! ผู้ว่าฯ สำรวจอ่างเก็บน้ำทั่วพื้นที่รับไหว

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

พายุโนรูพ่นพิษชลบุรี น้ำท่วมบ้านเรือนประชาชนกว่า 1,500 หลังคาเรือน   ผู้ว่าฯลงพื้นที่ตรวจอ่างเก็บน้ำ 13 แห่งทั่วจังหวัด  ยันชัดสามารถรับมวลน้ำได้อีก 20 เปอร์เซ็นต์ ยังรับมือน้ำฝนได้สบาย 

2 ต.ค.2565 –  นายธวัชชัย  ศรีทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี คนใหม่ พร้อมด้วย นาง ประภัสรา ศรีทอง ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดชลบุรี และนายกเหล่ากาชาดจังหวัดชลบุรี พร้อมคณะข้าราชการจังหวัดชลบุรี เดินทาง ไปที่ อ่างเก็บน้ำคลองหงวงรัชโรธร ต.ท่าบุญมี อ.เกาะจันทร์ จ.ชลบุรี พร้อมรับฟังคำสรุปสถานการณ์ การป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยของ จ.ชลบุรี หลังพบว่า ปริมาณน้ำฝนจากพายุโนรูที่ผ่านมา ทำให้น้ำท่วมบ้านเรือนประชาชนกว่า 1,500 หลังคาเรือน สร้างความเดือดร้อน ในพื้นที่ 4 อำเภอ ประกอบด้วย พนัสนิคม, บ้านบึง, พานทอง และ อ.เมือง รวม 19 ตำบล 98 หมู่บ้าน ถนนถูกน้ำท่วมขัง 5 เส้นทาง โรงเรียนจมบาดาล 1 แห่ง วัด 2 แห่ง โบราณสถาน 1 แห่ง พื้นที่การเกษตร 1,212.75 ไร่  

ทั้งนี้ปัจจุบัน ปัญหาของน้ำท่วม ได้คลี่คลาย ลงไป 3 อำเภอ คือ บ้านบึง พานทอง และ อ.เมืองชลบุรี ส่วนที่เหลือคือ อ.พนัสนิคม ที่ ต.ไร่หลักทอง ยังคงมีมวลน้ำหลัก ทำให้น้ำยังท่วมบ้านเรือนประมาณอีกกว่า 50 หลังคาเรือน เร่งสูบน้ำลงแหล่งธรรมชาติ คาดว่า หากฝนไม่ตกลงมาเติม สถานการณ์จะคลี่คลายกลับมาปกติ ภายใน 4 – 7 วัน

นายธวัชชัย กล่าวว่า จากการตรวจสอบอ่างเก็บน้ำหลักทั้ง 12 จาก 13  แห่งทั่วจังหวัดชลบุรี มีปริมาณน้ำในอ่างเกินร้อยละ 80 จึงจำเป็นต้องระบายน้ำออก โดยเฉพาะอ่างเก็บน้ำคลองหลวงรัชโรธรต้องเร่งระบายน้ำที่ปริมาณ 11.974 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที หรือวันละ 1.03 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน แต่อย่างไรก็ตาม  ยังคงสามารถรับมือกับมวลน้ำได้อยู่   หลังประชุมรับฟังเสร็จ ผวจ.ชลบุรี นำคณะ เดินทางไปที่ หมู่ 2,5,6 ของ ต.ไร่หลักทอง อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี เพื่อนำถุงยังชีพเข้าไปแจกให้กับชาวบ้าน และดูปริมาณน้ำท่วมสูงจากกว่า 100 เซนติเมตร ซึ่งลดลงเหลือเพียง 30 เซนติเมตร คาดว่า หากฝนไม่ตกจะกลับสู่ภาวะปกติภาย 4-7 วันนี้.                                                                                        

Chonburi Sponsored
อำเภอ พนัสนิคม

สมัยเมืองพนัสนิคม ในปี พ.ศ. 2371 กำเนิดเมืองขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้กลุ่มลาวอาสาปากน้ำมาสร้างภูมิลำเนาขึ้นในพื้นที่รกร้างระหว่างเมืองชลบุรีกับเมืองฉะเชิงเทรา พระราชทานนามเมืองว่าพนัสนิคม (บางเอกสารเขียน“พนัศนิคม”) มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ขึ้นกับกรมท่า กรุงเทพมหานคร ให้ท้าวอินทิสาร (บางเอกสารเขียน”อินทพิศาล”) หรือ ท้าวทุม ปลัดลาว เมืองสมุทรปราการ บุตรชายคนโตของท้าวไชย (บางเอกสารเขียน”ศรีวิไชย”) อุปราชเมืองนครพนม ให้เป็นเจ้าเมืองพนัสนิคมคนแรกและพระราชทานราชทินนามและบรรดาศักดิ์ที่พระอินทอาษา (บางเอกสารเขียน“อินทรอาษา, อินทอาสา, อินทราษา“) มีข้อความในพระราชพงศาวดารว่า “พวกลาวอาสาปากน้ำ ตั้งขึ้นเมื่อครั้งในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ภายหลังเมื่อปีชวดสัมฤทธิศก พวกลาวไม่สบาย ขอไปตั้งอยู่ที่เมืองพระรถ จึงโปรดให้ตัดเอาแขวงเมืองชลบุรี เมืองฉะเชิงเทรา มาตั้งเป็นเมืองขึ้นชื่อเมืองพนัศนิคม เจ้าเมืองชื่อพระอินทอาษา” (พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 2 ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับคุรุสภา พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2504 หน้า 180) โดยลาวบุกเบิกเมืองพนัสนิคม เป็นลาวเมืองนครพนม อ้างถึงการอพยพมาสยามครั้งแรกนำโดยท้าวไชย อุปราชเมืองนครพนม เป็นโอรสในพระบรมราชา (ท้าวกู่แก้ว) เจ้าเมืองนครพนม (เมืองนครพนมในอดีต เป็นหัวเมืองในราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ประเทศราชของสยาม) ไม่สมัครใจอยู่ในปกครองของพระบรมราชา (มัง) เจ้าเมืองนครพนมคนใหม่ จึงอพยพพาสมัครพรรคพวก บุตรหลาน ท้าวเพี้ย ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2352 และโปรดเกล้าฯให้ตั้งบ้านเรือนอยู่คลองมหาวงษ์ เมืองสมุทรปราการ ยุคนั้นจึงเรียกคนกลุ่มนี้ว่าพวกลาวอาสาปากน้ำ แต่ทนสภาพแวดล้อมไม่ไหว เพราะเป็นชาวดอนน้ำจืด ถูกให้ไปอยู่เมืองลุ่มน้ำกร่อยและเค็ม เลยขอเปลี่ยนไปอยู่ที่อื่น ซึ่งสภาพใกล้เคียงที่ดอน ลาวนครพนมกลุ่มนี้ได้บุกเบิกสร้างเมืองพนัสนิคม