Chonburi Sponsored

หน่วยซีล ส่งมอบการบังคับบัญชา ผู้บัญชาการรบพิเศษท่านใหม่ – TOPNEWS

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored
  • เผยแพร่ : 29/09/2022 11:28

วันที่ 29 ก.ย.65 ที่บริเวณลานพระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หน้ากองบัญชาการ หน่วยสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี พลเรือตรี ศุภชัย ธนสารสาคร ผู้บัญชาการ หน่วยสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ (ผบ.นสร.กร.) ได้กระทำพิธีรับ-ส่งหน้าที่ พร้อมมอบธงสายการบังคับบัญชาให้แก่ พลเรือตรี ทินกร กาญจนเตมีย์ ผู้ชำนาญการกองทัพเรือ ขึ้นดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการ (ท่านใหม่) ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม เป็นต้นไป โดยมี นายทหารชั้นผู้ใหญ่ พร้อมหัวหน้าหน่วยขึ้นตรง ข้าราชการ และลูกจ้าง ร่วมเป็รสักขีพยาน

พลเรือตรี ศุภชัย ได้กล่าวขอบคุณกำลังพล ที่ทุ่มเทแรงกายแรงใจ ร่วมมือปฏิบัติภารกิจด้วยดีตลอดระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่ง 3 ปี ทำให้สามารถแก้ปัญหา และอุปสรรค ข้อขัดข้องต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และตามที่ พลเรือตรี ทินกร กาญจนเตมีย์ ผู้ชำนาญการกองทัพเรือ ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการท่านใหม่นั้น นับได้ว่าเป็นผู้ที่มีความพร้อมในการดำรงตำแหน่ง และมีความรู้ความสามารถ ซึ่งจะเป็นผู้นำความเจริญให้แก่หน่วยต่อไป

ด้าน พลเรือตรี ทินกร กล่าวว่า หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ เป็นหน่วยกำลังรบพิเศษ ของกองเรือยุทธการ และกองทัพเรือ มีภารกิจและความรับผิดชอบที่สำคัญ ส่งผลโดยตรงต่อความสำเร็จของกองเรือยุทธการ และกองทัพเรือ จึงเป็นหน้าที่ของกำลังพลทุกนาย ที่จะต้องมุ่งมั่นทุ่มเท แรงกาย แรงใจ และกำลังสติปัญญา ในการหมั่นฝึกฝน ศึกษาหาความรู้ เพื่อให้มีความพร้อมปฏิบัติภารกิจที่ได้รับมอบหมายอย่างสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพ
พร้อมกล่าวว่า มีความมุ่งหวังที่จะพัฒนาหน่วย ให้เป็นกำลังปฏิบัติการพิเศษทางเรือที่มีมาตรฐานในทุกด้าน ทั้งในด้านการปฏิบัติงาน และด้านสวัสดิการกำลังพล เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อภารกิจในปัจจุบัน ที่มีสถานการณ์และภัยคุกคามรูปแบบใหม่ที่ซับซ้อนมากขึ้น อีกทั้งให้ได้มีผลงานเป็นที่ยอมรับ สามารถสร้างชื่อเสียงให้แก่กองทัพเรือ และประเทศชาติสืบไป

พัชรพล ปานรักษ์ / ณัฐภูมินทร์ ปานรักษ์ ผู้สื่อข่าว ประจำ จ.ชลบุรี

Chonburi Sponsored
อำเภอ สัตหีบ

ช่วงประมาณรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 สัตหีบเป็นเพียงหมู่บ้านชายทะเล ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา หาของป่า และประมง การคมนาคมจะใช้ทางน้ำโดยเรือเมล์หรือเรือใบ ส่วนทางบกมีแต่ทางเกวียน ถนนไปชลบุรียังไม่มี ภูมิประเทศส่วนใหญ่ยังเป็นป่ารกทึบ การเดินทางระหว่างเมืองจึงใช้เรือเป็นหลัก ในหมู่บ้านสัตหีบ มีผู้ที่ชาวบ้านนับหน้าถือตามากอยู่คนหนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า "ยายแจง" แกมีฐานะดีมี ที่ดิน เรือ สวน ไร่นามากมาย ตลาดสัตหีบ หนองตะเคียนและโรงเรียนสิงห์สมุทรรวมถึงบริเวณเขาแหลมเทียนอันเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือสัตหีบในปัจจุบันก็เคยเป็นของแก ต่อมา เมื่อกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ทรงฝึกภาคทะเลกับกองเรือและทรงพักที่อ่าวสัตหีบ ทรงเห็นว่าอ่าวสัตหีบเหมาะเป็นที่ตั้งหน่วยเรือ เพราะมีเกาะใหญ่น้อยช่วยกำบังคลื่นลม พระองค์จึงได้บอกถึงพระประสงค์ที่จะใช้บริเวณเขาแหลมเทียนเป็นที่ตั้งหน่วยทหารเรือ ยายแจงก็ยินดีที่จะถวายให้