Chonburi Sponsored

คืนดาบ-ปืนโบราณ เพชฌฆาตดาบคนสุดท้าย กลับพิพิธภัณฑ์บางขวาง

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

กรมราชทัณฑ์ มอบตู้เก็บรักษาดาบและปืนประหาร 100 ศพ ของนายเหรียญ เพิ่มกำลังเมือง เพชฌฆาตดาบคนสุดท้ายของไทย เพื่อเก็บรักษาไว้พิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์แห่งใหม่ จ.นนทบุรี พร้อมเปิดแสดง พ.ย.นี้

วันนี้ (29 ก.ย.2565) นายธวัชชัย ชัยวัฒน์ รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ฝ่ายบริหาร มอบตู้เก็บรักษาดาบ และปืนประหารชีวิตโบราณ ของนายเหรียญ เพิ่มกำลังเมือง ซี่งเป็นเพชฌฆาตดาบคนสุดท้ายของประเทศไทย”เพื่อเก็บรักษาไว้ ณ พิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์แห่งใหม่ กรมราชทัณฑ์ จ.นนทบุรี

สำหรับดาบประหารชีวิตนี้ ได้ผ่านการประหารชีวิต นักโทษมาแล้ว 53 ศพ และต่อมาได้เปลี่ยนการประหารชีวิตเป็นการประหารด้วยปืน เมื่อปี 2477

ภาพ : กรมราชทัณฑ์

โดยนายเหรียญ ยังคงรับหน้าที่เป็นเพชฌฆาตปืนต่ออีกระยะหนึ่ง (คนที่ 2 ต่อจาก จ.ส.ต.ทิพย์ มียศ) และได้ประหารชีวิตนักโทษอีก 47 ศพ สำหรับปืนประหารชีวิต เป็นชนิดปืนแบล็คมันด์ ผลิตในประเทศเยอรมนี และสเปน และปัจจุบันการประหารชีวิตทั้ง 2 วิธี ได้ถูกยกเลิกไปแล้วเมื่อปี 2546 เป็นการประหารชีวิตด้วยการฉีดสารพิษ 

รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ กล่าวว่า แต่ประวัติศาสตร์ที่ยาวนานได้บอกเล่าเรื่องของการราชทัณฑ์ในอดีต สะท้อนให้เห็นวิวัฒนาการทางความคิดภูมิปัญญา ปรัชญาการลงทัณฑ์ในสมัยก่อนที่ว่าการลงทัณฑ์รุนแรงถึงชีวิตนั้น เพื่อเป็นการป้องปราม และป้องกันให้คนหวาดกลัวไม่กล้ากระทำผิดความผิดกฎหมายบ้านเมือง มิให้มีการเอาเป็นเยี่ยงอย่าง

ภาพ : กรมราชทัณฑ์

เตรียมเปิดพิพิธภัณฑ์เดือน พ.ย.นี้

สำหรับพิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์แห่งใหม่ มีกำหนดเปิดทำการจัดแสดงอีกครั้งภายในเดือนพ.ย.นี้ 2565 หลังจากปิดตัวลงเมื่อปี 2557 ใช้เวลากว่า 8 ปี เพื่อย้ายที่ทำการเดิมจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานครเดิม (สวนรมนีนาถ) กทม. กลับมาจัดแสดงยังจุดเริ่มต้นกรมราชทัณฑ์ จ.นนทบุรี

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการรักษาสภาพวัตถุ เครื่องมือ อุปกรณ์จริง ซึ่งถือเป็นมรดกทางประวัติศาสตร์ในงานราชทัณฑ์ที่ทรงคุณค่า และหาจากที่ไหนไม่ได้ ให้ถูกจัดเก็บรักษาไว้ในที่ที่เหมาะสมอย่างปลอดภัย เพื่ออนุรักษ์ให้กับข้าราชการ ประชาชนอนุชนคนรุ่นหลังได้เรียนรู้ 

ภาพ : กรมราชทัณฑ์

Chonburi Sponsored
อำเภอ บางละมุง

อำเภอบางละมุงแต่เดิมมีฐานะเป็นเมืองบางละมุง ตั้งอยู่ที่บ้านบางละมุง ตำบลบางละมุง จนถึง พ.ศ. 2444 ได้ยุบเมืองบางละมุงเป็นอำเภอขึ้นต่อจังหวัดชลบุรี โดยมีที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่บริเวณริมคลองนกยาง ซึ่งขณะนั้นบริเวณดังกล่าวเป็นท่าน้ำที่สำคัญทั้งทางด้านการคมนาคมและเป็นที่ชุมนุมของเรือสินค้าต่าง ๆ ต่อมาคลองนกยางตื้นเขินไม่สะดวกต่อเรือสินค้าต่าง ๆ จะล่องเข้าออก ทั้งสภาพพื้นที่ไม่เหมาะสมที่จะขยายชุมชนให้กว้างขวาง นายอำเภอสมัยนั้น คือ นายเจิม (ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาสัตยานุกูล) จึงย้ายที่ว่าการอำเภอไปตั้งที่ใหม่บริเวณริมทะเลในตำบลนาเกลือ เมื่อ พ.ศ. 2452