Chonburi Sponsored

วธ. เปิดตัว 10 Influencer รุ่นใหม่ เล่าเรื่อง “เที่ยวชุมชน ยลวิถี”

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

การศึกษา

วธ. เปิดตัว 10 Influencer รุ่นใหม่ เล่าเรื่อง “เที่ยวชุมชน ยลวิถี”

วันพฤหัสบดี ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2565, 14.20 น.

ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่

วธ. เปิดตัว 10 Influencer รุ่นใหม่ เล่าเรื่อง “เที่ยวชุมชน ยลวิถี”

นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานพิธีแถลงข่าวโครงการชุมชนแชมป์เปี้ยน นักเล่าเรื่อง “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” โดยมีนายโกวิท ผกามาศ ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย นายประสพ เรียงเงิน หัวหน้าผู้ตรวจกระทรวงวัฒนธรรม นายจาฤก กัลย์จาฤก ประธานกรรมการ บริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด นายอกนิษฐ์ มาโนษยวงศ์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายงานการผลิตคอนเทนต์ บริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม วัฒนธรรมจังหวัด ผู้รับรางวัลนักเล่าเรื่อง “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสื่อมวลชน เข้าร่วม ณ ห้องแกลอรี่ 2 ชั้น 1 หอศิลป์แห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม กรุงเทพฯ

นางยุพา กล่าวว่า ตามที่รัฐบาลได้กำหนดยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่มุ่งให้ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” พร้อมกับขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG Model) ด้วยความหลากหลายของทุนทางวัฒนธรรมที่มีความเข้มแข็งของประเทศ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ยกระดับการท่องเที่ยวชุมชนให้มีคุณภาพ และมูลค่าที่สูงขึ้น เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ รวมทั้งมุ่งพัฒนาประเทศตามแนวทาง “ความยั่งยืน” โดยเฉพาะ “การพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์” กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) โดยสำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม จึงได้ร่วมกับ บริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) นำโครงการชุมชนแชมป์เปี้ยน ต่อยอดร่วมกับ โครงการ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” เพื่อพัฒนาทักษะในการสร้างคอนเทนต์ และการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ให้กับเด็ก และเยาวชนในชุมชน พัฒนาคนต่อยอดความรู้ให้กลายเป็น Influencer ชุมชน เป็นแกนนำในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ความโดดเด่นน่าสนใจของชุมชนไปยังสังคมวงกว้าง

ปลัดวธ. กล่าวอีกว่า จากการจัดโครงการคัดเลือกสุดยอดนักเล่าเรื่อง “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ด้วยการให้ผู้เข้าร่วมได้รับการอบรม Workshop พูดคุย แชร์ประสบการณ์ จากวิทยากรเจ้าของเพจผู้มีชื่อเสียงด้านการท่องเที่ยว พร้อมให้จัดทำคลิปวิดีโอส่งเข้าประกวดจังหวัดละ 3 คน รวม 228 คลิปวิดีโอ ที่มีเรื่องเล่าอัตลักษณ์ มรดกภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษา อาหาร เทศกาลงานประเพณี ศิลปวัฒนธรรม ผลิตภัณฑ์ชุมชน ผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม บริการทางวัฒนธรรม แหล่งท่องเที่ยว และกิจกรรมการท่องเที่ยวที่น่าสนใจของชุมชน ฯลฯ โดยมีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในหลากหลายด้านร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสิน

ขณะนี้ได้คัดเลือก 10 สุดยอดนักเล่าเรื่อง “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ที่มีความโดดเด่น เรียบร้อยแล้ว ได้แก่ 1.นางสาวสิริกุล พูลขำ ชุมชนวัดโพธิ์ชัยเสมารามจังหวัดกาฬสินธุ์ 2.นางสาวนุธิดา จุทาจันทร์ ชุมชนคนในภูเมืองเวียงเก่าจังหวัดขอนแก่น 3.นางสาวแพรวา อังคะนาวิน ชุมชนพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี 4.เด็กหญิงภีรดา แท่นด้วง ชุมชนบ้านโนนเสลา จังหวัดชัยภูมิ 5.นางสาวนราภรณ์ บุญบำเรอ ชุมชนวัดพระธาตุผาเงา (บ้านสบคำ) จังหวัดเชียงราย 6.เด็กหญิงเขมวันต์ ตู้โกเมน ชุมชนเทศบาลตำบลหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช 7.นางสาวณัฐกานต์ มั่นกสิกร ชุมชนวัดหนองกระดูกเนื้อ จังหวัดนครสวรรค์ 8.นางสาวนาเดีย แยนา ชุมชนมัสยิดบาราโหม จังหวัดปัตตานี    9.นายกฤษณชัย มาอุ่น ชุมชนวัดพระธรตุช่อแฮ จังหวัดแพร่ 10.นางสาวอัยมี่ นุ้ยไฉน ชุมชนบ้านตะโละใส จังหวัดสตูล

ทั้งนี้ ผู้ที่ได้รับคัดเลือกเป็นสุดยอดนักเล่าเรื่อง “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ทั้ง 10 คน จะได้สร้างสรรค์คลิปวิดีโอผลงานในระดับมาสเตอร์พีชร่วมกับบริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการสร้างสรรค์สื่อและการผลิต สู่การเผยแพร่ผ่านสื่อที่มีคุณภาพและหลากหลายในระดับประเทศ ผ่านรายการเรื่องจริงผ่านจอ รายการเรื่องจริงไนท์ไลฟ์ ทุกวัน เสาร์ อาทิตย์ เวลา 22.30 – 23.30 น. นับเป็นการกระตุ้นให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศ สร้างโอกาส สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้แก่ประชาชนและผู้ประกอบการในชุมชนและท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

ส่งข่าวได้ที่  email : saowaporn12345@gmail.com   ,  saowaporn@hotmail.com   และ  bat_mamsao@yahoo.com

ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่

Chonburi Sponsored
อำเภอ พนัสนิคม

สมัยเมืองพนัสนิคม ในปี พ.ศ. 2371 กำเนิดเมืองขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้กลุ่มลาวอาสาปากน้ำมาสร้างภูมิลำเนาขึ้นในพื้นที่รกร้างระหว่างเมืองชลบุรีกับเมืองฉะเชิงเทรา พระราชทานนามเมืองว่าพนัสนิคม (บางเอกสารเขียน“พนัศนิคม”) มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ขึ้นกับกรมท่า กรุงเทพมหานคร ให้ท้าวอินทิสาร (บางเอกสารเขียน”อินทพิศาล”) หรือ ท้าวทุม ปลัดลาว เมืองสมุทรปราการ บุตรชายคนโตของท้าวไชย (บางเอกสารเขียน”ศรีวิไชย”) อุปราชเมืองนครพนม ให้เป็นเจ้าเมืองพนัสนิคมคนแรกและพระราชทานราชทินนามและบรรดาศักดิ์ที่พระอินทอาษา (บางเอกสารเขียน“อินทรอาษา, อินทอาสา, อินทราษา“) มีข้อความในพระราชพงศาวดารว่า “พวกลาวอาสาปากน้ำ ตั้งขึ้นเมื่อครั้งในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ภายหลังเมื่อปีชวดสัมฤทธิศก พวกลาวไม่สบาย ขอไปตั้งอยู่ที่เมืองพระรถ จึงโปรดให้ตัดเอาแขวงเมืองชลบุรี เมืองฉะเชิงเทรา มาตั้งเป็นเมืองขึ้นชื่อเมืองพนัศนิคม เจ้าเมืองชื่อพระอินทอาษา” (พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 2 ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับคุรุสภา พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2504 หน้า 180) โดยลาวบุกเบิกเมืองพนัสนิคม เป็นลาวเมืองนครพนม อ้างถึงการอพยพมาสยามครั้งแรกนำโดยท้าวไชย อุปราชเมืองนครพนม เป็นโอรสในพระบรมราชา (ท้าวกู่แก้ว) เจ้าเมืองนครพนม (เมืองนครพนมในอดีต เป็นหัวเมืองในราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ประเทศราชของสยาม) ไม่สมัครใจอยู่ในปกครองของพระบรมราชา (มัง) เจ้าเมืองนครพนมคนใหม่ จึงอพยพพาสมัครพรรคพวก บุตรหลาน ท้าวเพี้ย ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2352 และโปรดเกล้าฯให้ตั้งบ้านเรือนอยู่คลองมหาวงษ์ เมืองสมุทรปราการ ยุคนั้นจึงเรียกคนกลุ่มนี้ว่าพวกลาวอาสาปากน้ำ แต่ทนสภาพแวดล้อมไม่ไหว เพราะเป็นชาวดอนน้ำจืด ถูกให้ไปอยู่เมืองลุ่มน้ำกร่อยและเค็ม เลยขอเปลี่ยนไปอยู่ที่อื่น ซึ่งสภาพใกล้เคียงที่ดอน ลาวนครพนมกลุ่มนี้ได้บุกเบิกสร้างเมืองพนัสนิคม