Chonburi Sponsored

นายกสภาทนายความคนใหม่ พร้อมทีมผู้บริหาร ร่วมแถลงข่าวช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ชาวบ้าน

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

วันศุกร์ ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2565, 16.47 น.

นายกสภาทนายความคนใหม่ พร้อมทีมผู้บริหาร ร่วมแถลงข่าว ช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ชาวบ้านที่ได้รับเดือดร้อนแก๊งทวงหนี้บุกบ้าน ยายสูญเสียลูกชายจากการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด ญาติเหยื่อเสียชีวิตไฟไหม้ผับบี เมาเท่น

เมื่อเวลา 13.00 น.วันที่ 23 กันยายน 2565 ที่ห้องแถลงข่าว ชั้น 3 สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ ถ.พหลโยธิน ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ คนใหม่ พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร นายสมพร ดำพริก อุปนายกฝ่ายช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย, นายสัญญาภัชระ สามารถ อุปนายกฝ่ายปฏิบัติการ, นายสุชาติ ชมกุล อุปนายกฝ่ายกิจการพิเศษ, นายไพบูลย์ แย้มเอม อุปนายกฝ่ายสวัสดิการและสิทธิประโยชน์, นายวีรศักดิ์ โชติวานิช อุปนายกฝ่ายเทคโนโลยีและสารสนเทศ, ดร.ชัยชีพ ชโลปถัมภ์ กรรมการช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย และนายจตุพล ด้วงทอง ประธานสภาทนายความจังหวัดเพชรบูรณ์ ร่วมกันแถลงข่าวเพื่อให้การช่วยเหลือประชาชนทางด้านกฎหมายจำนวน 4 เรื่อง ดังนี้

1. นางพิมพา วรรณคำ อายุ 76 ปี ชาวบ้าน หมู่ 12 ต.พุเตย อ.วิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์ ถูกแก๊งทวงหนี้เงินกู้รายวันข่มขู่และบุกบ้านยึดทรัพย์สิน ภายในบ้าน

2. นางอารมณ์ ศรีธัญญา อายุ 80 ปี ชาวอ.บัวทอง จ.นนทบุรี หลังลูกชายเสียชีวิตเพราะการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อโควิด-19 และลูกสะใภ้ได้นำเงินจำนวน 400,000 บาท ที่ได้รับจาก สปสช.ไปโดยขาดการติดต่อ

3. ญาติผู้ตาย และผู้ได้รับบาดเจ็บจากเหตุเกิดไฟไหม้ผับดังที่อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ขอความช่วยเหลือจากสภาทนายความทางด้านคดี

4. สภาทนายความฯ แต่งตั้งทนายความด้านสิ่งแวดล้อมเป็นคณะทำงานช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากกรณีสารเคมีรั่วไหลที่จังหวัดนครปฐม โดยจะลงพื้นที่ในวันที่ 24 ก.ย.นี้ เวลา 10.00 น.

ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ กล่าวว่า สภาทนายความจะเป็นที่พึ่งและจะอยู่เคียงข้างประชาชนในด้านการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายอย่างเต็มที่

– 006

Chonburi Sponsored
อำเภอ สัตหีบ

ช่วงประมาณรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 สัตหีบเป็นเพียงหมู่บ้านชายทะเล ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา หาของป่า และประมง การคมนาคมจะใช้ทางน้ำโดยเรือเมล์หรือเรือใบ ส่วนทางบกมีแต่ทางเกวียน ถนนไปชลบุรียังไม่มี ภูมิประเทศส่วนใหญ่ยังเป็นป่ารกทึบ การเดินทางระหว่างเมืองจึงใช้เรือเป็นหลัก ในหมู่บ้านสัตหีบ มีผู้ที่ชาวบ้านนับหน้าถือตามากอยู่คนหนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า "ยายแจง" แกมีฐานะดีมี ที่ดิน เรือ สวน ไร่นามากมาย ตลาดสัตหีบ หนองตะเคียนและโรงเรียนสิงห์สมุทรรวมถึงบริเวณเขาแหลมเทียนอันเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือสัตหีบในปัจจุบันก็เคยเป็นของแก ต่อมา เมื่อกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ทรงฝึกภาคทะเลกับกองเรือและทรงพักที่อ่าวสัตหีบ ทรงเห็นว่าอ่าวสัตหีบเหมาะเป็นที่ตั้งหน่วยเรือ เพราะมีเกาะใหญ่น้อยช่วยกำบังคลื่นลม พระองค์จึงได้บอกถึงพระประสงค์ที่จะใช้บริเวณเขาแหลมเทียนเป็นที่ตั้งหน่วยทหารเรือ ยายแจงก็ยินดีที่จะถวายให้