Chonburi Sponsored

“วุฒิสภา” จัดกิจกรรม “จิตอาสา” ทำความสะอาดชายฝั่งทะเลและปล่อยพันธุ์สัตว์

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์

“วุฒิสภา” จัดกิจกรรม “จิตอาสา” ทำความสะอาดชายฝั่งทะเลและปล่อยพันธุ์สัตว์ พัฒนาผู้นำนักประชาธิปไตยสำหรับเยาวชนฯ

วันที่ 11 กันยายน 2565 เวลา 09.00 นาฬิกา  พลเอก พิศณุ พุทธวงศ์ ประธานอนุกรรมการฯ  พร้อมด้วย นายจเด็จ อินสว่าง นายปรีชา บัววิรัตน์เลิศ นางปัณณิตา สท้านไตรภพ รองเลขาธิการวุฒิสภา ผู้บริหารสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา คณะครูและนักเรียนในโครงการกองทุนการศึกษาพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 40 โรงเรียน ใน 8 จังหวัด จำนวน 203 คน ร่วมกิจกรรมจิตอาสาทำความสะอาดชายฝั่งทะเลและปล่อยเต่าตนุสู่ทะเล พร้อมเยี่ยมชมเรือหลวงจักรีนฤเบศร 

โดยมี นาวาเอก สุริยัน สำราญใจ ผู้อำนวยการศูนย์ฝึก หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ และนาวาโท อรรถพล เศรษฐสุข นายทหารอิเล็กทรอนิกส์ เรือหลวงจักรีนฤเบศร ให้การต้อนรับ ที่บริเวณ หาดน้ำใส หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี

โครงการนี้ คณะกรรมการประสานงานเพื่อสนับสนุนโครงการกองทุนการศึกษา วุฒิสภา โดยคณะอนุกรรมการพัฒนาผู้นำนักประชาธิปไตยสำหรับเยาวชนด้วยกระบวนการลูกเสือ และคณะอนุกรรมการจิตอาสาทำความดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ร่วมจัดโครงการพัฒนาผู้นำนักประชาธิปไตยสำหรับเยาวชนด้วยกระบวนการลูกเสือ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

ทั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเยาวชนให้เป็นพลเมืองที่ดี มีคุณธรรมจริยธรรม มีค่านิยมตามวิถีประชาธิปไตยด้วยกระบวนการทางลูกเสือ โดยเฉพาะเยาวชนที่เป็นอนาคตของชาติ สามารถนำไปปรับประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันร่วมกับการปลูกจิตสำนึกของความเป็นผู้บำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่นให้กับนักเรียนและเยาวชนในโครงการกองทุนการศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จาก 40 โรงเรียน ใน 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสกลนคร จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดศรีสะเกษ  จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดหนองบัวลำภู จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดอุดรธานี และจังหวัดสุรินทร์

Chonburi Sponsored
อำเภอ สัตหีบ

ช่วงประมาณรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 สัตหีบเป็นเพียงหมู่บ้านชายทะเล ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา หาของป่า และประมง การคมนาคมจะใช้ทางน้ำโดยเรือเมล์หรือเรือใบ ส่วนทางบกมีแต่ทางเกวียน ถนนไปชลบุรียังไม่มี ภูมิประเทศส่วนใหญ่ยังเป็นป่ารกทึบ การเดินทางระหว่างเมืองจึงใช้เรือเป็นหลัก ในหมู่บ้านสัตหีบ มีผู้ที่ชาวบ้านนับหน้าถือตามากอยู่คนหนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า "ยายแจง" แกมีฐานะดีมี ที่ดิน เรือ สวน ไร่นามากมาย ตลาดสัตหีบ หนองตะเคียนและโรงเรียนสิงห์สมุทรรวมถึงบริเวณเขาแหลมเทียนอันเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือสัตหีบในปัจจุบันก็เคยเป็นของแก ต่อมา เมื่อกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ทรงฝึกภาคทะเลกับกองเรือและทรงพักที่อ่าวสัตหีบ ทรงเห็นว่าอ่าวสัตหีบเหมาะเป็นที่ตั้งหน่วยเรือ เพราะมีเกาะใหญ่น้อยช่วยกำบังคลื่นลม พระองค์จึงได้บอกถึงพระประสงค์ที่จะใช้บริเวณเขาแหลมเทียนเป็นที่ตั้งหน่วยทหารเรือ ยายแจงก็ยินดีที่จะถวายให้