Chonburi Sponsored

กองทัพเรือ ร่วม ม.บูรพา ผลิตแพทย์เพิ่ม รองรับเมืองการบิน เขตพัฒนาเศรษฐกิจ EEC – TOPNEWS

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored
  • เผยแพร่ : 09/09/2022 12:57

วันที่ 9 ก.ย.65 พลเรือเอก สมประสงค์ นิลสมัย ผู้บัญชาการทหารเรือ มอบหมายให้ พลเรือโท ชลธร สุวรรณกิตติ เจ้ากรมแพทย์ทหารเรือ เป็นผู้แทนร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่างกองทัพเรือ กับมหาวิทยาลัยบูรพา ว่าด้วยความร่วมมือตามโครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทย โดยมี รศ.ดร.วัชรินทร์ กาสลัก อธิการบดีมหาวิทยาลัยบูรพา พร้อม คณบดี คณะแพทยศาสตร์ พลเรือตรี อานัน นิ่มนวล ผอ.รพ.สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กรมแพทย์ทหารเรือ ผู้บริหาร และคณาจารย์ ร่วมเป็นเกียรติและสักขีพยาน ณ ห้องประชุมภูหลวง หอประชุมโรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กรมแพทย์ทหารเรือ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี

สำหรับ วัตถุประสงค์ของการจัดทำบันทึกความเข้าใจในครั้งนี้คือ การร่วมมือกันผลิตแพทย์ เพิ่มตามโครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่ง ประเทศไทยปี 2561 – 2570 ที่ได้รับความเห็นชอบตามมติคณะรัฐมนตรี ความร่วมมือกันระหว่างรพ.สิริกิติ์ และคณะแพทยศาสตร์ม.บูรพา ในครั้งนี้ ประกอบด้วย กิจกรรมด้านวิชาการ ด้านการวิจัย การพัฒนาบุคลากร และร่วมกันดำเนินกิจกรรมโครงการอื่นๆ ตามที่ทั้ง 2 สถาบันเห็นสมควร อันจะช่วยพัฒนาองค์ความรู้ วิชาการทางการแพทย์ให้ทันสมัย ผลิตบัณฑิตแพทย์ให้มีคุณภาพและจริยธรรม สอดคล้องกับความต้องการด้านสุขภาพของท้องถิ่น และเพิ่มประสิทธิภาพ คุณภาพการเพื่อให้บริการด้านสุขภาพกำลังพลทหารเรือ และประชาชนทั่วไป

พลเรือโท ชลธร กล่าวว่า นับเป็นประวัติศาสตร์สำคัญของ โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ที่จะได้มีความร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ในการเป็นสถาบันหลักร่วมผลิตแพทย์ชั้นคลินิก เป็นก้าวสำคัญที่จะนำพารพ.สิริกิติ์ ไปสู่การเป็น Academic Hospital การศึกษาและวิจัยทางการแพทย์ นับเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาโรงพยาบาลสู่การเป็น Excellent Center มีความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์ทุกสาขามากยิ่งขึ้น เพื่อประโยชน์แก่ข้าราชการทหารเรือ และประชาชนในพื้นที่ อีกทั้ง จะรองรับการเจริญเติบโตของเมืองการบินในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ อีกด้วย

พัชรพล ปานรักษ์ / ณัฐภูมินทร์ ปานรักษ์ ผู้สื่อข่าวTOPNEWS ประจำ จ.ชลบุรี

Chonburi Sponsored
อำเภอ สัตหีบ

ช่วงประมาณรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 สัตหีบเป็นเพียงหมู่บ้านชายทะเล ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา หาของป่า และประมง การคมนาคมจะใช้ทางน้ำโดยเรือเมล์หรือเรือใบ ส่วนทางบกมีแต่ทางเกวียน ถนนไปชลบุรียังไม่มี ภูมิประเทศส่วนใหญ่ยังเป็นป่ารกทึบ การเดินทางระหว่างเมืองจึงใช้เรือเป็นหลัก ในหมู่บ้านสัตหีบ มีผู้ที่ชาวบ้านนับหน้าถือตามากอยู่คนหนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า "ยายแจง" แกมีฐานะดีมี ที่ดิน เรือ สวน ไร่นามากมาย ตลาดสัตหีบ หนองตะเคียนและโรงเรียนสิงห์สมุทรรวมถึงบริเวณเขาแหลมเทียนอันเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือสัตหีบในปัจจุบันก็เคยเป็นของแก ต่อมา เมื่อกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ทรงฝึกภาคทะเลกับกองเรือและทรงพักที่อ่าวสัตหีบ ทรงเห็นว่าอ่าวสัตหีบเหมาะเป็นที่ตั้งหน่วยเรือ เพราะมีเกาะใหญ่น้อยช่วยกำบังคลื่นลม พระองค์จึงได้บอกถึงพระประสงค์ที่จะใช้บริเวณเขาแหลมเทียนเป็นที่ตั้งหน่วยทหารเรือ ยายแจงก็ยินดีที่จะถวายให้