Chonburi Sponsored

ชาวนาเมืองพนัสฯ สุดช้ำ หัวขโมยดอดลักเครื่องรถไถนาคืนเดียวเสียหายกว่า 1.2 แสนบาท

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

เผยแพร่:   ปรับปรุง: โดย: ผู้จัดการออนไลน์


ศูนย์ข่าว​ศรีราชา​ -​ ​ชาวนาเมืองพนัสฯ สุดช้ำราคาข้าวตกต่ำไม่พอ วันนี้ยังถูกหัวขโมยดอดลักเครื่องรถไถนาเดินตามยี่ห้อคูโบต้าคืนเดียว 4 เครื่องรวด เสียหายกว่า 120,000 บาท วอนตำรวจเร่งจับกุม ชี้เดือดร้อนหนัก

วันนี้ (25 ม.ค.)​ ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจากเกษตรกรผู้​ปลูก​ข้าวใน อ.พนัสนิคม​ จ.ชลบุรี ว่า กำลังได้รับความเดือดร้อน​อย่างหนักจากการถูกคนร้ายขโมยเครื่องรถไถนาเดินตามยี่ห้อคูโบต้า จนเหลือแต่โครงเหล็กและนอตยึดแท่นเครื่อง จำนวน 4 เครื่อง มูลค่ารวมกว่า 120,000 บาท เหตุเกิดบริเวณทุ่งนาด้านหลังวัดหลวง ม.4 ต.วัดหลวง

จากการสอบถาม นายนฤพนธ์ อยู่นุ่ม อายุ 50 ปี ตัวแทนชาวนา และเป็น 1 ในผู้เสียหายทราบว่า ชาวนาในพื้นที่จะใช้เครื่องรถไถเดินตามคูโบต้าเพื่อสูบน้ำเข้านา ซึ่งช่วงเย็นวานนี้พบว่าถูกคนร้ายขโมยจนเหลือเพียงแต่โครงเหล็ก และเมื่อสอบถามไปยังเกษตรกร​ที่อยู่โดยรอบทราบว่า มีผู้เสียหายถูกขโมยรถไถเดินตามอีก 3 เครื่อง

“เมื่อรู้ว่าเครื่องรถไถเดินตามคูโบต้าถูกขโมยรู้สึกตกใจ ทำอะไรไม่ถูก เพราะรถไถนาเป็นหัวใจสำคัญของชาวนา และที่สำคัญยังทำนากันยังไม่เสร็จเพราะเพิ่งจะสูบน้ำเข้านา แต่สุดท้ายกลับถูกขโมย ซึ่งเครื่องที่ถูกขโมยมีราคาตั้งแต่ 25,000-​35,000 บาทต่อเครื่องและคาดว่าคนร้ายน่าจะมาแอบซุ่มดูอยู่ก่อนแล้วและมากันหลายคน โดยเฉพาะการถอดเครื่องต้องเป็นผู้ชำนาญ”


นายนฤพนธ์ ยังได้ฝากเตือนไปยังชาวนาในพื้นที่ให้ระมัดระวังคนร้ายขโมยเครื่องมือทางการเกษตร และหากจำเป็นต้องสูบน้ำเข้านาควรมีคนเฝ้าดูแลตลอด

“ยิ่งช่วงนี้เศรษฐกิจย่ำแย่แบบนี้ถือว่าเป็นทุกข์หนัก เพราะราคาข้าวไม่สูงมากจึงไม่คุ้มกับสิ่งที่เสียไป และขอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจช่วยติดตามจับตัวคนร้ายดำเนินคดีให้ได้เร็วๆ เพราะตอนนี้ชาวนาเดือดร้อนหนักมาก” นายนฤพนธ์ กล่าว

Chonburi Sponsored
อำเภอ พนัสนิคม

สมัยเมืองพนัสนิคม ในปี พ.ศ. 2371 กำเนิดเมืองขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้กลุ่มลาวอาสาปากน้ำมาสร้างภูมิลำเนาขึ้นในพื้นที่รกร้างระหว่างเมืองชลบุรีกับเมืองฉะเชิงเทรา พระราชทานนามเมืองว่าพนัสนิคม (บางเอกสารเขียน“พนัศนิคม”) มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ขึ้นกับกรมท่า กรุงเทพมหานคร ให้ท้าวอินทิสาร (บางเอกสารเขียน”อินทพิศาล”) หรือ ท้าวทุม ปลัดลาว เมืองสมุทรปราการ บุตรชายคนโตของท้าวไชย (บางเอกสารเขียน”ศรีวิไชย”) อุปราชเมืองนครพนม ให้เป็นเจ้าเมืองพนัสนิคมคนแรกและพระราชทานราชทินนามและบรรดาศักดิ์ที่พระอินทอาษา (บางเอกสารเขียน“อินทรอาษา, อินทอาสา, อินทราษา“) มีข้อความในพระราชพงศาวดารว่า “พวกลาวอาสาปากน้ำ ตั้งขึ้นเมื่อครั้งในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ภายหลังเมื่อปีชวดสัมฤทธิศก พวกลาวไม่สบาย ขอไปตั้งอยู่ที่เมืองพระรถ จึงโปรดให้ตัดเอาแขวงเมืองชลบุรี เมืองฉะเชิงเทรา มาตั้งเป็นเมืองขึ้นชื่อเมืองพนัศนิคม เจ้าเมืองชื่อพระอินทอาษา” (พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 2 ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับคุรุสภา พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2504 หน้า 180) โดยลาวบุกเบิกเมืองพนัสนิคม เป็นลาวเมืองนครพนม อ้างถึงการอพยพมาสยามครั้งแรกนำโดยท้าวไชย อุปราชเมืองนครพนม เป็นโอรสในพระบรมราชา (ท้าวกู่แก้ว) เจ้าเมืองนครพนม (เมืองนครพนมในอดีต เป็นหัวเมืองในราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ประเทศราชของสยาม) ไม่สมัครใจอยู่ในปกครองของพระบรมราชา (มัง) เจ้าเมืองนครพนมคนใหม่ จึงอพยพพาสมัครพรรคพวก บุตรหลาน ท้าวเพี้ย ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2352 และโปรดเกล้าฯให้ตั้งบ้านเรือนอยู่คลองมหาวงษ์ เมืองสมุทรปราการ ยุคนั้นจึงเรียกคนกลุ่มนี้ว่าพวกลาวอาสาปากน้ำ แต่ทนสภาพแวดล้อมไม่ไหว เพราะเป็นชาวดอนน้ำจืด ถูกให้ไปอยู่เมืองลุ่มน้ำกร่อยและเค็ม เลยขอเปลี่ยนไปอยู่ที่อื่น ซึ่งสภาพใกล้เคียงที่ดอน ลาวนครพนมกลุ่มนี้ได้บุกเบิกสร้างเมืองพนัสนิคม